เท้าเหม็น (Pitted Karatolysis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่น อาการสำคัญของโรคนี้ที่พบบ่อยสุดถึงร้อยละ 90 คือ เท้ามีกลิ่นเหม็น ส่วนอาการรองลงมาที่พบร้อยละ 70 คือ เวลาถอดถุงเท้าจะรู้สึกว่าถุงเท้าติดกับฝ่าเท้า ส่วนอาการคันนั้นพบได้น้อยคือ ร้อยละ 8
เชื้อราที่เท้า (Tinea Pedis) คำว่า Tinea Pedis หรือชาวบ้านรู้จักกันดีในชื่อ โรคน้ำกัดเท้าหรือฮ่องกงฟุต เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถก่อโรคที่ผิวหนังได้ โดยเฉพาะที่เท้า ซอกนิ้วเท้า และเล็บเท้า แม้บางครั้งโรคผิวหนังที่ว่าอาจไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเชื้อราอย่างเดียว แต่เพราะมีเชื้อแบคทีเรียมาร่วมด้วย
8 วิธีง่ายๆ ดูแล สุขภาพเท้า ด้วยตัวเอง
คุณหมอสุมนัสให้คำแนะนำง่ายๆ ในการดูแล สุขภาพเท้า ด้วยตัวเอง และย้ำว่าควรเริ่มปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่วันนี้ ดังนี้
1. ล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ ประมาณ 10 นาที เวลาอาบน้ำ ทุกๆ วัน ซึ่งจะทำให้ผิวหนังนุ่ม แต่อย่าขัดหรือถู หรือแช่น้ำเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ผิวหนังแห้ง
2. เช็ดเท้าให้แห้งสนิททุกครั้ง โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้าต้องให้แห้งจริงๆ
3. สำหรับผู้มีกลิ่นเท้า หลังจากล้างเท้าสะอาดและเช็ดให้แห้งแล้ว ควรจะโรยแป้งทาตัวให้ทั่วเท้าและซอกเท้า รวมถึงอย่าใส่รองเท้าคับเกินไป ควรเลือกรองเท้าที่ใส่สบายและระบายอากาศได้ ถุงเท้าควรเป็นถุงเท้าผ้าฝ้ายจะดีกว่าถุงเท้าไนลอน
4. ถ้าผิวแห้ง ทาครีมที่ไม่มีน้ำหอมฉุน เพื่อให้ความชุ่มชื้น โดยทาบางๆ ให้ทั่วทั้งหลังเท้าและฝ่าเท้า ห้ามทาครีมบริเวณซอกนิ้วเท้า เพราะอาจเกิดการหมักหมมของเชื้อราได้
5.ถ้าเล็บยาวต้องตัดเล็บเท้าอย่างถูกวิธี โดยตัดตรงตามแนวขอบเล็บเท่านั้น ไม่ตัดเล็บเซาะเข้าไปด้านข้างหรือจมูกเล็บ และไม่ควรตัดเล็บให้สั้นเกินไป
6. ใส่รองเท้าให้เหมาะกับโรค ควรใส่รองเท้าที่เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ เช่น ผู้ป่วยเบาหวานควรใส่รองเท้าที่ทำจากวัสดุที่มีลักษณะนิ่มและมีแผ่นรองรับแรงกระแทกที่ฝ่าเท้า ไม่ควรใส่รองเท้าแตะชนิดที่มีสายรัดง่ามนิ้วเท้า
7. หมั่นตรวจเท้าด้วยตนเองเป็นประจำ สังเกตสีผิว กลิ่นเท้า อุณหภูมิของเท้า และอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น ปวดเท้า มีอาการชา บวม มีเม็ดพอง หรือคัน เป็นต้น โดยตรวจให้ทั่วทั้งฝ่าเท้า ส้นเท้า ซอกนิ้วเท้า และบริเวณเล็บเท้า หากพบความผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์
8. ออกกำลังกายเท้า เพื่อบริหารข้อเท้าและกล้ามเนื้อเท้าอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เพื่อคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและ