ในเรื่องของฤกษ์งามยามดี หรือ ช่วงเวลาในการเริ่มต้นที่ดีในการประกอบพิธีอันเป็นมงคล ดังเช่น ฤกษ์ในพิธีมงคลสมรส ซึ่งจำเป็นที่ต้องมีท่านโหราจารย์ ที่มีความชำนาญในการหาฤกษ์ ที่เหมาะสมแก่ คู่สมรส เพราะฉะนั้น ในการประกอบพิธีมงคลสมรส จึงจำเป็นต้องหาฤกษ์ที่ดีที่สุด เนื่องด้วยจากดวงสมพงษ์ของแต่ละคนแต่ละคู่นั้นจะแตกต่างกัน ซึ่งการหาวันที่เป็นมงคลสำหรับฤกษ์มงคลสมรส จึงมีความสำคัญอย่างมาก เป็นเพราะความเชื่อที่มีเกี่ยวข้องกับเรื่องความสุข และความเจริญในการใช้ชีวิตคู่ของคนทั้งสอง และส่งผลให้ชีวิตคู่ประสบความสำเร็จ ช่วยกันประคับประคอง และสามารถปรับตัวในการใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขจนแก่เฒ่า
ฤกษ์แต่งงาน ปี 2557
ในเรื่องของฤกษ์งามยามดี หรือ ช่วงเวลาในการเริ่มต้นที่ดีในการประกอบพิธีอันเป็นมงคล ดังเช่น ฤกษ์ในพิธีมงคลสมรส ซึ่งจำเป็นที่ต้องมีท่านโหราจารย์ ที่มีความชำนาญในการหาฤกษ์ ที่เหมาะสมแก่ คู่สมรส เพราะฉะนั้น ในการประกอบพิธีมงคลสมรส จึงจำเป็นต้องหาฤกษ์ที่ดีที่สุด เนื่องด้วยจากดวงสมพงษ์ของแต่ละคนแต่ละคู่นั้นจะแตกต่างกัน ซึ่งการหาวันที่เป็นมงคลสำหรับฤกษ์มงคลสมรส จึงมีความสำคัญอย่างมาก เป็นเพราะความเชื่อที่มีเกี่ยวข้องกับเรื่องความสุข และความเจริญในการใช้ชีวิตคู่ของคนทั้งสอง และส่งผลให้ชีวิตคู่ประสบความสำเร็จ ช่วยกันประคับประคอง และสามารถปรับตัวในการใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขจนแก่เฒ่า
การให้ฤกษ์แบบของไทย จะประกอบไปด้วย
ฤกษ์พิธีหมั้น และฤกษ์พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ ซึ่งจะมีการกำหนดฤกษ์ในวันหมั้น ส่วนใหญ่จะนิยมกำหนดเวลาเป็นช่วงเวลาเช้า หรือ ก่อนเวลาเที่ยง และนอกจากนั้น ก็จะมีการหาฤกษ์ยาม อีก 3 ประเภท ได้แก่
1. ฤกษ์ขันหมากหมั้น หรือ ฤกษ์ขันหมากนิยม
2. ฤกษ์หลั่งน้ำพระพุทธมนต์ หรือ ฤกษ์รดน้ำ และดูทิศทางที่เจ้าบ่าว และเจ้าสาวควรนั่ง
3. ฤกษ์ดิถีเรียงหมอน หรือ ฤกษ์ปูที่นอน และฤกษ์ส่งตัวเจ้าสาว
โดยฤกษ์ทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมาข้างต้น ตามประเพณีโบราณนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และมักจะให้พระผู้ใหญ่ หรือ พราหมณ์โหราจารย์ เป็นผู้หาฤกษ์ยามให้ ซึ่งจะนำดวงชะตาของฝ่ายหญิง และของฝ่ายชายมาเป็นหลักในการคำนวน ฤกษ์มงคลสำหรับประกอบพิธีสมรสแบบไทย ซึ่งการหาฤกษ์ยามนี้ ถือว่าเป็นเรื่องความเชื่อที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณอดีตกาล เพราะจะดูฤกษ์ยามตั้งแต่วันที่ส่งเฒ่าแก่ไปทำการเจรจาสู่ขอ รวมถึงวันหมั้น วันแต่งงาน รวมไปถึง วันที่ส่งตัวเจ้าสาว และฤกษ์เรียงหมอน
ฤกษ์ยามของเดือนที่เหมาะสมในการแต่งงาน
โดยการแต่งงานตามแบบประเพณีไทย มักจะเลือกที่เป็นเดือนคู่ เช่น เดือน 2 เดือน 4 และเดือน 10 เดือน 6 ซึ่งถือว่าสำคัญอย่างมาก สำหรับงานแต่งงาน เพราะถือว่าเป็นการเริ่มต้นของการใช้ชีวิตคู่ แต่บางคู่ก็เลือกไปแต่งกันในเดือน 9 เนื่องจากถือเคล็ด ซึ่งหมายถึง ความก้าวหน้า เพราะว่าคำว่า “เก้า” กับ คำว่า “ก้าว” นั้นออกเสียงคล้ายกัน แต่ที่ไม่นิยม คือ เดือน 8 เนื่องจากเป็นช่วงเข้าพรรษา พระสงฆ์ไม่สะดวกในการเดินทาง และเดือนที่นิยมแต่งงานมากที่สุด คือ เดือน 6 ซึ่งตามความเชื่อของคนไทย ถือว่าเป็นต้นฤดูกาลของการเพาะปลูก ซึ่งถือว่า เป็นการเริ่มต้นชีวิตคู่ใหม่และเป็นมงคลในชีวิตคู่อีกด้วย
ฤกษ์วันแต่งงาน สำหรับวันที่ไม่นิยมแต่งงานกัน คือ
1. วันอังคาร (เป็นวันแข็ง ซึ่งเหมาะสำหรับการทำพิธีปลุกเสกเครื่องรางของขลัง)
2. วันพุธ (เป็นวันนามสุนัข คือ ถือเคล็ดเกี่ยวกับชื่อเรียก)
3. วันพฤหัสบดี (เป็นวันครู)
4. วันเสาร์ (เป็นวันแข็ง ซึ่งเหมาะสำหรับการทำพิธีปลุกเสกเครื่องรางของขลัง)
นอกจากนี้ ก็ยังมีวันที่ “ห้าม” แต่งงานกัน คือ วันที่ตรงกับ “วันอุบาทว์ และวันโลกาวินาศ” ซึ่งในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน