ปริศนาการตายอันดำมืด ไร้คำตอบ ของ ‘หยาง กุ้ยเฟย’ ‘หญิงงาม ’ แห่งประวัติศาสตร์จีน

"หยางกุ้ยเฟย" เจ้าของสมญา "มวลผกาละอายนาง" ความงามที่ล่ม "ราชวงศ์ถัง"

หยางกุ้ยเฟย นามเดิมคือ หยางอี้หวน เกิด 1 มิถุนายน ค.ศ. 719 เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีนกล่าวกันว่า หยางกุ้ยเฟยทรงเป็นสตรีที่มีความงามเป็นเลิศ ใช้ชนม์ชีพในรัชสมัยราชวงศ์ถัง ได้รับฉายานามว่า "มวลผกาละอายนาง" ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่มวลหมู่ดอกไม้ยังต้องละอาย" (a face that would make all flowers feel shameful)

นางมีชื่อเดิมว่า หยางอวี้หวน เป็นชาวเมืองหย่งเล่อ "อวี้หวน" แปลว่า "ตุ้มหูหยก" นางเป็นธิดาของ "หยางหยวนเหยียน"

ตอนที่นางจะเกิดนั้น มารดาของนางได้ฝันเห็นสายรุ้งพาดโค้งจากฟากฟ้าลงมาที่เตียงนอน พร้อมส่งแสงประกายระยิบระยับงดงาม แต่เพียงชั่วครู่เดียวก็หายวับไป กลายเป็นดาวตกพุ่งตกลงมาสู่พื้น มีเสียงดังสนั่นหวั่นไหว


อวี้หวน เมื่อเจริญวัยขึ้น มีรูปโฉมที่งดงามและเปล่งปลั่งชวนมองยิ่งนัก อีกทั้งยังมีผิวกายที่มีกลิ่นหอมจรุงใจ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วทั้งหมู่บ้าน และตำบลที่นางอาศัยอยู่ นางมีความสามารถทางดนตรี ขับร้องและฟ้อนรำ

ในปีที่ ๒๕ ของรัชสมัยจักรพรรดิถังเสวียนจง พระองค์ทรงดำริที่จะหาพระชายาให้พระโอรสโซ่วอ๋อง โอรสองค์ที่ ๑๘ อาของอวี้หวนทราบข่าวจึงนำนางเข้าไปถวาย และก็ไม่ผิดหวัง

โซ่วอ๋อง เมื่อแรกได้เห็นนางนั้น ก็ถึงกับตะลึงพรึงเพริดในความงามของนาง ดังนั้นนางจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระชายาของพระโอรสโซ่วอ๋อง ตั้งแต่นางมีอายุได้เพียง ๑๖ ปี ซึ่งกำลังอยู่ในวัยสาวแรกรุ่น

ต่อมา อู่กุ้ยเฟย พระสนมที่จักรพรรดิถังเสวียนจง ทรงโปรดปรานได้เสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน พระองค์ยังทรงหาพระชายาใหม่ที่ถูกพระทัยไม่ได้ ขันทีเกาลี่ซื่อผู้ใกล้ชิดจึงทูลเสนอว่า หญิงงามที่สุดในแผ่นดินไม่มีใครงามเกินหยางอวี้หวน พระชายาของโซ่วอ๋อง

แล้วเกาลี่ซื่อได้ออกอุบายให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรนาง เพียงแรกประสบพบเท่านั้น พระองค์ก็ถึงกับลุ่มหลงในความงามของนางโดยทันที แต่เนื่องจากติดขัดที่นางเป็นชายาของโซ่วอ๋อง

เกาลี่ซื่อจึงบอกอุบายอันแยบยล ให้พระองค์แต่งตั้งนางเป็นนักพรตหญิงฉายาไท่เจิน แล้วหาพระชายาใหม่ให้โซ่วอ๋องแทน

สมัยเทียนเป่าปีที่สี่ (พ.ศ.๑๒๘๘) อวี้หวนได้เข้าวัง และเป็นที่โปรดปรานของถังเสวียนจง จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสนมเอกหรือกุ้ยเฟย (ขณะนั้นจักรพรรดิถังเสวียนจงมีพระชนมายุ ๖๑ พรรษา ส่วนหยางกุ้ยเฟยมีอายุเพียง ๒๗ ปีเท่านั้น)

พ่อ พี่น้องแลเครือญาติของนางทั้งหมดได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนาง และฮูหยินทั้งหมด จนเป็นที่โจษจันกันไปทั่วว่า เพราะมีลูกสาวดี จึงได้ดิบได้ดีกันถ้วนหน้า

ทุกครั้งที่นางจะนั่งรถม้า ต่างก็มีบรรดาขุนนางใหญ่บังคับรถม้าให้ด้วยตัวเอง นางมีช่างถักทอและปักผ้าถึงเจ็ดร้อยคน มีผู้คนมากมายแย่งกันมอบของกำนัลต่างๆ ให้ เนื่องจากขุนนางจางจิ่วจางและหวังอี้มอบของกำนัลให้นางจึงได้เลื่อนตำแหน่ง ดังนั้นบรรดาขุนนางทั้งหลายต่างก็หวังที่จะได้รับผลตอบแทนเช่นเดียวกันหยางกุ้ยเฟยโปรดปรานลิ้นจี่จากแดนหลิ่งหนาน ก็มีผู้คนคิดหาวิธีที่จะนำมาส่งมาถึงเมืองฉางอานให้เร็วที่สุดความที่จักรพรรดิ์ถังเสวียนจง ทรงลุ่มหลงอยู่แต่นาง และเล่นดนตรี จนละเลยการปกครองว่าราชการเมือง ทำให้หยางกั๋วจง พี่ชาย (ลูกพี่ลูกน้อง) ของนางได้รวบอำนาจการปกครองไว้ถึง ๔๐ ตำแหน่ง จนมีตำแหน่งเทียบเท่าสมุหนายก กินสินบนอย่างเปิดเผย ใช้ระบบอุปถัมภ์ในการคัดเลือกคนเข้ารับราชการหรือเลื่อนตำแหน่ง ทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่ว

เป็นเหตุให้ อานลู่ซาน ได้หยิบยกข้ออ้างนี้มาก่อการกบฏ โดยนำทหารจากชายแดนและทหารทิเบตเข้ามายึดนครฉางอานได้โดยง่ายดายในปี พ.ศ. ๑๒๙๙ ทำให้องค์จักรพรรดิถังเสวียนจง ต้องทรงลี้ภัยชั่วคราวไปในทางตอนใต้ของมณฑลซื่อชวน (เสฉวน)

อานลู่ซานยกกองทัพติดตามไป ไม่เพียงเพราะต้องการแผ่นดินราชวงศ์ถังเท่านั้น แต่ยังต้องการครอบครองสาวงามหยางกุ้ยเฟยอีกด้วยในระหว่างทางที่ทรงลี้ภัยไปนั่นเอง หยางกั๋วจงได้ถูกเหล่าทหารรุมจับสังหารเสีย จากนั้นเหล่าทหารได้ทูลพระองค์ว่า "การที่เกิดกบฏเข้ายึดบ้านครองเมือง ทำให้ราชวงศ์ต้องเสื่อมถอยก็เพราะหยางกั๋วจงเป็นต้นเหตุ เมื่อหยางกั๋วจงตายไปแล้ว แต่โดยรากยังคงอยู่นั่นคือ หยางกุ้ยเฟย ฉะนั้นนางก็ไม่สมควรอยู่ให้เป็นที่ครหาด้วย"

จักรพรรดิ์ถังเสวียนจงทรงโทมนัสในพระทัยอย่างสุดพรรณนา ในที่สุดจึงทรงรับสั่งให้ประหารชีวิตหยางกุ้ยเฟย โดยให้กาลี่ซื่อผู้นำนางมาถวายพระองค์ นำผ้าแพรขาวไปมอบให้นางเพื่อให้แขวนคอตายใต้ต้นหลีในสวน

หยางกุ้ยเฟยได้จบชีวิตลงอย่างน่าสงสารในปี พ.ศ.๑๒๙๙ ระหว่างทางลี้ภัยไปมณฑลซื่อชวน ขณะนั้นนางมีอายุเพียง ๓๘ ปีเท่านั้น


ภายหลัง กวีเอกไป๋จวีอี้ได้แต่งลำนำ "ฉางเฮิ่นเกอ" บรรยายเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ตอนนี้ขึ้น

"...ยามเมื่อนางหันมาแย้มสรวล ก็นำมาซึ่งเสน่ห์ร้อยประการ

เป็นเหตุให้นางสนมทั้ง ๖ ตำหนัก ต้องด้อยรัศมีลง

ยามเมื่อนางอาบน้ำในสระ (หัวชิงฉือ)

เหล่านางสวรรค์กำนัลใน (๓,๐๐๐ นาง)

ต่างก็พรึงเพริดด้วยโฉมอันงามวิไลนัก..."


เล่ากันว่า ทั้ง ๒ ทรงโปรดปรานในการมาสรงน้ำที่หัวชิงฉือเป็นยิ่งนัก ตลอดระยะเวลาที่ทรงอยู่ร่วมกัน ได้มาสรงน้ำที่นี่ถึง ๔๙ ครั้ง จนมีสระหนึ่งของที่นี่ เรียกว่า สระหยางเฟย เป็นที่สรงน้ำของนางโดยเฉพาะนอกจากนี้ ยังมีคำร่ำลือกันว่า หยางกุ้ยเฟย เธอมีกลิ่นกายที่หอมกรุ่น เนื่องจากนางได้นำเอากลีบดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมนานาพรรณ มาบดให้ละเอียดเป็นแป้งแล้วใช้ชโลมกาย ในยามที่เธอมีเหงื่อไหลในช่วงฤดูร้อนนั้น ร่ำลือกันว่ายิ่งส่งกลิ่นหอมอบอวลให้เป็นที่ใหลหลงยิ่งนัก ซึ่งทำให้หญิงสาวจีนในยุคนั้นเอาตามอย่างนาง โดยนำกลีบดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมมาทำเป็นแป้งใช้ทาชโลมกาย จนถือเป็นต้นกำเนิดของแป้งฝุ่นจีนมาตราบจนทุกวันนี้

หยางกุ้ยเฟยได้รับฉายานามว่า "มวลผกาละอายนาง" ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่มวลหมู่ดอกไม้ยังต้องละอาย" (a face that would make all flowers feel shameful)


มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่งขณะอยู่ในวัง นางไปเดินเล่นที่สวนดอกไม้ มองเห็นดอกโบตั๋นและกุหลาบจีนที่กำลังบานสะพรั่ง แล้วคิดถึงชีวิตตนเองที่ถูกกักอยู่ในวังหลวง ผ่านวัยสาวไปอย่างไร้ความหมาย นางร้องไห้พลางลูบดอกไม้นั้น เมื่อนางแตะถูกกลีบดอกไม้กลีบนั้นก็หุบลง ใครจะคิดว่าต้นไม้ที่นางลูบนั้นคือต้นนางอาย


นางกำนัลคนหนึ่งพบเห็นเหตุการณ์นี้เข้า จึงนำไปเล่าลือว่าหากหยางอี้หวนเทียบความงามกับดอกไม้แล้ว ดอกไม้ยังต้องละอายก้มลงให้แก่นาง........


 ปริศนาการตายอันดำมืด ไร้คำตอบ ของ ‘หยาง กุ้ยเฟย’ ‘หญิงงาม ’ แห่งประวัติศาสตร์จีน

สุสาน หยางกุ้ยเฟย (อังกฤษ: Yang Guifei จีน: 楊貴妃)

เสียชีวิต ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๑๒๙๙ (สิริอายุรวม ๓๘ ปี)

 ปริศนาการตายอันดำมืด ไร้คำตอบ ของ ‘หยาง กุ้ยเฟย’ ‘หญิงงาม ’ แห่งประวัติศาสตร์จีน

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์