สิ่งที่นายจ้างสนใจเป็นอันดับต้นๆ คือประวัติการทำงานที่ผ่านมาและมักเกิดคำถามที่จำเป็นคุณต้องตั้งมือรับให้ดี
สกัดดาวรุ่ง
1. ช่วงเว้นวรรคงาน
ทำไมถึงเป็นปัญหา เมื่อนายจ้างเห็นช่วงเวลาที่ไม่ประติดประต่อกันของการทำงาน เป็นธรรมดาที่จะต้องมีคำถามถึงช่วงเวลานั้น อะไรคือปัญหาที่ทำให้ว่างงานอยู่นาน หรือคุณมีการจงใจที่จะไม่กรอกการทำงานในบางที่เป็นเวลาสั้นๆหรือเปล่า
วิธีรับมือ เตรียมคำอธิบายที่สมเหตุสมผล และเป็นไปตามความเป็นจริง เช่น ใช้เวลาไปกับการท่อง-เที่ยวหาประสบการณ์ หยุดอยู่กับบ้านเพื่อดูแลคนในครอบครัวที่ป่วย และไม่ลืมที่เล่าถึงประสบกาณ์ดีๆ ที่คุณได้เจอ เพราะอาจกลับมาเป็นคะแนนบวกให้คุณก็ได้
2. ทำงานที่ไหนได้ไม่นาน
ทำไมถึงเป็นปัญหา การลาออกซ้ำแล้วซ้ำอีก เปลี่ยนงานมากกว่า 3 ที่ใน 1 ปี ไม่ว่าเหตุผลอะไรก็ดูไม่ดีทั้งนั้น นายจ้างล้วนอยากได้คนมาทำงานและอยู่กับบริษัทไปนานๆ
วิธีรับมือ ยอมรับว่าที่ผ่านมาคุณมีปัญหาเรื่องการเปลี่ยนงานบ่อย และความผิดพลาดนั้นอยู่ที่คุณไม่ไตร่ตรองให้ดีถึงเงื่อนไขการทำงาน และที่ผ่านมาคุณยังขาดวุฒิภาวะไปบ้าง ตอนนี้คุณพร้อมแล้ว และแน่วแน่ที่จะร่วมงานกับบริษัทในระยะยาว อาจยื่นข้อเสนอสัญญาระยะยาวกับนายจ้าง เมื่อคุณต้องการงานนี้จริงๆ
3. เคยถูกไล่ออกจากงาน
ทำไมถึงเป็นปัญหา ดูเป็นเรื่องร้ายแรงเหมือนกันกับการให้ออกจากงาน เพราะสังคมไทยหากไม่หนักหนาสาหัสนักจะให้เขียนใบลาออกแต่โดยดีมากกว่า ดังนั้นการไล่ออกจึงจะสะดุดความรู้สึกของนายจ้างใหม่อยู่มาก
วิธีรับมือ อธิบายถึงสิ่งที่คุณได้เรียนรู้จากสถานการณ์และสิ่งที่เคยทำพลาดไป อย่าพยายามพูดเข้าข้างตัวเอง อย่าอายที่จะขอโอกาส คุณอาจเข้าอบรมเพื่อแก้ไขจุดพกพร่องก่อนนั้น มาเป็นการยืนยันเป็นรูปธรรมว่าคุณได้พยายามปรับปรุงตัว
4. ประสบการณ์ทำงานน้อยไป
ทำไมถึงเป็นปัญหา ในตำแหน่งที่สูงขึ้นมักระบุประสบกาณ์ 2 – 3 ปีขึ้นไป แต่หากคุณคิดว่าตัวเองพร้อมแล้วสำหรับตำแหน่งนี้ก็อาจจะลองยื่นใบสมัครดู แต่นายจ้างก็ย่อมจะคาดหวังว่าจะมีส่วนใดที่จะแทนประสบการณ์ทำงานแรมปีได้
วิธีรับมือ สิ่งที่นายจ้างมองหาอย่างมากในตอนนี้คือคอนเน็คชั่นส่วนตัวของคุณ ความเข้าใจสายงานตรง และสายงานใกล้เคียง การเทคคอร์สสั้นๆ เพื่อทักษะที่จะทำให้คุณพร้อมที่จะก้าวไปสู่งานที่ความรับผิดชอบที่กว้างขึ้นจากงานของคุณที่ผ่านมา