มาดูค่าโดยสาร “รถไฟฟ้า-ใต้ดินไทย” ถูก-แพงแค่ไหนเทียบกับประเทศอื่น
เว็บไซต์ whereisthailand.info นำเสนอบทความ เปรียบเทียบค่ารถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินของไทยกับประเทศอื่นๆ โดยแปรตามอัตราแลกเปลี่ยน และค่าครองชีพ ซึ่งผลปรากฎว่า อัตราค่าโดยสารไทยไม่ได้ถูกอย่างที่คิด ในปัจจุบัน รถไฟฟ้าจัดเป็นบริการขนส่งสาธารณะที่สำคัญสำหรับคนกรุงเทพ อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าจึงเป็นประเด็นที่หลายคนสนใจว่ามันมากหรือน้อย ถูกหรือแพงแค่ไหน อย่างไร ในทางปฏิบัติ การพิจารณาเปรียบเทียบค่าโดยสารรถไฟฟ้านั้นทำไม่ได้ง่ายนักด้วยหลายสาเหตุ เพราะกิจการรถไฟฟ้าในเมืองใหญ่ๆทั่วโลกมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ทั้งในเชิงเทคนิคและต้นทุนการให้บริการ
เช่น ชนิดของรถไฟที่ใช้ ความย=าวของราง ระยะห่างระหว่างสถานี หรือปริมาณการใช้บริการของประชาชนในเมืองนั้นๆ (ยิ่งคนใช้เยอะ ราคาต่อหน่วยก็ควรจะถูกกว่า) หรือกระทั่งความแตกต่างด้านการคิดราคาค่าโดยสาร เช่น ในบางเมืองคิดค่าโดยสารตามโซน (ลอนดอน) บางเมืองคิดแบบเหมาจ่ายราคาเดียวแต่จำกัดเวลาการใช้งาน (นิวยอร์ก) ขณะที่ประเทศไทยคิดราคาตามจำนวนสถานี
อย่างไรก็ตาม เราได้ลองเลือกราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าในบางเมืองขึ้นมาเปรียบเทียบให้เห็น โดยใช้หลักการพิจารณาดังนี้
1. คิดราคาตามสถานีแบบเมืองไทย
2. เลือกเส้นทางที่มีความยาวใกล้เคียงกัน โดยความยาว ดังนี้
[1] รถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท คือ 22.25 กิโลเมตร ส่วนความยาว
[2] รถไฟใต้ดิน คือ 20 กิโลเมตร
3. พิจารณาเฉพาะตั๋วโดยสารแบบเที่ยวเดียว ราคาเต็ม ไม่นับตั๋วโปรโมชั่น ด้วยเงื่อนไขข้างต้น เราจะได้ราคารถไฟฟ้าจาก 4 ประเทศมาพิจารณาเปรียบเทียบกัน คือ ค่าโดยสาร ของ
[3] รถไฟสาย Tsuen Wan ของฮ่องกง
[4] สาย North East ของสิงคโปร์
[5] สาย 5 ในกรุงเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
[6] Tokyo Metro Fukutoshin Line ของญี่ปุ่น
ตารางเปรียบเทียบค่าโดยสารตามค่าเงินของแต่ละประเทศ
และหากใช้อัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบัน (เทียบเป็นเงินบาท) จะได้ตัวเลขดังนี้
ซึ่งโดยหลักแล้วการเปรียบเทียบราคาสินค้า/บริการระหว่างประเทศ จำเป็นต้องคำนึงถึง "ค่าครองชีพ" ที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้นจึงต้องใช้หลัก Purchasing Power Parity (PPP) ทำการแปลงค่าโดยสารให้ "เสมือนเป็นเงินดอลล่าร์" ทั้งหมด โดยเมื่อใช้ตัวเลข PPP conversion factor ของปี 2011 จากธนาคารโลก จะได้อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าออกมาเป็นหน่วย US Dollar (PPP-adjusted) ดังที่เห็น (ตารางข้างล่างนี้)
ขอบคุณข้อมูล กราฟ ตารางเปรียบเทียบ จากเว็บไซต์ whereisthailand.info
จะเห็นว่าอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า เมื่อคิดแบบเทียบ "ค่าครองชีพ" (PPP-adjusted) ของเซี่ยงไฮ้นั้นถูกมาก ฮ่องกงถูกกว่ากรุงเทพในทุกกรณี ขณะที่สิงคโปร์จะแพงกว่าไทยเมื่อเดินทางระยะสั้นๆ แต่ไทยจะแพงกว่าเมื่อเดินทางระยะไกลขึ้น เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่จะแพงกว่าทั้ง BTS และ MRT เมื่อเดินทางระยะสั้นๆ
แต่เมื่อเดินทางระยะไกลขึ้นราคากลับถูกกว่าโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ BTS
terrabkk.com
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!