ขึ้นชื่อว่าทีมก็คือการทำงานร่วมกัน แม้แต่ละคนจะมีเป้าหมายเดียวกันแต่การร่วมแรงร่วมใจไปสู่เป้าหมายนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ก็ไม่ยากเกินไปอาจจะลองใช้วิธีการรวมทีมของนักกีฬาดูก็ไม่เลวเลย
กำหนดตารางเวลา
ทีมกีฬาจะรู้กำหนดการล่วงหน้าของพวกเขา จะต้องแข่งรอบคัดเลือกเมื่อไหร่ อุ่นเครื่องเมื่อไหร่ งานบริษัทก็เช่นกัน จัดทำกำหนดการขึ้นมา ว่าควรจะรวมทีมเมื่อไหร่ ในแต่ละเดือนจะต้องทำใครตอนไหน มีใครรับผิดชอบบ้าง และไม่เพียงกำหนดเวลาประชุม หรือเดทไลน์การส่งงานเท่านั้น ควรจะกำหนดเวลาพักผ่อน หรือกิจกรรมสันทนาการลงไปด้วย
สร้างสัญลักษณ์
สิ่งที่เห็นภาพที่สุดในเกมกีฬาก็คือเสื้อทีม หรือจะเป็นมาสคอตประจำทีม เป็นการสร้างความรู้สึกถึงความเป็นพวกเดียวกัน อาจจะเอามาปรับใช้โดยที่จะไม่รู้สึกเก้อเขินเกินไป อย่างการใส่เสื้อสีเดียวกันมาในวันประชุมใหญ่ หรือเป็นอะไรง่ายๆอย่างเข็มกลัด ยังช่วยให้คุณจดจำสมาชิกในกลุ่มได้เร็วขึ้นด้วย
มีทีมสำรองเสมอ
การแข่งขันในตลาด กับการแข่งขันในสนามนั้นมีจุดที่คล้ายกันอยู่ คือจะต้องขับเคลื่อนทีมไปโดยที่แม้ว่าผู้เล่นจะบาดเจ็บก็ตาม ดังนั้นทีมสำรองจึงจำเป็นไม่น้อย แต่หากบริษัทของคุณมีขนาดเล็ก มีคนไม่มากพอที่จะรับหน้าที่สำรอง ก็อาจจะใช้วิธีฝึกให้คนที่มีหน้าที่ใกล้เคียงกัน สามารถรับผิดชอบงานของอีกคนได้หากเกิดมีเหตุขัดข้องอะไรขึ้น
การให้รางวัล
หลังจากที่เกมจะจบลงในเกมส์กีฬา ผู้ชนะก็จะได้ถ้วยรางวัล แต่ถึงแม้แต่ละบริษัทจะได้รางวัลในรูปแบบของตัวเลขหรืออะไรก็ตาม หรือต่อให้ไม่เป็นไปตามเป้าที่กำหนดไว้ ก็ควรจะมีการให้รางวัลกันอยู่ดี อาจจัดงานฉลองเล็กๆ เป็นการให้กำลังใจที่ได้ลงมือลงแรงกันมา แล้วจึงค่อยแจงถึงจุดบกพร่องจะทำให้สถานการณ์ไม่ตึงเครียดเกิดไปอีกด้วย