ในหลวงโปรดเกล้าฯให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก 30 วัน ถวายอาลัย สมเด็จพระสังฆราช 25ต.ค.ถึง23 พ.ย.


ในหลวงโปรดเกล้าฯให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก 30 วัน ถวายอาลัย สมเด็จพระสังฆราช 25ต.ค.ถึง23 พ.ย.

แถลงการณ์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เรื่อง
พระอาการประชวรของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 
ขณะประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ฉบับที่ ๙
************************


วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษารายงานว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระอาการโดยรวมทรุดลง ได้สิ้นพระชนม์ลงแล้ว เมื่อเวลา ๑๙.๓๐ นาฬิกาของวันนี้ สาเหตุเนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน


จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน 


โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖


*******************************************************
 
 
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม   สำนักพระราชวัง  ได้ออกประกาศไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก ความว่า

 เลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์เนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ต.ค.56 เวลา 19.30 น.

 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยความเศร้าสลดพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก จาก 15 วัน เป็น 30 วัน นับตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 ต.ค.56 ถึง วันเสาร์ที่ 23 พ.ย.56 และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระศพไว้ ณ พระตำหนักเพชร วัดบวรฯ และถวายพระเกียรติยศตามราชประเพณีทุกประการ

สำนักพระราชวัง 

 
 
+++++++
 
 
 
ก่อนหน้านี้ เลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สิ้นพระชนม์ เนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ โรงพยาบาลจุฬากรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2556 เวลา 19 นาฬิกา 30 นาที
       
        
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยความเศร้าสลดพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก 15 วัน นับตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2556 ถึงวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2556 และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระศพไว้ ณ พระตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร และถวายพระเกียรติยศ ตามราชประเพณีทุกประการ
 
 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ออกแถลงการณ์เรื่องพระอาการประชวรของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขณะประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยฉบับที่ ๙ ความว่า วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษารายงานว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระอาการโดยรวมทรุดลง ได้สิ้นพระชนม์ลงแล้ว เมื่อเวลา ๑๙.๓๐ นาฬิกาของวันนี้ สาเหตุเนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

 

 

 

 

 

+++++++++++++++++++++

 


ทางด้านนายธงทอง จันทรางศุ  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กำหนดการในวันพรุ่งนี้( 25 ตุลาคม) อยู่ระหว่างรอทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยคาดว่าจะมีการเคลื่อนพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กลับวัดบวรนิเวศวิหาร ในเวลา 12.00 น. และอัญเชิญพระศพประดิษฐานยังตำหนักเพ็ชร ในวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งคาดว่าจะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ ในเวลา 13.00 น. โดยรัฐบาลจะออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีแจ้งให้ข้าราชการทั่วประเทศแต่งชุดไว้ทุกข์ ถวายความอาลัยเป็นเวลา 15 วัน ส่วนสถานที่ราชการลดธงครึ่งเสาเป็นเวลา  3 วัน


ส่วนประชาชนที่ต้องการไปร่วมพิธีถวายน้ำสรงพระศพต่อหน้าพระรูป สามารถไปได้ยังอาคารมนุษยนาควิทยาทาน ภายในวัดบวรฯ ตั้งแต่เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป

 
 
ด้านนายสมพงษ์ แก้วเจริญไพศาล ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ศิษย์ของพระเทพสารเวที ผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช กล่าวว่าเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนิกชนชาวไทย และแม้ว่าพระองค์ท่านจะจากไป แต่คุณงามความดีและคำสอนของพระองค์ท่านจะยังคงอยู่สืบไป และขอให้นำคุณงามความดีของพระองค์ท่านเป็นแบบอย่าง ซึ่งในวันพรุ่งนี้(25 ต.ค.) เวลา 08.00 น.จะมีการเปิดให้สักการะที่โรงพยาบาล ก่อนจะมีพิธีเคลื่นพระศพในเวลา12.00น.
 
 
สำหรับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456—ปัจจุบัน) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ปัจจุบันทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา100ปี


พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็น สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เจริญ คชวัตร เป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระสังฆราช
ประสูติเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2456 เป็นบุตรคนโตของ นายน้อย คชวัตร และ นางกิมน้อย คชวัตร ชาวจังหวัดกาญจนบุรี พระองค์ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งเป็นราชทินนามที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดฯ ให้ตั้งขึ้นใหม่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงปฏิบัติบำเพ็ญต่อพระศาสนา ประชาชน และชาติบ้านเมืองเป็นอเนกประการ ซึ่งจะขอยกมาพอสังเขป ดังนี้

ในด้านการพระศาสนา คือ การสั่งสอนพุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต พระองค์ได้ทรงปฏิบัติเป็นกิจวัตรสม่ำเสมอ นับแต่ประทานพระโอวาทสั่งสอนพระภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ในฐานะพระอุปัชฌาย์ ทั้งในพรรษกาล และนอกพรรษกาลตลอดปีโดยมิได้ว่างเว้น จนกระทั่งพระชราพาธมาขัดขวาง จึงได้ทรงยับยั้งอยู่ในสุขวิหารธรรม ทั้งได้ประทานพระธรรมเทศนาประจำวันธรรมสวนะในวันเดือนเพ็ญและวันเดือนดับ ประทานธรรมกถาในการฝึกปฏิบัติอบรมจิต หรือที่เรียกกันว่า "สอนกรรมฐาน" แก่สาธุชนทั่วไปเป็นประจำทุกวันพระและหลังวันพระ ด้วยความใส่พระทัยตลอดมา

ในฐานะองค์ประมุขแห่งสังฆมณฑล ได้เสด็จไปทรงปฏิบัติพระศาสนกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งระอุด้วยชีวิตภัยในสงบเย็นด้วยธรรมานุภาพเป็นประเดิม ต่อแต่นั้นก็ได้เสด็จไปทรงปฏิบัติพระศาสนกิจและเยี่ยมเยียนพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนในภูมิภาคต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักรเป็นประจำทุกปี มิได้ว่างเว้น อันเป็นโอกาสให้ได้ทรงทราบสภาพการณ์ของคณะสงฆ์และบ้านเมืองทั้งในทางวัฒนะและหายนะ ซึ่งเป็นทางให้ทรงพระดำริในอันที่จะทรงอนุเคราะห์ สงเคราะห์แก่พุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตตลอดถึงประชาชนทั่วไปในท้องถิ่นนั้นๆ

ในด้านการประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงพระดำริริเริ่มกิจการในอันที่จะทำให้พระพุทธศาสนาแผ่ไพศาลไปยังนานาประเทศ เพื่ออำนวยสันติสุขแก่ชาวโลก เริ่มแต่ทรงเป็นประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เสด็จไปดูการพระศาสนาและการศึกษาในประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และเอเชีย อันเป็นเหตุให้ทรงดำเนินงานพระธรรมทูตต่างประเทศ และสร้างวัดพระพุทธศาสนาขึ้นในประเทศต่างๆ เป็นครั้งแรก ในด้านการส่งเสริมการศึกษา ทรงเป็นผู้ร่วมดำริและผลักดันให้เกิดมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก 

นั่นคือ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ซึ่งต่อมาเรียกว่า มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทั้งได้เป็นอาจารย์รุ่นแรก รวมถึงทรงพระดำริส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ขยายการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก รวมทั้งประทานทุนการศึกษาแก่พระภิกษุให้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในต่างประเทศ

ในด้านสาธารณูปการ ได้ทรงก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ 2 หลัง อาคารเรียนโรงเรียนวัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี อาคารเรียนโรงเรียนญาณสังวร จังหวัดยโสธร โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี ทั้งได้ประทานทุนการศึกษาแก่เด็กเรียนดีแต่ยากจนเป็นจำนวนมาก

ในด้านสาธารณสุขและสาธารณกุศล เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงอำนวยการก่อสร้างตึก ภปร ตึกวชิรญาณวงศ์ และตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ทรงอำนวยการสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต พร้อมทั้งพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราช ณ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โปรดให้สร้างโรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี

ส่วนพุทธสถานอื่นๆ ได้ทรงอำนวยการสร้างวัดพุทธวิมุติวนาราม (วัดพุมุด) อำเภอไทรโยค วัดรัชดาภิเษก อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี วัดวังพุไทร จังหวัดเพชรบุรี วัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี วัดล้านนาญาณสังวราราม จังหวัดเชียงใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทราสถิตมหาสันติคีรี ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย 

รวมทั้งโปรดให้แกะสลักพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ณ เขาชีจรรย์ จังหวัดชลบุรี


ขอบคุณ bangkokbiznews.com


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์