การสร้างบุญทำกุศลที่ดีที่สุดก็คือการช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองนี่ล่ะค่ะ ซึ่งวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่าย ๆ ก็คือการร่วมบริจาคเลือด ดังที่เราได้ยินคำเชิญชวนจากสภากาชาดไทยอยู่บ่อยครั้ง แต่ต้องยอมรับว่าคนส่วนหนึ่งไม่กล้าบริจาคเลือด เพราะกลัวเข็ม กลัวจะเกิดผลเสียกับร่างกาย แต่ถ้าได้อ่านเรื่องที่เว็บไซต์ magforwomen นำมาฝากกัน จะรู้เลยว่าการเสียเลือดครั้งนี้ทำให้มีอะไรดี ๆ เกิดขึ้นกับสุขภาพมากกว่าที่คิด
ไม่น่าเชื่อ!! บริจาคเลือด 1 ครั้ง เผาผลาญได้ตั้ง 650 แคลอรี
โดยทั่วไปแล้วสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นก็มาจากเลือดที่มีความหนืดผิดปกติ โดยมีผลมาจากการที่ในเลือดมีระดับธาตุเหล็กสูงจนเกินไป จนไปเกิดการออกซิเดชั่นและทำลายหลอดเลือดต่าง ๆ ในร่างกาย และทำให้เกิดอาการหัวใจวายในที่สุด การบริจาคเลือดจะช่วยลดความเสี่ยงหัวใจวายและโรคหลอดเลือดหัวใจได้ เพราะการบริจาคเลือดจะสามารถช่วยลดระดับธาตุเหล็กในร่างกาย ให้อยู่ในระดับที่ปกติได้
การบริจาคเลือดเพียงครั้งเดียวสามารถเผาผลาญแคลอรีได้มากถึง 650 แคลอรี ซึ่งเป็นผลดีกับการควบคุมน้ำหนักเลยเชียวล่ะ เรื่องนี้ @Drcarebear คุณหมอคนดังแห่งโลกไซเบอร์ก็เคยบอกไว้ด้วยนะ แต่ก็อย่าคิดจะบริจาคเลือดเพื่อหวังลดน้ำหนักเชียว เพราะการบริจาคเลือดแต่ละครั้งต้องห่างกัน 2 - 3 เดือน เป็นอย่างต่ำค่ะ แถมถ้าสุขภาพไม่แข็งแรงก็ไม่สามารถบริจาคเลือดได้อีกด้วย
ปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายที่สูงเกินไปนอกจากจะส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดหัวใจแล้ว ก็ยังทำให้เกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วย เพราะระดับธาตุเหล็กที่สูงในร่างกายจะทำให้สารอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เซลล์ในร่างกายแปรสภาพกลายเป็นเซลล์มะเร็งนั่นเอง การบริจาคเลือดจะช่วยลดปริมาณธาตุเหล็กในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติ และทำให้ความเสี่ยงลดลง
1. ต้องมีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
2. ต้องมีอายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์ (ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรกต้องอายุไม่เกิน 55 ปี)
3. ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อยู่ระหว่างไม่สบาย หรือกำลังรับประทานยาใด ๆ
4. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด
5. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
1. ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในเวลาปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่จะมาบริจาคโลหิต
2. ควรมีสุขภาพสมบูรณ์ทุกประการ ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาแก้อักเสบใด ๆ
3. รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ อาหารที่ประกอบด้วยกะทิ แกงต่าง ๆ ของทอด ของหวาน ฯลฯ เนื่องจากจะทำให้สีพลาสมาผิดปกติ เป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้
4. ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต
5. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคโลหิต 24 ชั่วโมง
6. งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
7. ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว