เมื่อสองจิตสองใจ จะเลือกกินอะไร อย่างไหนที่ดีกว่ากัน
ไข่ไก่ vs ไข่เป็ด
แม้ว่าไข่ทั้งสองชนิดจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตและแร่ธาตุใกล้เคียงกัน แต่ไข่เป็ดมีโปรตีนมากกว่าเล็กน้อย เช่นเดียวกับวิตามิน ไข่ไก่อาจมีวิตามินเหมือนกับไข่เป็ด แต่ปริมาณนั้นสู้ไม่ได้เลย ซึ่งวิตามินเหล่านี้รวมถึง ไนอาซิน กรดแพนโทเธนิก โฟเลต วิตามินบี6 วิตามินดี อี เอ บี12 และเรตินอล
อย่างไรก็ตาม ไข่เป็ด 100 กรัมจะมีคอเลสเตอรอลถึง 884 มิลลิกรัม เมื่อเทียบกับไข่ไก่ที่มีแค่ 425 มิลลิกรัม คนที่มีโรคหัวใจจึงควรอยู่ห่างจากไข่เป็ด หรือกินน้อยหน่อยค่ะ
ขนมปังโฮลวีต vs ขนมปังไรย์
จากการศึกษาในวารสาร Nutrition นักวิจัยจากสวีเดนพบว่า คนที่กินขนมปังไรย์เป็นอาหารเช้า ในวันนั้นจะมีความหิวน้อยกว่าคนที่กินขนมปังโฮลวีต โดย Hanna Isaksson นักวิจัยเชื่อว่า ที่ขนมปังไรย์ทำให้ไม่หิวเป็นเพราะว่าปริมาณใยอาหาร หั่นบาง ๆ เพียงแผ่นเดียวอาจมีใยอาหารได้ถึง 8 กรัม มากกว่าโฮลวีตเสียอีก
ผักโขม vs ผักคะน้า
ถึงจะเป็นผักพื้นบ้าน แต่สารอาหารตามธรรมชาติของคะน้านั้น เหนือกว่าผักโขมอย่างเทียบไม่ติด เมื่อเทียบกับกรัมต่อกรัม คะน้ามีวิตามินซีมากกว่าถึง 4 เท่า มีวิตามินเอและเค ซึ่งช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และมีหน้าที่สำคัญในการสร้างเกล็ดเลือด พร้อมกันนี้ ยังจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนให้แก่กระดูก เพื่อกระดูกที่แข็งแรง แถมคะน้ายังมีสารลูเธอีน และซีแซนทินมากกว่าถึง 3 เท่า นี่หมายความว่าคะน้าชนะขาดในเรื่องของสุขภาพดวงตานั่นเอง
นมวัว vs นมแพะ
เมื่อนักวิจัยชาวสเปนเปรียบเทียบระหว่างนมวัว และนมจากสัตว์ที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมอย่างเดียวกัน พวกเขาพบว่า นมทั้งสองประเภทมีประมาณกรดอะมิโนเท่ากัน (กรดอะมิโนจำเป็นต่อการสร้าง และซ่อมแซมกล้ามเนื้อ) แต่นมแพะมีปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-3 มากกว่า เช่นเดียวกับที่ชนะขาดในปริมาณแคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และ Conjugated Linoleic Acid (หรือ CLA) การศึกษาชี้ว่า CLA มีคุณสมบัติหลายประการรวมถึงลดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง เสริมสร้างกระดูก และช่วยลดปริมาณไขมันในร่างกาย
สตรอวเบอร์รี่ vs บลูเบอร์รี่
ทั้งสองฝ่ายต่างก็ดีกับสุขภาพมาก ๆ แต่การศึกษาซึ่งเผยแพร่ในวารสาร Agricultural and Food Chemistry รายงานว่าบลูเบอร์รี่ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บลูเบอร์รี่ป่า) มีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดในบรรดาผลไม้ทั้งหมด ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยรักษาระบบภูมิค้มกันให้แข็งแรง และลดความเสียหายในเนื้อเยื่อที่เกิดจากการออกกำลัง