เพื่อนๆ เคยสังเกตคนข้างๆ เราบ้างหรือไม่ว่าทำไมเวลานอนถึงกัดฟันจึงทำให้มีการศึกษามากมาย ที่พยายามจะอธิบายถึงสาเหตุของอาการนอนกัดฟัน และมีผลต่อสุขภาพ อย่างไร และมีหลักฐานยืนยันแล้วว่าสภาพของจิตใจและอารมณ์มีส่วนสัมพันธ์กับการนอนกัดฟันดังที่กล่าวข้างต้น ระดับอาการของการนอนกัดฟัน จะมีความแตกต่างกันมากในผู้ป่วยแต่ละราย โดยจะมีส่วนสัมพันธ์กับความเครียดภาวะอารมณ์ และภาวะฉุกเฉินที่มีในชีวิตประจำวัน เช่น การหย่าร้าง การตกงาน หรือช่วงการสอบคัดเลือก มีบางท่านกล่าวว่า ผู้ป่วยที่มีอาการนอนกัดฟัน นั้น แทบจะไม่มีความผิดปกติทางด้านจิตใจเลย แต่จะมีบุคลิกภาพ และอารมณ์แตกต่างจากคนปกติทั่วไป กล่าวคือจะมีบุคลิกภาพที่มีแนวโน้มที่จะเกิด หรือเพิ่มความเครียดได้ง่าย เป็นคนที่มีอารมณ์ก้าวร้าว และเป็นคนที่วิตกกังวลหรือ Hyperactive ได้ง่าย แต่มักไม่พบว่ามีความผิดปกติ ของระบบประสาทเข้ามาร่วมด้วย อาการนอนกัดฟัน อาจมีสาเหตุมาจากยาที่รับประทานก็ได้ แต่พบในเปอร์เซ็นที่ต่ำ ยาที่เคยมีรายงานว่าทำให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้ คือแอมเฟตามีนที่ใช้ร่วมกับ L-dopa , ยา Fenfluramine ซึ่งเป็น Amphetamines derive และมีรายงานว่าพบการนอนกัดฟันในผู้ป่วยที่เป็นโรค Tardive Dyskinesia ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลมาจากการใช้ยา Phenothiazine เป็นระยะเวลานานนอกจากนี้ยังมีรายงานว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ จะสามารถทำให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้
ผู้ป่วยเป็นจำนวนมากที่ไม่ทราบว่าตัวเองมีอาการนอนกัดฟัน อยู่ พบว่ามีเพียง 10% ของผู้ใหญ่และ 5%ของเด็กนอนกัดฟัน เท่านั้นที่ทราบว่าตัวเองมีอาการนอนกัดฟัน ซึ่งคนเหล่านั้นมักจะทราบว่าตัวเองนอนกัดฟันจากการได้ยินเสียงนอนกัดฟันของตัวเอง จากเพื่อนหรือคนที่นอนใกล้ๆ แจ้งให้ทราบอย่างไรก็ตามในผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันทั้งหมด จะมีเพียง 20% เท่านั้นที่จะทำให้เกิดเสียงที่สามารถได้ยิน ดังนั้นการที่จะให้การวินิจฉัยว่าตัวเองนอนกัดฟันนั้น จึงจำเป็นที่ต้องอาศัยการตรวจอย่างละเอียดโดยทันตแพทย์ โดยทันตแพทย์จะพิจารณาองค์ประกอบอีกหลายๆ อย่างอาทิเช่น ลักษณะการสึกของฟัน ลักษณะของกล้ามเนี้อ และอื่นๆ โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อขากรรไกรเมื่อตื่นนอนขึ้นมามักจะเป็นลักษณะที่พบมากในคนที่นอนกัดฟัน