1 เมษายน...วันเลิกทาส
พอเอ่ยถึงวันที่ 1 เมษายน แน่นอนเลยว่าหลายๆคนอาจจะนึกว่าเป็น "วันโกหก" หรือ April Fool และมีกี่คนรู้ว่าวันนี้คือ "วันเลิกทาส"
การเลิกทาส และ การเลิกไพร่ เป็นพระราชกรณียกิจสำคัญยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นการยกเลิกระบบที่คนชั้นสูงตั้งขึ้น เพื่อกดขี่ราษฎรให้ทำงานรับใช้หรือส่งทรัพย์สินให้โดยไม่มีกำหนดว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด
มีเรื่องเล่าวว่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ประมาณว่าไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมืองของประเทศ เพราะพ่อแม่เป็นทาส ดังนั้น ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสต่อกันเรื่อยไป ซึ่งวิธีแก้ไขการเป็นทาง มีวิธีเดียวคือต้องหาเงินมาไถ่ตัวเอง มิฉะนั้นแล้วก็จะต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต เพราะตามกฎหมายในสมัยนั้นถือว่า"ทาส"ยังมีค่าตัวอยู่
กระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงประกาศ "พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย" เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417แก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ โดยให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ ๘ ขวบ จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุได้ 20 ปี
แปลว่าเมื่ออายุครบ 21 ทาสผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ ซึ่งตามพรบ.นั้น จะมีผลกับทาสที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 รวมทั้งห้ามซื้อขายบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20 ปีมาเป็นทาสอีก
จนกระทั่งในปี 2448 ก็ทรงออก "พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124" ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไทเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2448 ส่วนทาสประเภทอื่นที่ไม่ใช่ทาสในเรือนเบี้ยก็ให้ลดค่าตัวเดือนละ 4 บาท นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2448 และยังกำหนดป้องกันคนที่เป็นไทแล้วกลับไปเป็นทาสอีก
"ทาส" นี่คนละแบบกับ "ไพร่" นะ
เพราะ "ไพร่" หมายถึง "พวกรับราชการโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน" รวมทั้งต้องออกค่าใช้จ่ายทุกอย่างในระหว่างการรับราชการนั้นเองอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ฯลฯ โดย "ไพร่" คือราษฎรอายุตั้งแต่ 15 - 70 ปี ต้องทำงานรับใช้หรือส่งส่วยให้แก่ชนชั้นปกครอง โดยแบ่งเป็นไพร่หลวง ไพร่สมและไพร่ส่วย ไพร่มีกำหนดรับราชการเดือนเว้นเดือน ในสมัยอยุธยาคือเป็นไพร่ปีละ 6 เดือน ลดลงมาเหลือปีละ 4 เดือนในสมัยรัชกาลที่ 1 และเหลือ 3 เดือนในรัชกาลที่ 2 และหากไม่อยากรับราชการ (ในฐานะไพร่) ก็ต้องจ่าย "ค่าราชการ" เดือนละ 6 บาท
สำหรับการเลิกไพร่นั้น เกิดขึ้นในปีเดียวกัน(พ.ศ.2448) เมื่อทรงออก "พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร รัตนโกสิทร์ศก 124" เพราะเป็นการ "เลิกขบไพร่" นั่นเอง และในสมัยนั้น ถือว่าการยกเลิกขนบไพร่สำคัญกว่าการยกเลิกขนบทาส เพราะเป็นการทำให้ราษฎรได้รับการส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจ มีเวลาทำมาหากินได้เต็มที่ และไม่มีใครรังเกียจเหมือนแต่ก่อน
ทุกวันนี้ คำว่า "ทาส" หรือ "ไพร่" จึงเป็นเพียง "วาทะ" ที่พูดเพื่อการเมืองกันเท่านั้น..ตามกำหมายไม่มีจริง
ที่มา :: oknation
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!