หากจะพูดถึงเรื่องราวของการซักผ้าของชาวสยามก่อนที่จะมีผงซักฟอกใช้แล้ว
หลายๆคนคงเคยสงสัยเหมือนกันว่า ในสมัยก่อนที่วิถีชีวิตของคนไทยเกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานและคลุกคลีอยู่กับดินกับป่านั้น เสื้อผ้าอาภรณ์ที่ใส่แต่ละวันก็คงจะสกปรกเอาเรื่อง แล้วชาวสยามในสมัยก่อนนั้นเค้าขจัดคราบสกปรกบนเสื้อผ้าได้ยังไงกัน
วันนี้มีคำตอบสำหรับข้อสงสัยนี้มาเล่าให้ฟังค่ะ
หากเปรียบเทียบระหว่างสมัยก่อนกับสมัยนี้แล้ว การซักผ้าในสมัยก่อนนั้นลำบากกว่าสมัยนี้อย่างเทียบกันไม่ได้เลยทีเดียว
หญิงชาวสยามสมัยก่อนจะมีอุปกรณ์การซักผ้าอย่างหนึ่งที่เราไม่เห็นกันแล้วสมัยนี้นั่นก็คือไม้ทุบผ้า.. ที่เอาไว้ทุบคราบเหงื่อไคลบนเสื้อผ้าออก ซึ่งการทุบให้คราบออกได้นั้น ก็จะต้องใช้แรงเยอะเลยค่ะ กว่าจะซักเสร็จเนี่ย.. เรียกว่ากล้ามขึ้นกันเลย
แต่หากเป็นคราบสกปรกที่ติดแน่นหน่อย หญิงสยามจะใช้น้ำด่างจากขี้เถ้าไม้แสม (หรือก็คือน้ำที่ได้จากการนำขี้เถ้าไม้แสมมาต้ม แล้วทิ้งค้างคืนไว้ให้ขี้เถ้าตกตะกอน) มาใช้เป็นน้ำแช่ผ้าเพื่อสลายคราบสกปรกก่อนนำไปทุบหรือขยี้ หลังจากทุบหรือขยี้เสร็จแล้วก็อาจจะมีการนำไปต้มในลังถึง(ซึ้ง) เพื่อขจัดคราบเหงื่อไคลก่อน แล้วจึงนำมาล้างตากได้
และนอกจากนี้ก็ยังสามารถใช้หอมหัวใหญ่ฝานแล้วทาลงบนคราบก่อนซักได้อีกด้วยนะคะซึ่งมีคุณสมบัติขจัดคราบสกปรกได้ดี โดยเฉพาะผ้าเนื้อหนาอย่างผ้าไหมค่ะ