ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ยิ่งสูงยิ่งมีความเสี่ยงจะเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์อเมริกัน โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Epidemiology, Biomarkers & Prevention ของสมาคมวิจัยมะเร็งอเมริกันแล้ว
ความสูง มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งไต มะเร็งรังไข่ มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งต่อมไทรอยด์ รวมทั้งโรคเนื้องอกไขกระดูกและมะเร็งผิวหนังด้วย และความเกี่ยวข้องนี้ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงหลังจากที่ปรับปัจจุบางอย่างที่เป็นที่รู้ว่ามีผลต่อมะเร็งเหล่านี้ ข้อมูลจากการศึกษานี้ได้มาจากหญิงวัยหมดประจำเดือน 20,928 ราย ที่ดึงมาจากฐานข้อมูลสุขภาพผู้หญิงที่ได้จาก Women's Health Initiative (WHI) อีกที
"เราแปลกใจที่ว่า จำนวนการเกิดมะเร็งมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสูง และจากข้อมูลชุดนี้ มะเร็งมีความเกี่ยวข้องกับความสูงมากกว่าค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อีกนะ" ดร.กอฟฟรี่ย์ คาบาต แห่งภาควิชาระบาดวิทยาและสาธารณสุข วิทยาลัยแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ มหาวิทยาลัยเยชิวา นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เผย
"ในกรณีสุดโต่ง มะเร็งอาจจะผลจากกระบวนการเจริญเติบโต ดังนั้น มันก็เป็นไปได้ที่ว่า ฮอร์โมนหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องการเจริญเติบโตอื่นๆอาจจะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง"
การแปรผันทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสูงก็มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของโรคมะเร็ง และนักวิจัยยังต้องทำวิจัยต่อไปเพื่อให้เข้าใจว่า ความแปรรผันทางพันธุกรรมเหล่านี้ไปโน้มน้าวให้ผู้ชายและผู้หญิงเกิดมะเร็งได้อย่างไร
ในงานวิจัยนั้น ดร.คาบาต และทีมงานได้ใช้ข้อมูลจาก WHI อันเป็นข้อมูลการศึกษามะเร็งที่ใหญ่และรวบรวมเอาข้อมูลสุขภาพของหญิงวัยหมดประจำเดือนอายุระหว่าง 50-79 ปีในช่วงปี 1993 ถึง 1998 เอาไว้ ในการเก็บข้อมูลครั้งนั้น หญิงอาสาสมัครจะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายภาพ และมีการวัดส่วนสูงและน้ำหนักด้วย
นักวิจัยพบว่า หญิงจำนวน 20,928 รายถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหนึ่งที่หรือมากกว่าในช่วงที่ติดตามข้อมูล และนักวิจัยก็สรุปว่า ความสูงก็มีผลต่อการเป็นมะเร็ง เช่นเดียวกับ อายุ น้ำหนัก การศึกษา การสูบบุหรี่ การบริโภคแอลฮอร์กอฮอร์ และการรักษาด้วยฮอร์โมน
นักวิจัยระบุตัวเลขไว้ว่า ทุกความสูงที่เพิ่มขึ้น 10 เซนติเมตร ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งจะเพิ่มขึ้น 13 เปอร์เซ็นต์ โดยละเอียดแล้ว ความเสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกไขสันหลัง มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่จะเพิ่มขึ้น 13-17 เปอร์เซ็นต์ ส่วนมะเร็งไต มะเร็งทวารหนัก มะเร็งไทรอยด์ และมะเร็งเลือด ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น 23-29 เปอร์เซ็นต์
จากากรศึกษามะเร็งทั้ง 19 แบบพบว่า ไม่มีมะเร็งแบบใดที่มีความเกี่ยวข้องกับความสูงเป็นค่าลบ
อย่างไรก็ตาม การสกรีนมะเร็งก็อาจจะมีผลต่อการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยจึงได้ใช้การวิเคราะห์ภาพเอ็กซ์เรย์เต้านมเข้าร่วมในการศึกษาด้วย และทีมงานก็พบว่า ผลที่ได้ก็ไม่เปลี่ยนแปลง
"แม้ว่าปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อย่าง การควบคุมอาหาร การใช้ชีวิต เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงหรือควบคุมได้ แต่ความสูงนี่เราเปลี่ยนไม่ได้ ความเกี่ยวข้องระหว่างความสูงกับจำนวนการเกิดมะเร็งก็เป็นการบอกเราเป็นนัยๆว่า ชีวิตในช่วงเด็ก รวมทั้งสารอาหารด้วยนั้น ต่างก็มีผลต่อความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งของคนด้วย นับเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่ชีวิตในช่วงเด็กต่างก็มีผลต่อสุขภาพในเวลาต่อมาด้วย" ดร.คาบาตทิ้งท้าย