1.ทำให้เลือดออกขณะแปรงฟัน เพราะบางคนอาจจะคิดว่ามีเศษอาหารติดซอกฟันทำให้พยายามแปรงฟันแรงๆ แต่หินปูนไม่สามารถใช้แปรงสีฟันเอาออกได้ จึงอาจจะเกิดการใช้แรงกดเกินไปจนเลือดออก
2. เหงือกบวม สืบเนื่องจากการแปรงฟันโดยเน้นแรงกดอาจจะทำให้เลือดออกแล้วเหงือกยังบวมอักเสบ หรือเป็นแผลซึ่งทำให้ยุ่งยากและทรมานกับการกินอาหารได้ครับ
3. ฟันเหลืองสุดๆ เนื่องจากเป็นแคลเซียมและจุลินทรีย์มาเคลือบผิวฟัน จึงเกิดการตกตะกอนเป็นสีเหลืองทำให้เสียบุคลิกภาพ
4. มีกลิ่นปาก เพราะคราบหินปูนก็มีแบททีเรียจากขี้ฟันที่ทำให้มีกลิ่นปาก
5. เหงือกร่น เพราะหินปูนหากเกาะตัวกันใหญ่มากๆมันก็จะดันลงข้างล่าง ดันเหงือกของเราให้ถอยตัวลงไป
6.ฟันโยก ฟันเห่าง ถ้าหินปุนดันเหงือกลงมากๆแล้วก็จะทำให้เหงือกยึดฟันได้น้อยเวลาเคี้ยวอาหารก็มีโอากาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่ฟันจะโยก และถ้าหินปูนใหญ่ขึ้นก็จะดันฟันข้างๆได้ทำให้ฟันห่างกัน
7. ฟันผุ เชื้อจุลินทรีย์ที่ย่อยอาหารแล้วปล่อยสารที่กรดออกมา จะกัดกร่อนผิวเคลือบฟันให้เป็นร่อง เป็นอย่างต่อเนื่องนานๆ จะทำให้ผิวฟันเป็นรู ซึ่งเรียกว่าฟันผุ
8. เหงือกอักเสบ เชื้อจุลินทรีย์บางจำพวก จะปล่อยสารพิษออกมาทำลายเยื่อเหงือก ทำให้เกิดเหงืออักเสบ
9. โรคปริทนต์ คราบหินปูนถ้าเป็นอย่างต่อเนื่องนานๆ เกิดเป็นโรคปริทนต์ได้ เพราะแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่เกาะบนหินปูน จะกำจัดได้ยากกว่าบนผิวฟัน ดังนี้ถ้าต้องการกำจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์ให้หมดต้องกำจัดหินปูนออกก่อน
กำจัดหินปูนอย่างไร
วิธีการกำจัดหินปูนออกจากฟันของเราได้มีประสิทธิภาพและได้ผลแน่นอนที่สุดก็คือ“ขูดหินปูน” โดยทันตแพทย์ เพราะหินปูนไม่สามารถใช้แปรงสีฟันแปรงออกได้ และห้ามนำไม้หรือของแข็งมาแถะหินปูนเด็ดขาดผมเคยลองมาแล้วนอกจากหินปูนไม่ออกยังทำให้เลือดไหลตามไรฟันที่หินปูนขึ้น แถมเสียวฟันอีกต่างหา
เนื่องจากการดูแลฟันของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การขูดหินปูนจึงมีระยะเวลาความถี่ที่แตกต่างกัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วควรพบทันตแพทย์อย่างน้อย 6 เดือนต่อ 1 ครั้ง เพื่อทำการขูดหินปูน แต่สำหรับบางคนที่ดูแลฟัน แปรงฟันถูกวิธี ทันตแพทย์ก็จะแนะนำเวลาที่จะต้องขูดหินปูนในนัดครั้งต่อไป
วิธีป้องกัน การเกิดหินปูน