หาดูยาก!!..ภาพประวัติศาสตร์ ชาวบาหลี


ประวัติศาสตร์บาหลี

เชื่อกันว่าคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบาหลีน่าจะอพยพมาจากประเทศจีนเมื่อสมัย 4,500 ปี แต่ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดๆหลงเหลืออยู่ ส่วนหลักฐานเก่าแก่ที่สุดยังปรากฏ เช่น ระบบของการทำเกษตรกรรม และการผลิตข้าว เช่นเดียวกับที่ยังพบเห็นได้ในปัจจุบันมาจากยุคสำริด คือประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล และมีการพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นโบราณวัตถุทางศาสนาฮินดูจากศตวรรษที่ 3 และ 4 แต่ภายหลังปรากฏว่าศาสนาพุทธได้กลายเป็นศาสนาประจำของชาวบาหลีในยุคแรก เพราะคำว่าบาหลีถูกพบในบันทึกของนักปราชญ์ชาวจีนเมื่อปีคริสตศักราชที่670ว่าขณะเดินทางไปยังอินเดีย ได้แวะยังดินแดนชาวพุทธแห่งหนึ่งซึ่งก็คือบาหลีนั้นเอง
  • คริสต์ศตวรรษที่ 11 บาหลีจึงได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของฮินดูและชวา เจ้าชายแห่งบาหลีในขณะนั้นได้เผยแผ่อิทธิพลไปครอบครองทางฝั่งตะวันออกของชวาและสถาปนาน้องชายให้เป็นผู้ปกครองบาหลี จึงได้รับเอาศาสนาฮินดูจากชวาจึงเข้ามายังเกาะบาหลี

  • บาหลีเองยังคงเป็นเอกราช จนกระทั่งปีค.ศ. 1284 กษัตริย์เกอร์ตาเนการาที่ปกครองชาวตะวันออกได้เข้าครอบครองบาหลี ถึงปีค.ศ. 1292 จึงได้เป็นอิสระอีกครั้ง เนื่องจากกษัตริย์เกอร์ตาเนการาถูกลอบปลงพระชนม์
  • ในปี ค.ศ. 1343 บาหลีก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของชวาอีกครั้ง ในสมัยของมัชปาหิต (Majapahit) ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่จนเมื่อมีการแผ่ขยายของศาสนาอิสลามจากเกาะสุมาตราและชวาในช่วงคริศต์ศตวรรษที่ 16 ทำให้อาณาจักรมัชปาหิตล่มสลายลง ราชนิกูลและศิลปินแขนงต่าง ๆ รวมทั้งนักบวชพากันลี้ภัยเข้ามาอยู่ในบาหลี อันเป็นผลให้ศิลปะของชวาดั้งเดิมเจริญรุ่งเรืองต่อมา จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของประวัติศาสตร์วัฒนธรมบาหลี
  • บาหลีในยุครุ่งเรืองแบ่งการปกครองออกเป็นอาณาจักรต่าง ๆ แต่อาณาจักรมีเจ้าผู้ครองเมืองหรือรายาเป็นประมุข และแต่ละอาณาจักรก็แย่งชิงอำนาจกันบ้าง ปรองดองกันบ้าง
  • ปีค.ศ.1597 ชาวยุโรชาติแรกที่เดินเรือผ่านมาขึ้นบกยังบาหลีคือชาวดัตช์ แต่ชาวดัตช์ก็ไม่ได้ให้ความสนใจที่จะครอบครองบาหลีทั้งที่ได้ดินแดนอินโดนีเซียส่วนใหญ่ไว้เป็นอาณานิคมแล้ว ต่อมาปี ศ.ศ. 1846 ดัตช์จึงเริ่มส่งกองทหารสู่บาหลีและเข้ายึดครองอาณาจักรต่างๆทีละอาณาจักร โดยใช้กองกำลังทหารเข้าบีบบังคับให้รายายอมจำนน ซึ่งรายาและราชวงศ์ส่วนใหญ่ของบาหลีเลือกวิธีรักษาศักดิ์ศรี โดยไม่ยอมตกเป็นค่าเมืองขึ้นด้วยวิธีการฆ่าตัวตายหมู่(Puputan) ทั้งราชสำนัก ในปีค.ศ.1908 จนปีค.ศ.1911 บาหลีทั้งหมดก็ตกเป็นของดัตช์โดยสิ้นเชิง
• ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ดัตช์ ได้ถูกญี่ปุ่นซึ่งขณะนั้นสามารถยึดครองอินโดนีเซียได้ในระหว่างปีค.ศ. 1942-1945 อินโดนีเซียได้ประกาศให้เป็นประเทศอาณาณิคมและมีประธานาธิบดีคนแรกคือซูการ์โน แต่ก็ต้องใช้เวลายาวนานกว่า4ปีเพื่อให้ได้เอกราชอย่างแท้จริง เพราะดัตช์ไม่ยอมวางมือ กระทั่งรัฐบาลดัตช์ทนต่อการกดดันจากนานาชาติไม่ไหวจึงล้มเลิกความพยายามในปีค.ศ. 1949 ทำให้อินโดนีเซียได้เป็นประเทศเอกราชอย่างเต็มภาคภูมิ โดยมีบาหลีเป็นส่วนหนึ่งของประเทศด้วยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

หาดูยาก!!..ภาพประวัติศาสตร์ ชาวบาหลี



ภาพ 1930 พระสนมของราชาแห่งบาหลี

หาดูยาก!!..ภาพประวัติศาสตร์ ชาวบาหลี


ภาพ 1920 สตรี ชาวบาหลี

หาดูยาก!!..ภาพประวัติศาสตร์ ชาวบาหลี



Balinese Royal Judge costume 1930's

หาดูยาก!!..ภาพประวัติศาสตร์ ชาวบาหลี


Ratu Buleleng, the wife of Gusti Ngurah Ketut Djelantik, lord of Buleleng, Bali. 1870

หาดูยาก!!..ภาพประวัติศาสตร์ ชาวบาหลี


หาดูยาก!!..ภาพประวัติศาสตร์ ชาวบาหลี


หาดูยาก!!..ภาพประวัติศาสตร์ ชาวบาหลี


หาดูยาก!!..ภาพประวัติศาสตร์ ชาวบาหลี


หาดูยาก!!..ภาพประวัติศาสตร์ ชาวบาหลี

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์