อาการที่เห็นภาพและอยู่ในเหตุการณ์ตลอดเวลา แล้วก็เป็นจริงอาการเหมือนคนมาเตือนให้ระวังภัยและเตือนภัยแล้วก็เกิดขึ้นอาการเหมือนตกหลุมรักโดยฉับพลัน...คนนี้ใช่เลย
อาการที่คล้ายกับเคยพบเห็น เคยอยู่ในสถานที่ต่างๆๆทั้งที่ไม่เคยไปมาก่อน
นั่นละค่ะ เรียกว่าอาการ เดจาวู
ตัวอย่างเหตุการณ์
อับบราฮับ ลินคอร์น ก็เคยเห็นเดจาวู เขาเห็นว่าตนจะโดนลอบสังหารและไม่มีใครหยุดได้ ก่อนนอนเขาได้กล่าวอำลากับทหารที่รักษาการนอกห้องประธานาธิบดีว่า ลาก่อนเราคงไม่ได้เจอคุณอีกแล้ว หลังจากนั้น เขาก็โดนลอบยิงเข้าที่หน้าอกเสียชีวิตทันที
บางคนรู้สึกว่าตนนั่งรถทัวร์กลับต่างจังหวัดตอนดึก ระหว่างทางเห็นอุบัติเหตุข้างทาง แล้วก็ผ่านไป สักพักก็เห็นอีก เห็นอยู่เรื่อย ที่สำคัญเป็นรถคันเดิม คนเดิม บางทีกำลังหันมามองเขาด้วย โดนที่ไม่ใช่ฝันแน่นอน พอรู้สึกตัวอีกที รถจอด ปรากฏว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเหมือนที่เคยเห็น
มนุษย์ในบางครั้งมีความรู้สึกว่า ตนเองเคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาแล้ว แต่จำไม่ได้ว่าในฝันหรือในอดีต เช่น ไปเที่ยวต่างจังหวัดที่ไม่เคยไปมาก่อน เดินไปยืนที่ระเบียงแล้วรู้สึก ตนเองคุ้นกับระเบียงนี้ มุมนี้ และการยืนแบบนี้..
เมื่อได้พบใครเป็นครั้งแรกแล้วเกิดอาการ “ปิ๊ง” ขึ้นมาทันที...ใช่เลย เขาคนนี้แหละที่เคยปรากฏในจินตนาการของเรา
บางคนที่เคยเขียนภาพทิวทัศน์จากจินตนาการ แล้วก็ได้ไปพบทัศนียภาพนั้นตรงกับที่เขียนไว้เป๊ะๆ... เนินตรงนั้น...ต้นไม้ใหญ่ตรงนั้น...วัวกำลังยืนเคี้ยวเอื้องอยู่ตรงนั้น
เดจาวู : ทางการแพทย์เขาเรียกว่า การไหลของคลื่นกระแสไฟฟ้า ในสมองเกิดการผิดปกติค่ะ คือ ไหลไปยังไงไม่รู้ทำให้การกระทำที่เรากำลังทำอยู่ ณ ขณะนั้นคลับคล้ายว่าเคยเกิดมาก่อนหน้านี้มาแล้ว แต่ไม่สามารถจำเวลาได้......
แต่โดยความเชื่อของเราเองแล้วนั้น ที่เรียกว่าเดจาวู นี่เป็นประสพการณ์ทางจิต ที่เกิดได้กับทุก คนและทุกเวลาได้ คือมันเป็นทั้งโลกคู่ขนาน และเวลาที่ผ่านไปแล้วในอดีตอันยาวไกล ( ชาติก่อนๆโน้น ) คล้ายๆกับ ทฦษฎีสัมพันธภาพ ของไอน์สไตน์ล่ะค่ะ
คือสิ่งใดก็ตามที่เคยเกิดไปแล้วในอดีต จะย้อนกลับมาเกิดซ้ำ อีกเหมือนกับการที่ เรากลับชาติมาหลายๆชาติ นั่นแหละค่ะ
ทฤษฏีของเดจาวู
เดจาวู (ฝรั่งเศส:ทฤษฏีของเดจาวู
Déjà vu เดชาวู แปลว่า เคยได้พบเห็นมาแล้ว) คำว่าเดจาวูได้บันทึกขึ้นมาจากนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศส Emile Boirac (1851–1917) ในหนังสือ L'Avenir des sciences psychiques (แปลว่า อนาคตของวิทยาศาสตร์จิตวิทยา)
อาการเดจาวูคือรู้สึกว่าเหตุการณ์นั้นเคยพบมาแล้ว ทั้งๆที่เพิ่งพบครั้งแรก โดยเราอาจจะคิดว่าเราเพ้อฝันไป
เดจาวู เป็นประสบการณ์ทางจิต ที่เกิดได้กับทุกคน และทุกเวลา อาจเป็นอดีตชาติ อาจเป็นโลกคู่ขนาน อาจเป็นพลังจิต หรืออาจเป็นแค่ภาพลวงตาทางสมอง
ทฤษฎีแรก อดีต
สิ่งใดก็ตามที่เคยเกิดไปแล้วในอดีต จะย้อนกลับมาเกิดซํ้าอีก เราจะผ่านประสบการณ์มากมาย และบางสิ่งอาจหลงเหลือในความทรงจำ แล้วย้อนกลับมาเกิดอีก ทำให้รู้สึกว่าเคยเห็นมาก่อน
เดจาวู เป็นประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ.. ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า เดจาวู มันเกิดจากการที่ขณะหลับ จะมีการหลับอยู่หลายขั้น (ประมาณ 5 ขั้น) ถ้าเห็นอนาคตที่เคยทำ ก็จะอยู่ประมาณขั้นที่ 3 ยิ่งขั้นมากขึ้น ความสัมพันธ์กับร่างกายและวิญญาณ จะยิ่งห่างไกลกันออกไป ถ้าหลับลึกถึงขั้นที่ 5 ก่อนหลับจะรู้สึกชาตามร่างกายทั้งตัว ขยับตัวเองไม่ได้ พูดไม่ได้ (ลักษณะที่คนทั่วไปเรียกว่าถูกผีอำ) ถ้าหลับในสภาพนี้ อัตราค่าซิงโครกับร่างกายจะลดต่ำ ลงจนเหลือ 0 แล้ววิญญาณก็จะหลุดออกจากร่างกาย..
ทฤษฎีที่สอง พลังจิต
บ้างก็ว่า เดจาวู เป็นพลังจิตรูปหนึ่ง บ้างก็ว่าเป็นทิพจักขุญาณ (ความรู้คล้ายตาทิพย์) ซึ่งได้มาจากการเจริญสมถะภาวนาในหมวดของกสิณ 3 กองคือ เตโชกสิณ (กสิณไฟ), โอทากสิณ (กสิณสีขาว) และ อาโลกสิณ (กสิณแสงสว่าง) จากทั้งหมด 10 กอง
เราทุกคนมีพลังจิต เพียงแต่จะอ่อนจะเข้ม บางทีเพราะเราไม่ได้ฝึก จะเก็บกดไว้ภายใน วันดีคืนดีก็ล้นออกมา ตามตำรา ถ้าได้ฝึก เราสามารถควบคุมได้
มีนักพยากรณ์หลายคน พยากรณ์ได้จากการเพ่ง ว่ากันว่า มีผู้หนึ่งมีเดจาวูแรงกล้ามาก หาใครเปรียบได้ไม่ เขาชื่อ นอสตราดามุส
ทฤษฎีที่สาม จักรวาลคู่ขนาน
อธิบายเกี่ยวกับ โลกคู่ขนาน หรือ จักรวาลคู่ขนาน ก่อนหมายถึง จักรวาลที่ดำเนินไปพร้อมกับจักรวาลที่เราอยู่นี้ ทฤษฎีนี้นักฟิสิกส์ริเริ่มคิดขึ้นมา มีเหตุการณ์ที่เราลังเลอยู่ 2 ทาง แต่เราก็ตัดสินใจไปทางหนึ่ง แล้วคิดไหมว่า ถ้า ณ วันนั้นเราติดสินใจเป็นอย่างอื่น อะไรจะเกิดขึ้น
ในโลกนี้ที่เรามีตัวตนอยู่ในขณะนี้ ขณะเดียวกันก็มีเราอีกคนหนึ่งในอีกโลกหนึ่ง และมีโลกคู่ขนานมากมายนับไม่ถ้วน..
ทฤษฎีสุดท้าย คิดไปเอง
ตามแนวคิดของหลักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า เกิดจากสมองแปลข้อมูลผิดพลาด พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่ได้เห็นมาแล้วหรอก แต่คิดไปว่าเห็นมาแล้ว
ทางการแพทย์เรียกว่า การไหลของคลื่นกระแสไฟฟ้าในสมองเกิดการผิดปกติ สมองคนเราก็เหมือนเครื่องจักรย่อมเกิดข้อผิดพลาดได้บ้าง ทำให้การกระทำที่กำลังทำอยู่ ณ ขณะนั้น คลับคล้ายว่าเคยเกิดมาก่อนหน้านี้มาแล้ว แต่ไม่สามารถจำเวลาได้
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
http://static.howstuffworks.com