1. ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือการทำ Pap Test
ผู้หญิง ทุกคนที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์มา แล้วไม่ว่าอายุเท่าใดต้องตรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาววัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เคยมีคู่หลายคน และ/หรือปัจจุบันมีคู่ขาหลายคน สมาคมโรคมะเร็งของอเมริกาได้แนะนำให้เริ่มตรวจ Pap หลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกไปแล้ว 3 ปี หรือมีอายุมากกว่า 21 ปี ถึงไม่มีเพศสัมพันธ์ ก็ควรตรวจคัดกรองหามะเร็งปากมดลูกทุก 1-2 ปี
2. ตรวจภายใน
ผู้หญิง วัยเจริญพันธ์ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไปควรตรวจภายในประจำปีตรวจทุกปี แม้ไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มา ก่อน ครั้นอายุขึ้นเลข 3 ปั๊บ ก็ควรไปตรวจภายในได้แล้วค่ะ และเพื่อความมั่นใจ สะดวก จำง่าย เวลาไปตรวจภายใน ก็ตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกปีพร้อมกันไปเลยค่ะ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการนัดตรวจล่วงหน้า 2 วัน ไม่ควรสวนหรือล้างภายในช่องคลอด ไม่ควรจะเหน็บยา และไม่ควรไปตรวจช่วงมีประจำเดือน ช่วงที่ดีที่สุดคือ หลังมีประจำเดือน 5 วัน
3. ตรวจมะเร็งเต้านม
มี 3 ลำดับขั้นตอน เริ่มจากการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ควรจะตรวจอย่างน้อยเดือนละครั้ง ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจคือ หลังจากประจำเดือนหมด พออายุ 20 ปี ควรไปหาแพทย์ตรวจเต้านมโดยแพทย์ โดยตรวจทุก 3 ปี แต่หากขึ้นเลข 4 แล้วควรจะทำควบคู่กับการทำแมมโมแกรม (Mammogram) เพราะจัดว่าแมมโมแกรมเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจคัดกรอง สามารถทำให้การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมได้เร็วกว่าการคลำถึง 2 ปี สถาบันมะเร็งแห่งชาติของอเมริกาแนะนำ ให้ประชาชนที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อนควรจะตรวจแมมโมแกรมก่อนเลย ไม่ต้องรอให้ถึงอายุ 40 ปี ไม่ควรนัดตรวจเต้านมก่อนมีประจำเดือน เนื่องจากช่วงนั้นเต้านมจะคัดและเจ็บควรจะตรวจหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้ว หนึ่งสัปดาห์
4. ตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone density measurement)
สาวคนไหนที่ได้รับการตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง หรือผู้ที่ระดูหมดเร็ว หรือหมดระดูเป็นสาวใหญ่วัยทองแล้ว จะมีภาวะเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน จึงต้องตรวจความหนาแน่นของกระดูก โดยเฉลี่ยคือ อายุ 45 ปี เวลาไปตรวจสุขภาพ ประจำปี ก็ควรตรวจไปด้วยเลย