ไวรัสเมอร์ส คือ อะไร?
MERS ย่อมาจาก Middle East Respiratory Syndrome หรือ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง
“ไวรัสเมอร์ส” เป็นไวรัสประเภทโคโรนาไวรัส เกี่ยวกับการติดเชื้อ โดยโคโรนาไวรัสนี้เป็นสายพันธ์ไวรัสตระกูลใหญ่ อาทิ ไข้หวัด และโรคซาร์ หรือพวกโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แต่ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ไวรัสเมอร์สนี้ไม่ใช่โรคซาร์
ทั้งนี้ เชื้อไวรัสเมอร์สเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2012 ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยมีประชาชนเสียชีวิตจากไวรัสชนิดนี้มากกว่า 100 ราย นอกจากนั้น ยังมีแพร่กระจายไปประเทศอื่นอีก ได้แก่ จอร์แดน, การ์ต้า, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ตูนีเซีย, อียิปต์, อังกฤษ, สหรัฐฯ และล่าสุด เกาหลีใต้
“ไวรัสเมอร์ส” แพร่กระจายอย่างไร?
ไวรัสเมอร์สนั้นจะแพร่จากคนสู่คนเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ส่วนใหญ่จะติดเชื้อจากละอองเสมหะเมื่อมีอาการไอหรือจาม
ด้าน ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ไวรัสเมอร์ส จะไม่มีการแพร่เชื้อหรือติดต่อกันผ่านทางการสัมผัส โดยไวรัสเมอร์สจะแพร่เข้าสู่คนที่มีร่างกายอ่อนแอ หากเราเดินทางออกไปข้างนอกตามสถานที่ต่างๆ แล้วจับนู่นแตะนี่ สิ่งสำคัญเพื่อป้องกันการติดเชื้อเบื้องต้น คือ ทำความสะอาดร่างกาย และล้างมือเป็นประจำ
ส่วน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพในประเทศอังกฤษ ระบุว่า ความเสี่ยงในการแพร่กระจายของไวรัสเมอร์สสู่ประชาชนปกติทั่วไปมีต่ำมาก โดยหลายประเทศหวั่นว่า เชื้อไวรัสเมอร์สจะแพร่กระจายออกสู่วงกว้าง แต่มันก็ไม่ได้แพร่กันง่ายขนาดนั้น ซึ่งไวรัสเมอร์สยังไม่มีหลักฐานและความเสี่ยงว่า จะเป็นโรคระบาด
หากติดเชื้อ “ไวรัสเมอร์ส” จะมีอาการอย่างไร?
เมื่อเกิดการติดเชื้อไวรัสเมอร์ส จะมีอาการไอ มีไข้ และหายใจลำบาก ดูเผินๆ เหมือนเป็นโรคไข้หวัดปกติ แต่เมื่อเป็นหนักเข้าก็อาจจะมีผลต่อระบบทางเดินอาหารด้วย อาทิ ท้องเสีย, มวนท้อง และคลื่นไส้อาเจียน
เราจะป้องกันมันอย่างไร?
1.ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาด
2.ใช้ทิชชู่ปิดบริเวณจมูกและปาก เมื่อคุณมีอาการไอหรือจาม จากนั้นนำทิ้งถังขยะ
3.หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา จมูก และปาก หากยังไม่ได้ล้างมือ
4.หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์ อาทิ จูบ หรือการมีสัมพันธ์ร่วมกัน กับคนที่มีอาการป่วย
5.ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณที่ต้องมีการสัมผัสบ่อยๆ อาทิ ประตู หรือ โทรศัพท์
อย่างไรก็ตาม ประเทศเกาหลีใต้มียอดผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สแล้ว 18 คน ขณะที่ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ตั้งแต่วันที่ 24-30 พฤษภาคม 2558 พบผู้ติดเชื้อแล้ว 11 คน โดยปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือวิธีการรักษาใดสำหรับโรคดังกล่าว
Referrence Source : BBC