ปลาดุกย่าง ปนเปื้อนสารก่อมะเร็งมากสุด


จากกรณีการตรวจวิเคราะห์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของเกาหลียี่ห้อ Nongshim ทางอย. กำลังอยู่ในระหว่างการตรวจวิเคราะห์

วิธีการตรวจหาสารเบนโซเอไพรีนในอาหารแต่ละชนิดจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ก่อนโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เคยพัฒนาวิธีวิเคราะห์มาตรฐานในการตรวจหาสารดังกล่าวในอาหารประเภทปิ้งย่างมาแล้วจึงได้นำวิธีการตรวจสอบนี้มาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบหาสารดังกล่าวที่อาจปนเปื้อนในผงปรุงรสบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้

สารเบนโซเอไพรีน เป็นสารประกอบในกลุ่มโพลีไซคลิก อะโรเมติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons; PAHs)ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีที่มีมากกว่า 100 ชนิด ประกอบด้วยวงเบนซีนตั้งแต่ 2วงขึ้นไป จัดเรียงเป็นเส้นตรง เป็นมุม หรือเป็นกลุ่มเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์หรือการสลายทางเคมีของสารอินทรีย์โดยความร้อน อย่างไรก็ตามเชื้อเพลิงจากถ่านหิน ไม้ และสารอินทรีย์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็ทำให้เกิด aromatic compounds ได้ทั้งสิ้น โดยทั่วไป PAHsเป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษเฉียบพลันต่ำในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงจะพบความเป็นพิษเรื้อรัง ดังนั้นการได้รับอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดความเป็นพิษต่อระบบต่างๆของร่างกายได้

สารPAHs พบได้ทั้งในสิ่งแวดล้อมและอาหารการปนเปื้อนสารเบนโซเอไพรีนในอาหารเกิดจากการสะสมของอนุภาคเบนโซเอไพรีนที่มาจากการปิ้งย่าง หรือทำแห้งด้วยไฟหรือควันไฟโดยตรงหรือจากการซึมซับในระหว่างกระบวนการรมควันอาหารในกรณี ที่ไม่ได้รมควันโดยตรง (indirect smoking)หรือจากการปรุงอาหารที่ใช้อุณหภูมิสูงรวมทั้งจากการเติมสารปรุงแต่งกลิ่นควัน

ที่ผ่านมาจากการนำตัวอย่างมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อน พบ 

- ปลาดุกย่าง 36 ตัวอย่าง พบปนเปื้อนร้อยละ 81 ปริมาณสารที่พบอยู่ที่ 0.5-3.2 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม

 - ไก่ย่าง 35 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนร้อยละ 31 ปริมาณสารดังกล่าวที่พบอยู่ที่ 0.5-0.7 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม

 - หมูปิ้ง 30 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนร้อยละ 40 ปริมาณสารที่พบอยู่ที่ 0.3-1.3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม


สารเบนโซเอไพรีน ที่ตรวจพบในอาหารปิ้งย่างจะมีปริมาณน้อยแต่การได้รับสารนี้สะสมในร่างกายก็อาจเกิดอันตรายได้ ดังนั้นผู้จำหน่ายอาหารปิ้งย่างจึงไม่ควรใช้ไฟแรงและใช้เวลาในการปิ้งย่างนานเกินไปควรตัดแต่งอาหารส่วนที่ไหม้เกรียมออกส่วนผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารปิ้งย่างที่ไหม้เกรียมและอย่าบริโภคอาหารประเภทเดิมซ้ำๆควรบริโภคอาหารหลากหลายและมีประโยชน์ต่อสุขภาพของตนเองและในกรณีกินปลาดุกย่างซึ่งพบสารเบนโซเอไพรีนมากกว่าอาหารปิ้งย่างอีก 2 ชนิด ก็ควรลอกหนังออกและทานแต่เนื้อก็สามารถลดความเสี่ยงจากการได้รับสารเบนโซเอไพรีนที่อยู่บนหนังที่ไหม้เกรียมได้



ที่มา...กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ปลาดุกย่าง ปนเปื้อนสารก่อมะเร็งมากสุด

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์