สำหรับ อาการสะอึก นั้น จะเกิดขึ้นเป็นช่วงสั้นๆ และหายไปได้เอง ซึ่งพบได้บ่อย 2-3 นาที ... ผมเอง สะอึกเพราะ ดื่มน้ำเร็วเกินไป แล้วสำลัก เลย สะอึก ครับ บางครั้ง กินข้าวอยู่ดี ๆ กลืนผิดจังหวะ ก็เลย สะอึก ครับ มันเป็นแบบนี้ แล้ว คุณผู้อ่านล่ะ การสะอึก จากอะไรบ้างครับ หากคุณสะอึกบ่อย แล้ว ไม่หายสักที วันนี้ เราจะมาดู วิธีแก้ อาการ สะอึก ด้วยวิธีง่าย ๆ กันครับ
สาเหตุการ "สะอึก"
รับประทานอาหารมากเกิน เร็วเกินไป
บางคนอาจจะมีความตึงเครียดมากไป
บางคนอาจเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์ในกระเพาะอาหาร
สูบบุหรี่มากเกินไป
ตลอดจนการบริโภคอาหารที่ทำให้มีก๊าซมากก็อาจเป็นสาเหตุของการสะอึกได้
นอกจากนี้ ยังเกิดจาก การที่มีอะไรไปรบกวนประสาทที่ควบคุมการทำงานของกะบังลม ลมในกระเพาะอาหารขยายตัวไปกระตุ้นปลายประสาทที่มาเลี้ยงกะบังลม หรืออวัยวะใกล้กะบังลมเป็นโรคบางอย่าง เช่น เกิดเป็นเยื่อหุ้มปอดอักเสบ มูลเหตุเหล่านี้ทำให้ กะบังลมหดตัวอย่างรุนแรงทันทีทันใด การบีบรัดตัวของกะบังลมทำให้แผ่นเหนือกล่องเสียงที่คอหอยซึ่งปกติคอยกั้นไม่ ให้อาหารเข้าไปในหลอดลมปิดลง เมื่อกะบังลมหดอย่างรุนแรงก็จะดึงอากาศเข้าสู่ปอดผ่านคอหอย อากาศจึงกระทบกับแผ่นปิด แล้วทำให้สายเสียงสั่นสะเทือน จึงเกิดเสียงสะอึก อย่างที่ได้ยินเวลาสะอึก
เทคนิค การแก้สะอึก
1. ใช้นิ้วโป้ง และนิ้วชี้จับลิ้นเอาไว้แล้วดึงออกมาข้างหน้าแรงๆ เพื่อช่วยเปิดหลอดลมที่ปิดอยู่ วิธีกระตุ้นผิวด้านหลังของลำคอ แถวๆ บริเวณที่เปิดปิดหลอดลม อาจใช้ด้ามช้อนเขี่ยที่ปิดเปิดหลอดลม2. กลั้นหายใจเอาไว้โดยการนับ 1-10 แล้วหายใจออก จากนั้นดื่มน้ำตามทันที หรือหายใจลึกๆ กลั้นหายใจ หายใจในถุงกระดาษ 3-5 นาที
3. กลั้วน้ำในลำคอ จิบน้ำเย็นจัด ดื่มน้ำเย็นจัดช้าๆ โดยดื่มตลอดเวลา และกลืนติดๆ กัน ไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการสะอึกหาย หรือจนกลั้นหายใจไม่ได้ ดื่มน้ำจากขอบแก้วที่อยู่ด้านนอกหรือด้านไกลจากริมฝีปาก
4. เขี่ยภายในรูจมูกให้จาม
5. กลืนน้ำตาลทราย 1-2 ช้อนโต๊ะ โดยไม่ต้องใช้น้ำ หรือ กลืนก้อนข้าว ก้อนขนมปัง ก้อนน้ำแข็งเล็กๆ
6. ทำให้เกิดอารมณ์รุนแรง เช่น โกรธ ตื่นเต้น หรือกลัว
7. จิบน้ำส้มสายชูที่เปรี้ยวจัด หรือดมสารที่มีกลิ่นฉุน เช่น แอมโมเนีย
8. ถ้าเป็นเด็กอ่อนควรอุ้มพาดบ่าใช้มือลูบหลังเบาๆ ให้เรอ