จะจอดรถทั้งทีก็ต้องดูให้ดีๆ ด้วยนะ เพราะตอนนี้มีกฎหมายใหม่ออกมาบังคับใช้กันแล้ว ถ้าอยากรู้ละก็ อ.ประมาณ มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาบอก!!!
ช่วงต้นเดือนตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา ทางผู้บังคับการตำรวจจราจรใน กรงุ เทพฯ เรมิ่ ระบุว่าจะเอาจริง เอาจัง กับกฎหมายจราจรที่ปรบแก้ใหม่ในเรื่องการจอดรถกีดขวางทางจราจรในกรุงเทพฯ ว่าจะไม่ล็อกล้อแล้วนะแต่คราวนี้จะยกรถไปเลยแล้วให้เจ้าของรถไปตามจ่ายเงินค่าปรับ ซึ่งก็โขอยู่นะหลายคนก็ตกอกตกใจว่า“มีกฎหมายแบบนี้อยู่หรอ?” เรียนตามตรงว่าทางตำรวจจราจรเขาแถลงจะปรับใช้ในวันที่ 21 ตุลาคม 2556 นี้แล้ว (ซึ่ง ณ ขณะที่ต้นฉบับนี้ตีพิมพ์ออกไป คงได้เริ่มใช้กฎหมายฉบับนี้ในกรุงเทพฯ ไปแล้ว)
ทำไมต้องมีกฎหมายประเด็นนี้
เจ้าหน้าที่ตำรวจเขาระบุที่มาของการต้องปรับแก้กฎจราจรในกรุงเทพฯ ใหม่ก็เพราะจากสถิติปี 2556 พบว่าข้อหาจอดรถในที่ห้ามจอดมีการจับกุมมากถึง2 แสนราย โดยถึงขนาดต้องนำรถยกจากภาคเอกชนเข้ามาร่วมยกรถ ส่วนในสน. พื้นที่ต่างๆ ยังไม่มีการเร่งรัดใช้กฎหมายให้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากความอ่อนแอของกฎหมายทำให้เกิดปัญหาการจราจรเพราะรถที่จอดกีดขวางทางจราจรอยู่บนท้องถนนนั่นแหละ
ยกรถที่จอดกีดขวางแทนการล็อกล้อ
แนวปฏิบัตินโยบาย “ยกรถที่จอดกีดขวางแทนการล็อกล้อ” 10 ถนนสายหลักได้แก่ ลาดพร้าว พระราม 4 สุขุมวิท รัชดาฯ รามคำแหง พหลโยธิน สาทรเหนือราชดำเนินกลาง เพชรบุรี และวิภาวดี โดยแบ่งการปฏิบัติเป็น 3 ระยะ ระยะที่หนึ่ง วันที่ 9-15 ตุลาคม เป็นขั้นเตรียมการ จัดอุปกรณ์ จัดรถยก และป้ายประชาสัมพันธ์ ระยะที่ 2 วันที่ 15-20 ตุลาคม เป็นช่วงปฏิบัติโดยเจ้าหน้าที่จะตักเตือนก่อนโดยแจกใบปลิวตามถนน 10 สายหลักก่อนจะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ระยะที่ 3 ดีเดย์คือตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม นี้มีโทษปรับในอัตราสูงสุดไม่เกิน 500 บาท ค่าเคลื่อนย้าย 500 บาท และค่าดูแลรักษาวันละ 200 บาท (รถถูกเก็บไว้กี่วันก็คิดตามนั้น)
รถถูกยกไป…จะมีป้ายบอกไว้
หลายคนอาจจะสงสัยว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเขายกรถของเราไปที่ไหน?เขายืนยันแบบนี้ครับว่า หากเจ้าหน้าที่ตำรวจยกรถของคุณไป เขาจะทำป้ายตั้งบอกให้คุณซึ่งเป็นเจ้าของรถทราบว่า ถูกยกไปไว้ที่ใดเพื่อให้คุณติดตามไปเสียค่าปรับต่างๆ อย่างที่ผมบอกไปข้างต้น นอกจากนี้มาตรการนี้จะประเมินผลการปฏิบัติทุก 3 เดือนจนครบหนึ่งปี หากพบว่ายังมีการฝ่าฝืนก็จะออกมาตรการขั้นเด็ดขาดต่อไปอีกด้วยนะ
ขับรถกีดขวางทางจราจร…มาตรการเหมือนเดิม
ส่วนกรณีการขับรถกีดขวางการจราจรยังใช้มาตรการเดิม โดยหากขับรถช้าก็ต้องชิดซ้ายตามที่กฎหมายกำหนด หากผู้ใดขับรถแล้วไปกีดขวางช่องทางทั้งหมด ทำให้รถที่ใช้ความเร็วสูงกว่าไม่สามารถแซงได้ ถือว่ากระทำผิดพ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (3) ขับรถกีดขวางการจราจรหากตำรวจพบสามารถเรียกจับได้ มีโทษปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาทนอกจากนี้ การขับรถคร่อมช่องทางจราจรเพื่อเอาไว้เผื่อเลือกว่าช่องไหนวิ่งได้เร็วกว่าก็มีความผิดตามมาตรา 43 (6) ข้อหาขับรถคร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ มีโทษปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท เช่นกัน
ขับรถจนน้ำ โคลน…กระเซ็นโดนผู้อื่น
กรณีรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์วิ่งเหยียบน้ำที่เจิ่งนองหรือน้ำที่ขังอยู่ตามหลุมตามบ่อข้างทางสาดกระเซ็นถูกคนที่อยู่ข้างทาง ซึ่งถ้าคุณเป็นผู้เคราะห์ร้ายให้จำหมายเลขทะเบียนรถผู้ที่ขับรถจนน้ำกระเด็นใส่ตัวเรา หลังจากนั้นโทรศัพท์หรือเข้าแจ้งความกับตำรวจในสถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุดทันทีกรณีนี้ผู้ขับรถมีความผิดเต็มๆ ตามพ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43 และมาตรา 160 โทษฐานขับรถโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนหรือปลอดภัยของผู้อื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่2,000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ