บุหรี่ มือไหนร้ายแรงกว่ากัน
วันบุหรี่ที่ลอยโขมงฟุ้งขึ้นไปในอากาศ นอกจากเต็มไปด้วยกลิ่นเหม็นแล้ว ยังแฝงไปด้วยผลร้ายนานัปการ จากการปะปนไปในอากาศบริสุทธิ์ จนกระทั่งแตกตัวกลายเป็นอนุภาคขนาดเล็กตกค้างตามสิ่งของต่างๆ ซึ่งถ้าหากร่างกายคนเราได้สูดดมควันร้ายนี้ไป มีโอกาสเสี่ยงอย่างมากต่อการเป็นโรคที่เกิดจากผลของการสูบบุหรี่ไม่ต่างจากการสูบโดยตรง เช่น โรคมะเร็งปอด โรคถุงลม โป่งพอง เป็นต้น ผู้คนทั่วไปเหล่านี้จึงถือได้ว่า เป็นผู้สูบบุหรี่ไปโดยปริยาย เรียกว่า ผู้สูบบุหรี่มือสอง และ ผู้สูบบุหรี่มือสาม
มีรายงานด้านสุขภาพออกมาว่า ผู้สูบบุหรี่มือสอง มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง 25 -30 % เนื่องจากรับพิษจากบุหรี่ทั้งสองทาง คือ จากควันที่เกิดจากการเผาไหม้ และ ควันซึ่งเกิดจากการพ่นออกทางปากและจมูกของผู้สูบ โดยกลุ่มคนที่เสี่ยงมากที่สุดในผู้สูบบุหรี่มือสอง คือ ภรรยาและทารกในครรภ์ของผู้สูบบุหรี่มือหนึ่ง ส่วนผู้สูบบุหรี่มือสาม
มีงานวิจัยนำเสนอใน The Journal Environment International เมื่อเดือนกรกฎาคม 2014 กล่าวถึงความเสี่ยงของคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีผู้สูบบุหรี่มือหนึ่งอยู่ แม้จะมีการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้สูบตกอยู่ในสถานะผู้สูบบุหรี่มือสอง แต่อนุภาคของควันบุหรี่ที่ตกค้างตามเสื้อผ้า ตามสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ ยังคงทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายและปัญหาทางด้านสุขภาพ
ผลการสำรวจพบว่า ทุกปีมีคนเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ 48,244 คน ใน 25% ของจำนวนนี้เป็นเด็ก ซึ่งเป็นผลจากการสูบควันบุหรี่มือสอง แม้จะมีมาตรการจากองค์กรภาครัฐ ในการแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ แต่ยังคงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าใดนัก และยังมีผลร้ายจากควันบุหรี่มือสามซึ่งยังไม่ได้เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปอีกด้วย
ถึงเวลาแล้วหรือยัง ? ที่ทุกคนในสังคมไทยจะร่วมกันแก้ปัญหาการสูบให้ผู้สูบบุหรี่มือหนึ่งได้ตระหนักและเกิดจิตสำนึกขึ้นในใจ เพื่อหยุดไม่ให้ควันพิษนี้ส่งต่อจากผู้สูบบุหรี่มือหนึ่งได้อย่างถาวร
มาร่วมกันหยุดการส่งต่ออันตรายร้ายหลายมือกันเถอะ !
ขอบคุณภาพจาก infographic.in.th