คณะนักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยในรัฐนอร์ทแคโรไลน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า แมลงสาบยุคใหม่ที่กลายพันธุ์ จะมีประสาทรับรสที่ปรับเปลี่ยนไป ทำให้พวกมันรู้ว่า ของหวานชนิดไหนเป็นกับดักล่อ ยาฆ่าแมลงสาบที่ทำเป็นน้ำตาลกลูโคสเคลือบอยู่ภายนอกนั้น จึงอาจใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ เคยตั้งข้อสงสัยเมื่อ 20 ปีที่แล้วว่า ยาฆ่าแมลงสาบบางประเภท ไม่สามารถกำจัดแมลงสาบให้หมดไปได้ เพราะแมลงสาบไม่ได้หลงกลกินยาเหล่านั้นเข้าไป
ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์จึงจับแมลงสาบมาตรวจสอบเซลล์ประสาทรับรสของพวกมัน พบว่า เซลล์ประสาทรับรสของแมลงสาบในยุคนี้ นอกจากจะตอบสนองต่อรสหวานได้ดีเช่นเดิมแล้ว ประสาทรับรสของพวกมันยังพัฒนาให้รับรู้รสขมได้ด้วย ยาฆ่าแมลงสาบมีรสขม แต่ทำเป็นกลูโคสเคลือบอยู่ด้านนอกให้มีรสหวานเพื่อล่อแมลงสาบ แต่แมลงสาบยุคใหม่ที่เซลล์รับรสปรับเปลี่ยนไป มันจึงรู้ได้ทันทีว่า ของหวานที่วางล่ออยู่ มีรสขมอยู่ด้านใน พวกมันจึงไม่กิน ดังนั้น ยาฆ่าแมลงสาบจึงล่อแมลงสาบให้มาติดกับไม่ได้
จากผลวิจัยนี้ จึงสรุปได้ว่า แม้มนุษย์พยายามหาหนทางกำจัดแมลงสาบ แต่สิ่งมีชีวิตเล็กๆ อย่างแมลงสาบ ก็สามารถวิวัฒนาการตัวเองให้หลีกเลี่ยงจากการถูกกำจัดได้อย่างน่าสนใจ
ภาพจาก youtube.com
springnews