การปฏิบัติเมื่อเกิดบาดแผล
- แผลข่วน แผลถลอก หรือแผลแยกของผิวหนังที่ไม่ลึก จะมีเลือดออกเล็กน้อยและหยุดเองได้ แผลพวกนี้ไม่ค่อยมีอันตราย ให้ทําความสะอาดบาดแผล โดยใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน ไม่จําเป็นต้องปิดแผล แผลจะหายเอง
- แผลฉีกขาด เป็นแผลที่เกิดจากแรงกระแทก หากเป็นวัสดุที่ไม่มีคม แผลมักฉีกขาดขอบกระรุ่งกระริ่ง แผลชนิดนี้เนื้อเยื่อถูกทำลาย และมีโอกาสติดเชื้อมาก ควรทำความสะอาดบาดแผลให้สะอาด ถ้าบาดแผลลึกมากควรนําส่งโรงพยาบาล เพราะผู้ป่วยอาจได้รับอันตรายจากการติดเชื้อโรคได้
การทำความสะอาดบาดแผล
- ล้างมือให้สะอาดก่อนทำแผล เพื่อช่วยลดจำนวนเชื้อโรคที่มือ
- ล้างบาดแผลดวยน้ำสะอาด ซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
- ใช้สําลีสะอาดชุบน้ำยาแอลกอฮอล์ เช็ดรอบ ๆ แผล โดยเช็ดจากข้างในวนมาข้างนอกทางเดียว ไม่ต้องเช็ดลงบนแผล
- ใส่ยาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน ลงบนแผล เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ
- ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ หรือผ้ากอซ ไม่ควรใช้สําลีปิดแผล เพราะเมื่อแผลแห้งแล้วจะติดกับสำลี ทําให้ดึงออกยาก เกิดความเจ็บปวด และอาจทำให้เลือดไหลได้อีก
- ทําความสะอาดแผลเป็นประจำทุกวัน
- หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลสกปรก หรือเปียกน้ำ เพราะอาจทําให้แผลเกิดการอักเสบ เป็นหนอง หรือหายช้า
- สังเกตอาการอักเสบของบาดแผล เช่น บวม แดง ร้อน สีผิวของบาดแผลเปลี่ยนไป มีหนอง ควรรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อรักษาต่อไป