วิธีการหนุนหมอนเพื่อสุขภาพ
1. นอนหงาย ตำแหน่งที่จะใช้หนุนได้แก่บริเวณศีรษะ คอไหล่ และเข่า
2. นอนตะแคง มีหมอนใบหนึ่งหนุนศีรษะโดยที่หมอนต้องไม่สูงเกินไป และมีหมอนข้างอีกใบไว้ระหว่งขา บางท่านอาจจะใช้ผ้าขนหนูม้วนหนุนข้อมือด้านที่ตะแคง
3. นอนคว่ำ ไม่ต้องใช้หมอนหรือหากจะใช้ต้องค่อนข้างจะแบน และอาจจะมีหมอนใบเล็กๆหนุนตรงบริเวณท้อง
ชนิดของหมอน
1. หนุนที่เข่าซึ่งสามารถหนุนได้สองรูปแบบ คือนอนหงายแล้วเอาหมอนหนุนใต้เข่า หรือนอนตะแคงหมอนอยู่ระหว่างขา ท่านอนและการใช้หมอนท่านี้จะช่วยลดอาการปวดหลังเนื่องจากกล้ามเนื้อหลังอักเสบ หมอนที่ใช้คือหมอนข้าง
2. หมอนหนุนทีศีรษะและคอ หมอนที่ดีควรจะรองตั้งแต่ต้นคอจรดถึงศีรษะ ความสูงของหมอนประมาณ 4-6 นิ้วโดยหมอนควรจะนุ่มเพื่อที่ส่วนที่รองศีรษะยุบจนกระทั่งหมอนสามารถรองรับบริเวณคอ หมอนชนิดนี้เหมาะสำหรับคนที่ปวดต้นคอ หากหมอนสูงเกินไปเมื่อนอนหงายหรือนอนตะแคง กล้ามเนื้อคอจะถูกยืดมากเกินไปทำให้ปวดกล้ามเนื้อคอ และที่สำคัญในทางนอนหงายหากหมอนสูงไปจะทำให้ทางเดินหายใจแคบเกิดอาการกรน
3. หมอนรูปตัว U เป็นหมอนทีใช้สำหรับหนุนคอขณะเดินทางโดยสารเพื่อป้องกันมิให้คอเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง หรือหงายไปทางด้านหลัง เหมาะสำหรับนั่งหลับขณะโดยสารในรถหรือเครื่องบิน
4. หมอนรองหลัง ใช้สำหรับหนุนหลังส่วนเอว เหมาะสำหรับคนที่ต้องทำงานนั่งนาน หรือขับรถนาน เพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง
5. หมอนรูปโดนัท เหมาะสำหรับผู้ที่มีกระดูกก้นกบหัก เวลานั่งจะไม่ปวดก้น เมื่อเลือกที่จะใช้หมอนที่ใดที่หนึ่งให้ลองดูสัก 1-2 สัปดาห์จึงจะเห็นผล เมื่อใช้หมอนไประยะเวลาหนึ่งความนุ่มของหมอนจะเสียไป ต้องเปลี่ยนหมอนแล้วล่ะ เพื่อสุขภาพ ที่ดีของเราค่ะ