เผยแพร่สู่สาธารณะ ปรากฎว่าในเครื่องสังฆทานชุดดังกล่าวกลับมีเพียงสิ่งของที่ใช้ไม่ได้ อาทิ เทียนไขขนาดเล็ก 1 เล่ม ธูปเพียง 3 ก้าน ผ้าไตรที่ยาวเพียงคืบ แปรงสีฟันที่เล็ก และสภาพไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งสิ่งของเหล่านี้ถูกห่อมาในบรรจุภัณฑ์ปกติ แต่สิ่งของภายในล้วนเป็นเป็นสิ่งที่พระสงฆ์ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์ วิจารณ์อย่างมาก เนื่องจากบางคนมองว่าการที่พระสงฆ์ไปแกะสังฆทานญาติโยมที่ตั้งใจนำไปถวายเป็นสิ่งไม่ควร บ้างก็ตำหนิผู้ที่มอบสังฆทานชุดดังกล่าวให้ว่าแทนที่จะได้บุญ กลับได้บาป
จากเหตุการณ์ข้างต้นนายกฤษศพงษ์ ศิริ อธิบดีกรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมจัดทำแผ่นพับเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำบุญสุขใจ ใส่ใจสังฆทาน ฉบับประชาชน เพื่อแจกจ่ายพุทธศาสนิกชนที่สนใจ ซึ่งจากการประชุมพบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า ประชาชนมักไม่มีเวลาเตรียมของถวายสังฆทานเอง และบางครั้งของที่ได้มาขาดคุณภาพ ขัดต่อพระธรรมวินัย ไม่เป็นประโยชน์ต่อสงฆ์หรือส่งผลกระทบต่อสุขภาพพระสงฆ์ โดยข้อกำหนดของเครื่องสังฆทานจะต้องประกอบด้วย
1.เจ้าของร้านต้องคำนึงถึงวันหมดอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ถ้าเป็นอาหารต้องมี เครื่องหมาย อย. ภาชนะบรรจุไม่มีรอยบุบ บิดเบี้ยว แตกรั่ว
2.แยกประเภทสังฆทานของกินของใช้ออกจากกัน
3.หากพบว่าการจำหน่ายสังฆทานด้อยคุณภาพ หรือน้อยกว่าความเป็นจริง ให้แจ้งมาที่ สายด่วน อย.1556
4.หากพบผู้จำหน่ายไม่ระบุรายละเอียดสินค้าให้แจ้งมาที่สายด่วน สคบ.1166
สำหรับสิ่งของที่จะเป็นประโยชน์ต่อพระสงฆ์และควรจะอยู่ในเครื่องสังฆทาน ถูกจัดอันดับไว้ 10 อันดับ ประกอบด้วย
1.เครื่องเขียน สมุดปากกาดินสอ เพื่อใช้เรียนพระปริยัติธรรม และจดกำหนดนัดหมายต่างๆ
2.ใบมีดโกน เนื่องจากพระสงฆ์ต้องโกนผมทุกวันโกน
3.ผ้าไตรจีวร ที่มีคุณภาพและเหมาะสม
4.หนังสือ ธรรมมะ สารคดี นิตยสาร หรือหนังสือความรู้อื่นๆ เนื่องจากพระสงฆ์มีหน้าที่เผยแผ่ศาสนา จึงต้องมีความรู้ที่แตกฉาน และรู้ทันข่าวสารบ้านเมือง
5.รองเท้า เพราะต้องเดินทำกิจนิมนต์ต่างๆ และยังใช้ในการทำกิจวัตรของสงฆ์
6.ยาสามัญประจำบ้าน
7.ผ้าขนหนู ไว้สำหรับทำความสะอาดและเช็ดร่างกาย
8.คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้สืบค้นข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเผยแผ่ศาสนา
9.อุปกรณ์ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรค ไว้สำหรับทำความสะอาดกุฏิ ศาลา และอุโบสถ
10.แชมพูที่สูตรดูแลปกป้องหนังศีรษะ เพราะพระสงฆ์ไม่มีผมคลุมศรีษะ จึงมักจะแห้งและเกิดโรคผิวหนังอยู่เสมอ