กูเกิล ปล่อยบอลลูนยักษ์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของโลก เพื่อช่วยให้การเข้าสู่อินเตอร์เน็ตได้ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลกเป็นไปด้วยความงายดายยิ่งขึ้น
กูเกิลปล่อยบอลลูนยักษ์ ทดสอบส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตทั่วโลก
บอลลูนแรงดันสูง 30 ลูก จากเขตแคนเทอร์เบอรี บริเวณเกาะใต้ของนิวซีแลนด์ พร้อมติดอุปกรณ์ถ่ายทอดสัญญาณอินเทอร์เน็ต ความเร็ว 3 จี ไปยังจุดที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ทดสอบรับสัญญาณ 50 จุดทั่วนิวซีแลนด์ โดยบอลลูนทั้งหมดจะลอยไปทั่วโลกในทิศทางที่ได้รับการกำหนดไว้
กูเกิลเผยว่า แม้การเข้าถึงจะยังคงไม่มีความต่อเนื่อง แต่หวังว่าเมื่อใช้งานจริงจะครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล และสามารถใช้งานได้ในพื้นที่ประสบภัยต่างๆ เพื่อนำความช่วยเหลือไปยังจุดที่การสื่อสารถูกตัดขาด
อุปกรณ์ทดสอบรับสัญญาณ
แผนของกูเกิลที่เตรียมการมานานกว่า 18 เดือน มีชื่อโครงการว่า "โปรเจ็คต์ ลูน" (Project Loon) โดยมีภารกิจในการทดลองส่งบอลลูนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในเพดานความสูง 20 กิโลเมตรจากพื้นโลก เพื่อปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมทุกส่วนของพื้นโลก รองรับผู้ที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต เพราะอยู่ในที่ห่างไกล จำนวน 4,800 ล้านคน ให้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้แบบไร้รอยต่อ
ทั้งนี้ บอลลูนแต่ละลูกจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เมตร หรือขนาดเท่าเครื่องบินเล็ก พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ เสาวิทยุ คอมพิวเตอร์ควบคุมการบิน ระบบควบคุมความสูง และแผงรับแสงอาทิตย์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานขับเคลื่อน
บอลลูนแต่ละลูกจะขึ้นสู่บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ หรือราว 20 กม.เหนือพื้นโลกหรือสูงกว่าระดับที่เครื่องบินพาณิชย์ทั่วไปทำการบิน และจะลอยอยู่ราว 100 วัน จะส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตครอบคลุมพื้นที่เส้นผ่านศูนย์กลางลูกละ 40 กม. กิโลเมตร โดยมีทิศทางเคลื่อนจากตะวันตกไปตะวันออก
กูเกิลเผยว่า แนวคิดดังกล่าวจะช่วยให้ประชากรกว่า 2 ใน 3 ของโลก สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมต่อเครือข่าย
ปัจจุบันกูเกิลได้วางแผนงานเพื่อเป็นพันธมิตรกับองค์กรต่างๆ เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ลักษณะเดียวกันนี้ ตามอาคารต่างๆในแระเทศที่อยู่ในละติจูดเดียวกับนิวซีแลนด์ อาทิ อาร์เจนตินา ชิลี แอฟริกาใต้ และออสเตรเลีย