ความสงสัยของมนุษย์นั้นไม่มีที่สิ้นสุด แม้ขอบเขตของจักรวาลก็ยังไม่สามารถขวางกั้นได้
มิพักอะไรกับการแสวงหาคำตอบต่อสิ่งใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งล่าสุดนักดาราศาสตร์ได้เปิดความรู้ใหม่เกี่ยวกับเรื่อง "กลิ่น" ของดาวหางที่มนุษย์เราเห็นโคจรพาดผ่านท้องฟ้ายามค่ำคืนทิ้งสายของแก๊สเป็นทางยาว ทำให้เราเรียกดาวชนิดนี้ว่า "ดาวหาง" นั่นเอง
แก๊สที่ดาวหางปล่อยออกมานั้นเกิดจากการเสียดสีกับชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ หรือการสัมผัสกับความร้อนของดวงอาทิตย์ ทำให้แก๊สแข็งที่เป็นส่วนประกอบของดาวหางละลายกระจายออกมาเป็นทางตามแนวโคจรของมัน
ปล่อยก๊าซไฮโดรเจน ซัลไฟด์ หรือแก๊สไข่เน่า แอมโมเนีย และสารประกอบในกลุ่มแอลกอฮอล์อย่างฟอร์มัลดีไฮด์ และเมทานอล ที่มีกลิ่นเหม็นรุนแรงและมีลักษณะเฉพาะตัวออกมาพร้อมกับปล่อยน้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่อวกาศตลอดเวลา
ส่งยานสำรวจโรเซตต้า ที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับก๊าซรุ่นโรซินา ขึ้นไปตามติดดาวหางดวงนี้ และสำรวจดาวหาง 67P จากระยะห่าง 6-10 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าใกล้มากเมื่อเทียบกับระยะทางอันไกลโพ้นของจักรวาล โดยยานลำนี้เกาะติดดาวหาง 67P อย่างใกล้ชิดเพื่อค้นหาความลับของดาวหางดวงนี้ โดยมีจุดประสงค์หลักคือการไขปริศนาของจุดกำเนิดจักรวาล
เพียงแต่การผสมผสานระหว่างกันในช่วงกำเนิดจักรวาลนั้นทำให้เกิดก๊าซหลากหลายชนิดออกมา และผลการสำรวจครั้งนี้ยังบอกด้วยว่าก๊าซที่ปล่อยออกมาจากเนบิวลา ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง จากการทำความเข้าใจเกี่ยวกับดาวหางที่มีจุดกำเนิดเมื่อหลายพันล้านปีที่แล้วดวงนี้นั่นเอง
![ดาวหาง‘เหม็น’เหมือนไข่เน่า](img9/187016.jpg)