ผิดหรือถูก คดีนี้ยังไม่มีคำตัดสิน

เมื่อวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา อัยการเยอรมันได้ฟ้องร้องเพื่อดำเนินคดี ออสก้า โกรนนิ่ง(Oskar Groening) ฐานมีส่วนร่วมในการสังหารคนกว่าสามแสนคน การพิจารณาคดีมีขึ้นที่เมืองลูนเบิร์ก เยอรมัน

 ซึ่งถ้าถูกตัดสินว่าผิด คุณทวดออสก้าวัย 93 ปี อาจต้องใช้ชีวิตที่เหลือในคุก

ออสก้าเกิดเมื่อปี 1921 ในครอบครัวที่บิดาเป็นช่องทอ มารดาเสียชีวิตไปตั้งแต่ออสก้าอายุ 4 ขวบ ส่วนบิดาเป็นนักชาตินิยม ดังนั้นออสก้าจึงเติบโตมากับสิ่งแวดล้อมแบบนักชาตินิยมเยอรมัน เช่นการเข้าร่วมหน่วยยุวชนฮิตเลอร์และเชื่อมั่นในลัทธินาซีเต็มตัว เคยเข้าร่วมในกิจกรรมของนาซีหลายอย่าง เมื่อจบชั้นมัธยมเมื่ออายุ 17 ปี ออสก้าเข้าฝึกงานเป็นนักบัญชี เมื่อสงครามโลกเริ่มต้นขึ้น ออสก้าสมัครเข้าหน่วย SS ในปี 1940


เนื่องจากมีความรู้เรื่องบัญชี จึงได้รับมอบหมายหน้าที่เป็นนักบัญชี ทำงานนั่งโต๊ะ ไม่ต้องออกสนาม รับผิดชอบเรื่องการดูแลบัญชีเงินเดือนของหน่วย SS จนกระทั่งปี 1942 มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย โดยงานนั่งโต๊ะถูกสงวนไว้ให้กับทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสงครามมาทำ ออสก้าและเพื่อนทหารนั่งโต๊ะอีก 22 คนจึงถูกส่งไปทำภาระกิจพิเศษที่ลับยิ่ง ทุกคนต้องให้สัตย์สาบานก่อน ว่าจะไม่เปิดเผยความลับใดๆ แม้แต่กับคนในครอบครัว จากนั้นจึงถูกส่งตัวไปยังค่ายเอาชวิตซ์


เนื่องจากเป็นนักบัญชี หน้าที่หลักของออสก้าคือทำหน้าที่รวมรวมเงินและทรัพย์สินที่ได้จากนักโทษที่ส่งมายังค่ายเอาชวิตซ์




เนื่องจากหน้าที่หลักของออสก้าคือรวบรวมเงินทองและทรัพย์สินที่ได้มาจากนักโทษยิว ดังนั้นออสก้าจึงไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงในการกำจัดนักโทษ แต่เนื่องจากอยู่ในค่าย ไม่นานออสก้าก็รู้ถึงกระบวนการขั้นตอนทั้งหมดที่นาซีใช้ในการกำจัดนักโทษยิว

ตั้งแต่วันแรกที่มาถึงเอาชวิตซ์ ออสก้าได้เป็นพยานเห็นการทารุณกรรมต่างๆ เช่นเห็นเด็กที่ถูกทิ้งไว้ในตู้รถไฟขนนักโทษที่มายังค่าย เด็กร้อง แม่ของเด็กหายไปคาดว่าเพราะนางรู้ว่าผู้หญิงที่มีลูกจะถูกจับเข้าห้องรมแกสทันที การ์ด SS นายหนึ่งหนวกหูเสียงเด็กร้องไห้ เลยจับเด็กคนนั้นไว้ที่ขา แล้วฟาดเข้ากับตู่รถไฟจนเสียชีวิต นอกจากนั้นคนเจ็บที่เดินไม่ไหวจะถูกยิงทิ้งทันที

ออสก้าทนดูภาพนั้นไม่ได้ จึงแจ้งตอหัวหน้าว่าไม่สามารถทำงานที่เอาชวิตซ์ได้ ขอย้าย แต่ถูกปฏิเสธและต้องทำงานที่นั่นต่อไป


 จนสุดท้ายหลังจากหลายเดือนผ่านไป ออสก้าก็ชาชินกับเรื่องนี้


ผิดหรือถูก คดีนี้ยังไม่มีคำตัดสิน

เมื่อรถไฟมาถึงเอาชวิตซ์ นักโทษจะถูกคัดเลือก คนที่หน่วยก้านดีใช้แรงงานได้จะถูกนำไปเป็นนักโทษแรงงาน บางส่วนถูกคัดเลือกไปเพือทำการทดลอง แต่นักโทษส่วนนี้มีไม่ถึง 10 เปอร์เซ็น ที่เหลือจะถูกส่งไปห้องรมแก๊สทันทีที่มาถึง

หน้าที่หนึ่งของออสก้าคือจัดหมวดหมู่สัมภาระสิ่งของที่นักโทษนำติดตัวมา มีการลงทะเบียนทำบัญชีข้าวของเพื่อให้นักโทษตายใจเข้าใจว่าซักวันจะได้ของเหล่านั้นคืน แบบเดียวกับรถพยาบาลติดเครื่องหมายกาชาดที่รอรับนักโทษที่เจ็บป่วยขึ้นรถ อ้างว่าจะไปส่งโรงพยาบาล สิ่งเหล่านี้จัดขึ้นเพื่อให้นักโทษตายใจและทำตามคำสั่งโดยง่าย เพราะจุดหมายปลายทางที่แท้จริงคือห้องรมแก๊ส

แม้จะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่หน้าที่นักบัญชีทำให้ออสก้าไม่ต้องไปพบปะนักโทษบ่อยนักหรือต้องไปเป็นการ์ด งานของออสก้าคือจักทำบัญชีข้าวของอยู่ในสำนักงาน แต่สิ่งที่พบเห็นก็ทำให้แแสก้าฝันร้ายเป็นประจำ การขอย้ายออกไปเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะเอาชวิตซ์และ The final solution ถือเป็นความลับสุดยอดที่แม้แต่คนเยอรมันทั่วไปก็ไม่ได้รับรู้

ออสก้าทำหน้าที่นักบัญชีอยู่ในเอาชวิตซ์มากกว่าสองปี แม้ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับนักโทษโดยตรง ก็ก็เป็นฟันเฟืองตัวหนึ่งของโรงงานแห่งความตายแห่งนี้


ผิดหรือถูก คดีนี้ยังไม่มีคำตัดสิน

ที่จริงแล้วระหว่างที่อยู่ที่เอาชวิตซ์ ออสก้าเคยขอย้ายไปยังหน่วยรบแต่คำขอถูกปฏิเสธ เพราะ the final solution เป็นเรื่องลับอย่างยิ่ง คนที่รู้เรื่องจะต้องไม่แพร่งพราย เรื่องจะขอย้ายไปที่อื่นเป็นไปไม่ได้ นอกจากย้ายระหว่างค่ายเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วในขณะนั้น สิ่งที่ทำให้ออสก้ารับไม่ได้ ไม่ใช่เพราะว่าคนยิวต้องตาย แต่เป็นเพราะขั้นตอนที่ใช้ในการกำจัดมันเกินกว่าที่เขาจะรับได้ แนวคิดนี้ก็เหมือนคนยอรมันในเวลานั้นอีกเป็นจำนวนมากที่ถูกปลูกฝังความเกลียดชังและมองคนยิวไม่ตากจากมดปลวกหรือศัตรู โดยไม่สนใจความเป็นปัจเจกของแต่ละคน ขอแค่เป็นยิวก็สมควรตายแล้ว คนยิวในสายตาของออสก้า ก็ไม่ต่างจากทหารโซเวียตที่เริ่มรุกกลับเยอรมันในขณะนั้นคือเป็นศัตรูของเยอรมันเหมือนกัน หน้าที่ในค่ายและการกำจัดคนยิวก็ไม่ต่างกับทหารในแนวรบที่ต้องสู้กับศัตรู สิ่งที่ต่างคือแค่สถานที่เท่านั้น การกำจัดยิวก็คือการกำจัดศัตรู

ครั้งหนึ่งออสก้าได้มีโอกาสเห็นการกำจัดนักโทษด้วยแก๊สไซคลอน บี ได้ยินเสียงกรีดร้องของเหล่านักโทษข้างใน ตามมาด้วยความเงียบสนิด หลังจากทหารตรวจว่าทุกคนตายหมดแล้ว ก็ได้เห็นขั้นตอนในการกำจัดศพต่อโดยการเผาในเตาเผาศพ ซึ่งบางร่างเมื่อถูกเผาตัวจะงอขึ้นมาเหมือนคนนั่ง ระหว่างนั้น SS บางคนเห็นเป็นเรื่องสนุกและหัวเราะกับภาพที่เห็น


ภาพภายในห้องรมแก๊สและเตาเผาศพ


ผิดหรือถูก คดีนี้ยังไม่มีคำตัดสิน


ผิดหรือถูก คดีนี้ยังไม่มีคำตัดสิน

ในช่วงปลายสงคราม เยอรมันถูกรุกจากทุกแนวรบ ในที่สุดออสก้าก็ถูกส่งไปอยู่หน่วยรบ และถูกจับเป็นเชลยโดยกองกำลังอังกฤษและถูกส่งตัวไปยังอังกฤษในฐานะนักโทษสงคราม ออสก้าไม่เคยบอกใครว่าเกี่ยวกับช่วงที่ทำหน้าที่อยู่ที่เอาชวิตซ์ จนได้กลับเยอรมันเมื่อปี 1948 เริ่มต้นชีวิตใหม่ทำงานในโรงงานกระจกจน ไต่เต้าจนได้เป็นผู้บริหาร แต่งงานและมีลูก 2 คน ระหว่างนั้นไม่เคยพูดถึงเรื่องที่เอาชวิตซ์เลย จนกระทั่งวันหนึ่ง...

ภาพนี้เป็นภาพที่ถ่ายในเดือนมกราคม 1945 ที่เอาชวิตซ์ถูกปลดหล่อยแล้ว เป็นเหล่าผู้โชคดีที่ยังไม่ถูกกำจัดและรอดชีวิต


ผิดหรือถูก คดีนี้ยังไม่มีคำตัดสิน

ออสก้ามีงานอดิเรกสะสมแสตมป์ วันหนึ่งเพื่อนนักสะสมคนหนึ่งได้โชว์หนังสือเรื่อง The Auschwitz Lie ซึ่งมีเนื้อหาบอกว่าเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เอาชวิตซ์เป็นเรื่องโกหก ออสก้าจึงเขียนแย้งสิ่งที่อยู่ในหนังสือด้วยความทรงจำกับเหตุการณ์จริงที่ตัวเองได้ประสบมาขณะอยู่ที่นั้น ซึ่งเรื่องราวของออสก้าถูกปฏิเสธโดยพวกนีโอนาซี ตัวออสก้าเองถูกขู่ทำร้าย ซึ่งนี่ทำให้ความอดทนของออสก้าสิ้นสุดลง แทนที่จะเลือกที่จะเงียบและไม่สนใจ ออสก้าเลือกใช้การสู้กลับพวกที่ไม่ยอมรับความจริง ด้วยการออกมาบอกเล่าความจริง เริ่มต้นด้วยการเขียนบันทึกความทรงจำยาว 87 หน้า จากนั้นยังให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องราวในเอาชวิตซ์อีกนับไม่ถ้วนครั้ง


สารคดีของ BBC ที่มีออสก้าออกมาเปิดเผยประสบการณ์ด้วย


ผิดหรือถูก คดีนี้ยังไม่มีคำตัดสิน



ในการให้สัมภาษณ์ ออสก้าไม่ปิดบังเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เคยประสบมา บอกเล่าเหตุการณ์อย่างตรงไปตรงมา และเรื่องราวที่ออสก้าออกมาเปิดเผยนี่เอง ที่เป็นสาเหตุทำให้คุณทวดต้องถูกดำเนินคดีในขณะนี้ ฐานมีส่วนร่วมในการกำจัดนักโทษยิวฮังการีกว่าสามแสนคนในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฏาคมปี 1944

ภาพการเปิดคดี และภาพคุณทวดออสก้าต้องใช้ไม้ช่วยเดินเพื่อเข้ารับฟังการพิจารณาคดี



ออสก้ายอมรับว่ามีส่วนร่วมในความผิด แม้จะไม่เคยทำทารุณกรรมนักโทษด้วยตัวเอง และร้องขออการให้อภัย ซึ่งถ้าศาลตัดสินว่าผิด คุณทวดจะต้องรับโทษจำคุก 15 ปี ในห้องพิจารณาคดี ออสก้าดูสงบและถึงกับหัวเราะเมื่อทนายบอกให้ผู้พิพากษาพูดให้ดังขึ้นเพื่อให้ออสก้าได้ยิน และยังพูดตลกเมื่อตอนที่จิบน้ำว่า เหมือนตอนดื่มว้อดก้าที่เอาชวิตซ์


ในการพิจารณาคดีที่มีผู้รอดชีวิตและเลือดเนื้อเชื้อไขของผู้รอดชีวิตเข้าร่วมฟังมากกว่า 70 คน อิวา ฟาฮิดิ วัย 89 จากบูดาเปส หนึ่งในผู้เข้าร่วมฟังการพิจารณาบอกว่า เธอเสียญาติและคนในครอบครัวไป 49 คนในค่ายกักกัน เค้าออสก้าอยู่ที่นั่น เธอต้องการมองเข้าไปในดวงตาของเค้าและมองดูการสำนึกผิดในนั้น ระบบการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ประกอบด้วยฟันเฟืองเล็กๆ ของคนเล็กๆ เช่นออสก้า ฟันเฟืองเล็กๆ ที่ประกอบกันเป็นโรงงานแห่งความตาย ไม่ใช่เพราะใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่เพราะการมีคนเช่นออสก้า สิ่งสำคัญสำหรับเธอไม่ใช่โทษที่เค้าจะได้รับ แต่เป็นคำตัดสิน


เฮดี้ บอห์ม วัย 87 เดินทางจากแคนาดาเพื่อเข้ารับฟังการพิจารณาคดีครั้งนี้ เธอเสียสมาชิกในครอบครัวเกือบทั้งหมดไป พ่อ พี่สาว และลูกเล็กๆ ของเธอในวันแรกที่เดินทางมาถึงเอาชวิตซ์ เธอจะขึ้นให้การเป็นพยานในการพิจารณาคดีด้วย


ภาพอิวาและหลานสาว กับภาพออสก้าที่มองผ่านช่องว่างระหว่างไหล่ของอิวากับเฮดี้


ผิดหรือถูก คดีนี้ยังไม่มีคำตัดสิน


ผิดหรือถูก คดีนี้ยังไม่มีคำตัดสิน

พยานอีกคน อิวา คอร์ วัย 81 อิวาเป็นยิวโรเมเนีย เธออายุแค่ 10 ขวบตอนที่ถูกส่งไปเอาชวิตซ์ เนื่องจากเธอเป็นฝาแฝด เธอและคู่แฝดจึงไม่ได้ถูกกำจัดในทันที แต่ถูกนำไปทดลองโดยหมอโรคจิตโจเซฟ เมงเกเล่ สำหรับอิวา เธอมองว่าออสก้าเป็นฆาตกรเพราะเค้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบการฆ่า แต่ความสำคัญของคดีนี้ไม่ได้อยู่ที่ออสก้าจะถูกตัดสินอย่างไร แต่อยู่ที่การค้นหาความจริง และการจัดการกับอาชญากรรม อิวาเสียทั้งพ่อและแม่ รวมถึงพี่น้องอีก 2 คนที่เอาชวิตซ์ ปัจจุบันเธอเป็นพลเมืองอเมริกัน เธอขึ้นให้การในฐานะพยานเช่นกัน


อิวาและมิเรียน ทั้งสองรอดชีวิตจากเอาชวิตซ์ในขณะที่พ่อและแม่ รวมถึงพี่น้องอีกสองไม่รอด และภาพอิวาในปัจจุบัน เธอได้พูดคุยกับออสก้า และยกโทษให้เขา




ผิดหรือถูก คดีนี้ยังไม่มีคำตัดสิน


ผิดหรือถูก คดีนี้ยังไม่มีคำตัดสิน

การพิจารณาคดีนี้ยังไม่สิ้นสุด ผลการตัดสินยังไม่ออกมา ออสก้า โกรนนิ่งพูดถึงคดีนี้ว่า เค้าผิดจริงในแง่ของศีลธรรม ส่วนในทางกฏหมายจะผิดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับศาลจะเป็นผู้ตัดสิน



ผิดหรือถูก คดีนี้ยังไม่มีคำตัดสิน

reurnthai.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์