มหันตภัยจากโต๊ะทำงาน
ในกลุ่มคนที่นั่งทำงานนานๆ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศ พนักงานธนาคาร คุณครูอาจารย์ ไปจนถึงข้าราชการระดับสูง สามารถพบเจอกับอาการเหล่านี้ได้ ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักมหันตภัยจากโต๊ะทำงานว่ามีอะไรกันบ้าง
Computer Syndromeหรือ Office Syndrome
มีสาเหตุมาจากการที่กระดูกคอเคลื่อนที่หรืองอกดทับรากประสาท หินปูนที่เกาะตามกระดูกคอ หรือกระดูกคอที่เสื่อมทรุดลงมากดทับไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวดหรือมึนศีรษะ แขนชา ปวดเมื่อย อ่อนแรงกระดูกสันหลังย่นหรือยุบตัวลงไป (VCF)
ตามสรีระของกระดูกคอมีโพรงให้เส้นประสาทและหลอดเลือดแดงรอดผ่าน เมื่อกระดูกคอและหมอนรองกระดูกเสื่อมลงจะทำให้โพรงนี้แคบลง หลอดเลือดแดงก็จะมีภาวะเกร็งหรือถูกกดทับ เลือดจึงไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอทำให้เกิดอาการปวดหรือเวียนศีรษะ ปวดตุบๆ ที่ท้ายทอย สายตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อนคลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อวูบล้มลงอย่างกะทันหัน แต่ไม่หมดสติ สามารถลุกขึ้นได้เองอย่างรวดเร็ว เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แขนขาอ่อนแรง หยิบของแล้วร่วง เวลาเงยหน้าหรือหันคออย่างกะทันหันจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง ฯลฯโรคปวดเรื้อรังและปวดศีรษะ
อาจมีสาเหตุมาจากกระดูกคอหรือหมอนรองกระดูกคอเคลื่อน และกดทับเส้นประสาทซิมพาเทติก ก็จะเกิดอาการปวดศีรษะ ไมเกรน รู้สึกศีรษะหนักๆ ปวดท้ายทอย สายตาพร่าปวดแน่นเบ้าตา ตาแห้งเห็นแสงวิบวับ ใจสั่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ แน่นหน้าอกความดันโลหิตสูงขึ้น ฯลฯโรคเอ็นอักเสบ (Tendinitis)
โรคเอ็นอักเสบ คือ ภยันตรายต่อเส้นเอ็น การกระทบกระแทก หรือการใช้งานบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการทำงานเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุ อาจพบว่าเกิดขึ้นในโรคข้ออักเสบทั่วร่างกาย โรคเอ็นอักเสบที่รู้จักกันดีมีชื่อเรียกเฉพาะ ได้แก่ tennis elbow, golfer’s elbow, pitcher’s shoulder, swimmer’s shoulder และ jumper’s knee เป็นต้น ผู้ป่วยมักจะมีอาการเจ็บปวดบริเวณเส้นเอ็นที่เกิดการอักเสบ ความรุนแรงแตกต่างกันไป อาจปวดเพียงเล็กน้อย หรือปวดมากจนทนไม่ได้ ในรายที่อาการรุนแรงเส้นเอ็นที่อักเสบเกิดฉีกขาดจะมีอาการที่รุนแรงมากที่สุด
การรักษาโรคกระดูกคอด้วยยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาสเตียรอยด์อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากเป็นเพียงการระงับอาการปวดและอักเสบไว้ชั่วคราวเท่านั้น และมิได้หยุดยั้งการลุกลามโรคที่สำคัญคือพิษของยาจะก่อให้เกิดการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารไม่ย่อยและเลือดออกในกระเพาะอาหาร พร้อมทั้งส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงนั้น วิธีการผ่าตัดอาจได้ผลดีแต่อาจไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว อีกทั้งผู้ป่วยหลายๆ คนก็ยังลังเลในเรื่องค่าใช้จ่าย ความยุ่งยากและความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจตามมา
ดังนั้น การแพทย์จีนจึงนิยมบำบัดโรคกระดูกคอด้วยวิธีแบบองค์รวม ไม่ว่าจะฝังเข็ม ทุยหนาจัดกระดูก ร่วมด้วยกับการใช้ยาจีนเพื่อรักษาอาการปวดต้นคอ ไหล่และสะบัก อาการปวดร้าวและอ่อนแรงที่แขนและมือ อาการปวดศีรษะเวียนศีรษะ สายตาพร่า และอาการอื่นๆ ที่เกิดจากโรคกระดูกคอ จะค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด
ที่มา Posttoday
พจ.ศศิพัชญ์ อิทธิชัยโฆษิตกุล (สุ่ย จิง ซิน) คลินิกหัวเฉียวไทย-จีน
พจ.ศศิพัชญ์ อิทธิชัยโฆษิตกุล (สุ่ย จิง ซิน) คลินิกหัวเฉียวไทย-จีน
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!