สำนักงานตรวจสุขภาพแห่งชาติ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ได้ศึกษาในประชาชนชาวเมืองเบอร์เกน ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายกับสุขภาพ พบว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักน้อยเกินไปมีความเสี่ยงสูงต่อการแท้งบุตร เพราะรังไข่ทำงานผิดปกติ และคนที่อดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักมักได้รับสารอาหารจำเป็นไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายขาดสมดุล การทำงานของฮอร์โมนและระบบต่างๆทำงานผิดปกติ เช่น อาจขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขาดๆหายๆ และเป็นโรคกระดูกพรุนได้ง่าย เพราะหน้าที่หนึ่งของฮอร์โมนเอสโตรเจนคือนำพาแคลเซียมไปที่กระดูก
และงานวิจัยยังพบอีกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวน้อยเกินไปทำให้สมองต้องทำงานหนัก เพราะสมองทำงานโดยอาศัยน้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงาน ถ้าอดอาหารเพื่อลดน้ำหนักจนทำให้ร่างกายได้รับกลูโคสไม่เพียงพอ สมองจึงสร้างสารโดปามีนเพื่อเพิ่มการส่งคำสั่งไปยังกล้ามเนื้อ สมองจึงต้องทำงานหนักขึ้น ถ้าไม่อยากให้สมองทำงานหนักโดยไม่จำเป็น และโรคภัยจากความผอมมาเยือนเรามีเทคนิคการเพิ่มน้ำหนักมาฝากค่ะ
เน้นกินอาหารที่เพิ่มพลังงาน เช่น แป้ง น้ำตาล ผัก ผลไม้ ให้มากกว่าเดิม แต่ควรให้หมุนเวียนชนิดกันไป และการเพิ่มน้ำหนักที่ดีควรเพิ่มไม่เกินสัปดาห์ละ 0.5-1 กิโลกรัม อย่างสม่ำเสมอ
กินอาหารให้ได้สัดส่วน ทั้งคาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน แทนที่จะเพิ่มแต่ของหวานๆมันๆอย่างที่นิยมกัน เพราะถ้าเพิ่มน้ำหนักวิธีนั้นจะได้เป็นไขมันสะสมตามหน้าขา หน้าท้อง ต้นขา ซึ่งคงไม่มีใครอภิรมย์แน่ค่ะ
เลือกอาหารชนิดที่ให้พลังงานสูงแต่จานไม่ใหญ่นัก เช่น ระหว่างสลัดผักกับไข่ดาวกับสเต็กปลา สเต็กปลาอาจจะให้พลังงานมากกว่าขณะที่กินในปริมาณที่น้อยกว่า
เพิ่มมื้อย่อยรวมเป็น 4-6 มื้อต่อวัน โดยเพิ่มมื้ออาหารว่างเข้าไป เช่น ซาลาเปาไส้ถั่วดำ 1 ลูก น้ำส้มคั้น 1 แก้ว หรือถั่วต้ม เป็นต้น
เพิ่มวิตามินและเกลือแร่ โดยเฉพาะวิตามินบีรวม จะช่วยเพิ่มความอยากอาหารและช่วยเผาผลาญอาหารในร่างกายให้เป็นพลังงาน
ที่มา Thaiza.com