เหมืองปิล็อก เส้นทางเหมืองเก่าของกาญจบุรี


กาญจนบุรี เป็นเมืองที่มีร่องรอยของอดีตกาลทิ้งไว้มากมาย ทั้งทางรถไฟสายมรณะ ช่องเขาขาด สุสานทหารสัมพันธมิตร ฯลฯ แต่วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาเพื่อน ๆ ไปสัมผัสอีกหนึ่งกลิ่นอายของวันวาน ที่ไม่ค่อยพอเจอบ่อยนัก นั่นคือ บ้านอีต่อง หรือ เหมืองปิล็อก เส้นทางเหมืองเก่าของกาญจบุรี ซึ่งถึงแม้ว่าวันนี้เหมืองจะปิดตัวลงไปแล้ว แต่ความงดงามของธรรมชาติ รวมถึงทัศนียภาพต่าง ๆ ก็ยังคงมีปรากฎให้เห็น เอ้า...ว่าแล้วก็เตรียมตัวไปเที่ยวบ้านอีต่องกันดีกว่า

          แม้ว่ายุคทองความรุ่งเรืองของการทำเหมืองแร่ที่บริเวณบ้านอีต่อง ตำบลปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจบุรี หรือที่รู้จักกันในนาม "เหมืองปิล็อก" ในอดีตที่นี่เป็นสถานที่ทำเหมืองแร่ดีบุกและแร่วุลแฟรมที่รุ่งเรืองมาก จนกลายเป็นแหล่งการค้าและการขายแรงงานขนาดย่อม แต่เมื่อมีรุ่งก็ต้องมีดับ ราวปี พ.ศ.2527 ความไม่คุ้มทุนในการทำธุรกิจเริ่มก่อเกิด และหากดันทุรังทำต่อไปก็มีแต่จะสูญเปล่า เหมืองแห่งนี้จึงต้องปิดตัวลงในปี พ.ศ. 2529 และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอันงดงามตระการตา 

          ถึงจะล่วงเลยมานานหลายสิบปีแล้วก็ตาม แต่เรื่องราวที่เล่าขานถึงความร่ำรวย ความกันดารยากลำบาก และความงดงามของสภาพภูมิประเทศดินแดนแห่งทะเลขุนเขาแห่งนี้ ก็ยังอยู่ในความทรงจำที่สืบทอดถึงคนรุ่นปัจจุบันไม่เสื่อมคลาย จึงไม่แปลกหากจะกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งของกาญจนบุรี ซึ่งผู้คนอยากไปพิสูจน์ด้วยตาตัวเองสักครั้ง
 

เหมืองปิล็อก เส้นทางเหมืองเก่าของกาญจบุรี



ย้อนอดีต ปิล๊อก ไปเมื่อหลาย 10 ปีก่อน มีผู้พบเห็นชาวพม่าเข้ามาลักลอบขุดแร่ในพื้นที่ตำบลปิล๊อกไปขายให้ ทหารอังกฤษ คำเล่าลือนี้ทำให้ กรมทรัพยากรธรณีสมัยนั้นนำคณะนายช่างมาสำรวจก็ถึงกับตะลึง เมื่อพบว่าพื้นที่แถบนี้ี่มีแร่ดีบุกและวุลแฟรมอยู่มากมายรองลงมาและมักอยู่ปะปนกัน คือ แร่ทังสะเตน และยังมีสายแร่ทองคำ ปะปนอยู่กับ สายแร่ดีบุกต่อมา ปี พ.ศ. 2483 องค์การเหมืองแร่ กรมโลหะกิจ ได้เปิด“เหมืองปิล๊อก”ขึ้นเป็น แห่งแรกที่บ้านอีต่อง ต.ปิล๊อก จากการเปิดเหมืองในครั้งนั้นได้เกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจกับกรรมกรพม่า เพราะฝ่ายไทยห้ามกรรมกรพม่านำแร่ ไปขายให้อังกฤษ แต่กรรมกรพม่าฝ่าฝืน จึงเกิดการปะทะกันทำให้มีผู้บาด เจ็บและล้มตายจำนวนมาก
 
ในอดีตชาวบ้านเรียกว่า "เหมืองผีหลอก" ต่อมาเพี้ยนเป็น"ปิล๊อก" ซึ่งกลายเป็นชื่อ เหมืองแร่และตำบลในเวลาต่อมา หลังจากนั้นก็ได้มีเหมืองแร่อื่นๆทยอยเปิดตามกันมาอีกมากมายทั้ง เหมืองเล็ก เหมืองใหญ่ ราว 50-60 เหมือง โดยผู้คนพากันเรียกบรรดาเหมืองทั้งหลายในพื้นที่แถบนี้แบบเหมารวมว่า “เหมืองปิล๊อก” ดินแดนแห่งนี้ เปรียบเสมือนขุมทรัพย์ของ บรรดานายเมืองทั้งหลายที่ต่างหลั่งไหลเข้ามาผู้แสวง โชคมีทั้งคนไทย พม่า และที่มาจากแถบอินเดีย เหมืองแร่จึง สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ชุมชนโดยรอบเป็นอย่างมากเนื่อง

นิยายเหมืองแร่แห่งปิล๊อกดำเนินเรื่องราวอยู่หลายสิบปี ก่อนประสบภาวะราคาแร่โลกตกต่ำในปี พ.ศ. 2528 บรรดาเหมืองแร่ทยอยปิดตัวลง ไม่เว้น แม้แต่เหมืองปิล๊อก ทิ้งไว้เพียงตำนานเมืองเหมืองอันรุ่งโรจน์และ มนต์เสน่ห์ แห่งปัจจุบันอันเรียบง่ายสงบงามให้ผู้สนใจ ออกดั้นด้นเดินทางไปค้นหาปิล๊อกกลายเป็นแหล่งท่อง เที่ยวที่แวดล้อม ด้วยทะเลแห่งภูเขาอันสลับซับซ้อนและสวยงามของเทือกเขาตะนาวศรี เส้นแบ่งเขตแดนไทย-พม่า ทุกๆปี อำเภอ ทองผาภูมิจึงร่วมกับ อบต.ปิล็อก และส่วนราชการ จัดงาน "สัมผัสอากาศเย็น เด่นในตำนาน เหมืองแร่ปิล๊อก ขึ้นทุกปีช่วงต้นเดือนธันวาคม ในงานจัดให้มีนิทรรศการการทำเหมืองแร่ และกิจกรรมเที่ยวชม น้ำตกจ๊อกกระดิ่ง น้ำตกเจ็ดมิตร อุโมงค์เหมืองแร่ เนิน ตชด.และเนินเสาธง

เหมืองปิล็อก เส้นทางเหมืองเก่าของกาญจบุรี


 

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ


1.ฐานปฎิบัติการช้างศึก

ตะนาวศรีได้ 360 องศา หากขึ้นมาตอนกลางวันในวันอากาศดีจะสามารถมองเห็นทะเลอันดามันตรงอ่าวเมาะตะมะ ของพม่านอกจากนี้ยังเป็นจุดชม พระอาทิตย์ตก ที่สวยงามอีกจุดหนึ่ง มีฐานตชด.ลอยฟ้าซึ่งครั้งหนึ่งหรือหลายครั้ง ในอดีตที่นี่เคยเป็นสมรภูมิรบระหว่างไทยกับพม่า หรือ ชนกลุ่มน้อย

2. อุโมงค์เหมืองแร่


3. บ้านอีต่อง
หมู่บ้านของชายไทยเชื่อสานพม่า เป็นหมู่บ้านเล็กๆที่ยังคงมีวิถีชีวิตอันงดงาม จากหมู่บ้านมีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเขาช้างเผือกซึ่งเป็นยอดเขา ที่สูงที่สุด ของ อ. ทองผาภูมิ มีนักนักท่องเที่ยวที่รักการเดินป่าและผจญภัยขึ้นไปพิชิตความสวยงาม และ ยิ่งใหญ่ของที่นี่กันแทบทุกปี

4.บ้านป้าเกล็น(เหมืองสมศักดิ์)
รีสอร์ทเล็กๆในหุบเขาใหญ่ บ้านน้อยหลังนี้เกิดขึ้นจากความตั้งมั่นใน ความรักและคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับ คุณสมศักดิ์ซึ่งเป็นแรงขับทำให้ป้าเกล็น ใช้ชีวิตอยู่ที่ดินแดนที่ห่างไกลจากผู้คนแห่งนี้ได้อย่างสุขใจโดยการแปร สภาพจากเหมืองแร่ มาเป็นรีสอร์ทเล็กๆในหุบเขาใหญ่ภายใต้สโลแกนว่า ที่นี่คือ “บ้านเล็กในป่าใหญ่”ปัจจุบัน บ้านที่ป้าเกล็นที่พักก็ปรับปรุง มาจากโรงเก็บพัสดุเก่าของเหมืองแร่และกลายเป็นห้องรับรองของแขก

5.เนินเสาธง

เนินเสาธงเป็นพื้นที่ยอดเขาที่กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหภาพพม่า โดยที่ทางการทหารไทยได้ จัดตั้งเสาธงพร้อมติดธงชาติไทย ขนาดใหญ่ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าพื้นที่นี้เป็นจุดพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศสหภาพพม่า ทางการทหารไทยจึงได้ให้ชื่อพื้นที่แห่งนี้ว่า “เนินเสาธง” และได้อนุญาตให้ประชาชนทั่วไป เข้าเที่ยวชมได้ โดยมีกำลังของทหารไทย และกองกำลังตำรวจตระเวนชายแดน ของไทยรัก ความปลอดภัย ให้ ตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อเราอยู่บนเนินเสาธงนี้แล้ว เราจะได้พบกับบรรยากาศเย็นสบาย อากาศสดชื่นแสนบริสุทธิ์ สามารถมองลงเห็น ทิวทัศน์ได้รอบตัวเรา ทั้งทิวทัศน์ที่สวยงามในประเทศไทยและทิวทัศน์ในประเทศสหภาพพม่า และเมื่อวันใด ท้องฟ้าเปิดเราก็จะได้เห็น ท้องทะเลอันดามันได้อีกด้วย

6 .จุดชมทิวทัศน์เขาขาด
เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่อยู่บนยอดเขาสูง มีกระแสลมพัดผ่านตลอดเวลา อากาศบริสุทธิ์และเย็นสบาย จากการสำรวจ
ได้พบว่า จุดชมทิวทัศน์แห่งนี้มีความสวยงามมาก เมื่อเราไปอยู่บนจุดนี้แล้วเราสามารถมองเห็นทิวทัศน์ต่าง ๆ
ได้รอบตัว อันดับแรกเราจะได้เห็นน้ำตกจ๊อกกระดิ่นที่มีสายน้ำไหลผ่านหน้าผาสูงลงสู่ พื้นล่างแล้วแตกกระจาย ออกมากลายเป็นกลุ่มไอน้ำลอยตัวขึ้นมาจากพื้นล่างน่าประทับใจเป็นยิ่งนัก จะมองเห็น หมู่บ้านอีต่องหมู่บ้าน หินกองเนินเสาธง ทิวทัศน์ในประเทศสหภาพพม่าและเมื่อใดท้องฟ้าเปิดก็จะมองเห็นท้องทะเลอันดามันได้ด้วย ตาเปล่า การเดินทางค่อนข้างลำบากจะต้องเดินทางด้วยเท้าตลอดจากปากทางเข้าที่ระหว่าง หลักกิโลเมตร ที่ 24–25 ของถนนสายบ้านไร่อีต่อง เป็นระยะประมาณ 2 กิโลเมตร


7.จุดชมทิวทัศน์ กม. 15

อยู่บริเวณหลักกิโลเมตร ที่ 15 ถนนสายบ้านไร่-อีต่อง จุดชมทิวทัศน์แห่งนี้อยู่ริมถนนพอดี อากาศที่นี่เย็นสบาย เราสามารถมองเห็นทิวทัศน์ต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย ทิวทัศน์อ่างเก็บน้ำของเขื่อนเขาแหลมเป็นจุดที่น่าสนใจที่สุด เพราะมีความสวยงามประทับตาต้องใจของผู้ที่ไปเที่ยวชมเป็นอย่างมาก การเดินทางใช้เส้นทางสาย บ้านไร่อีต่อง

8. น้ำตกผาแป

เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของบ้านป้าเกล็น ห่างกันประมาณ 2.5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ ยังมีความเป็นธรรมชาติอยู่มาก เนื่อจากตั้งอยู่กลางหุบเขาอันสลับซับซ้อน ไหลลงมาจากหน้าผาสูงชัน การเดิน ทางไปน้ำตกผาแปต้องใช้รถที่มีมีกำลังขับเขื่อเท่านั้น เนื่องจากทางเป็นดินลูกรังและค่อนข้างชันทีเดียว

9.น้ำตกเจ็ดมิตร

ตั้งอยู่ในเขตสัมปทานการทำเหมืองแร่ดีบุก ของบ้านป้าเกล็น ชื่อที่มาของน้ำตกเจ็ดมิตร นั้น เป็นชื่อที่ตั้งตามผู้ บุกเบิก เหมืองแร่ จำนวน 7 คน ที่เดินทางสำรวจหาแหล่งแร่ การเดินทางเข้าไปตัวน้ำตกจะต้องใช้รถขับเคลื่อน สี่ล้อเท่านั้น เพราะหนทางค่อนข้างลำบากเป็นทางลูกรังไต่ตามสันเขา ระยะทางประมาณ 14 กมจากที่พักของ ป้าเกล็น เป็นน้ำตกที่ยังคงความเป็นธรรมชาติ และส่วนตัว คนเข้าไปมีจำนวนน้อยมาก จึงเป็นน้ำตกที่สะอาดปราศ จากขยะต่างๆ


เหมืองปิล็อก เส้นทางเหมืองเก่าของกาญจบุรี


เหมืองปิล็อก เส้นทางเหมืองเก่าของกาญจบุรี


เหมืองปิล็อก เส้นทางเหมืองเก่าของกาญจบุรี


เหมืองปิล็อก เส้นทางเหมืองเก่าของกาญจบุรี


เหมืองปิล็อก เส้นทางเหมืองเก่าของกาญจบุรี


การเดินทางไปปิล๊อก

1. โดยรถยนต์ส่วนตัว

จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่าน จ.นครปฐม ขับมาประมาณ 9 กม.จะพบสะพาน ลอย ข้ามไปทาง จ.กาญจนบุรี ขับไปตามทางหลวงหมายเลข 323 ขับมาประมาณ 7 กม. ท่านจะพบสี่แยก ให้ เลี้ยว ขวา ( แยกซ้ายไปบ้านโป่ง ตรงไปคือถ้ำค้างคาว) เพื่อไปยัง อ.เมืองกาญจนบุรี จากนั้นมุ่งหน้าสู่สี่แยก แก่งเสี้ยนให้ขับ ไปทาง อ. ทองผาภูมิ ซึ่งจะผ่านทั้งไทรโยคน้อย และไทรโยคใหญ่ ( หลักกม.ที่ 125 ทางหลวง หมายเลข 323 ) จะพบ สามแยก ( ตรงไปไปอำเภอทองผาภูมิ + เขื่อนเขาแหลม ถ้าเลี้ยวขวาไปอำเภอสังขละบุรี) ให้ขับตรงไปเพื่อมุ่งหน้าสู่ อ.ทองผาภูมิ ประมาณ 25 กิโลเมตร เส้นทางเป็นทางลัดเลาะตามไหล่เขา ถนนค่อนข้าง แคบโค้งเยอะ ก็จะถึงที่ทำการ ี่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ขับไป 2.5 กิโลเมตร ทางขวามือมีทางแยกไปน้ำตก น้ำตกจ๊อกกระดิ่น ขับตรงไปอีกนิด ทางซ้ายมือจะมีเส้นทางลงเขาปากทางปักป้ายไว้ว่า เหมืองสมศักดิ์ (บ้านป้าเกล็น)หากตรงไปเรื่อยก็จะถึงร้านโชห่วย แล้วก็ถึงสภ.ต.ปิล๊อกวิ่งแยกซ้ายไปตามถนนดินอีกประมาณ 3กม. เส้นทางคดเคี้ยว ไปยังฐานของตำรวจ ตชด. ฐานปฎิบัติการช้างศึกลับมาเส้นทางเดิมผ่านถึง ช่องเขาขาด เลยมาอีกหน่อยก็ถึงจุดประสานสัมพันธไมตรี ไทย - พม่า หรือเนินชักธง ที่มีธงไทยปักไว้ให้รู้ว่าที่นี่คือ ดินแดน ไทย และมีธงพม่าปักไว้คู่กันตรงเส้นแดนพม่า จากจุดนี้หากมองลงมาทางฝั่งไทยก็จะมองเห็นตลาดอีต่อง มองเห็นท่อแก๊สที่เริ่มต้นวางเพื่อส่งแก๊สที่ไทยซื้อจากพม่าจากนั้นก็ขับไต่เขาลงไปเรื่อยๆผ่านทางเดินเข้าไปยัง หมู่บ้านอีต่อง รถที่สามารถวิ่งไปยังจุดต่างๆได้นั้นควรเป็น รถกระบะหรือรถขับเคลื่อที่มีกำลังมากพอ ส่วนผู้ที่นำรถ ไปเอง(ไม่ใช่รถโฟร์วีล)สามารถฝากรถได้ที่ สภ.อ.ทองผาภูมิ แล้วให้รถโฟร์วีลของทางเหมืองสมศักดิ์ มารับตาม เวลาที่นัดแนะ ซึ่งรถจะนำเที่ยวไปยังจุดต่างๆของปิล๊อก

2.รถโดยสารประจำทาง

ในสถานีขนส่งเมืองกาญจน์ มีรถทองผาภูมิ-สังขละ วิ่งทุกๆ 40 นาที เวลา 6.00-18.20 น. การเดินทางไปยังแหล่ง ท่องเที่ยวต่างๆ ในอำเภอทองผาภูมิ จากบริเวณตลาดอำเภอทองผาภูมิจะมีบริการรถโดยสารไป ปิล็อกและมี บริการเช่าเหมาไปยัง แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ด้วย ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย (ททท.) สำนักงานกาญจนบุรี โทร. 0-3451-1200, 0-3451-2500 หรือจะใช้บริการนำเที่ยวของ บ้านป้าเกล็นก็ได้รายละเอียด www.parglen.com


ที่มา - paiduaykan.com

เหมืองปิล็อก เส้นทางเหมืองเก่าของกาญจบุรี

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์