Army Cyber Contest เตรียมพร้อมรับภัยคุกคามด้านไซเบอร์

ศูนย์เทคโนโลยีทางทหารกองทัพบก หรือที่รู้จักกันในชื่อ ศูนย์ไซเบอร์ของกองทัพบก มีแนวความคิดที่จะดำเนินการจัด การแข่งขันทักษะด้านการปฏิบัติการไซเบอร์ ประจำปี 2558 ( Army Cyber Operations Contest 2015 ) ขึ้น โดยเชิญบุคลากรด้านไซเบอร์ของทุกเหล่าทัพ กองบัญชาการกองทัพไทย และกระทรวงกลาโหม จัดทีมเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้

 

สำหรับการแข่งขันทักษะด้านการปฏิบัติการไซเบอร์ของปี 2558 นี้ จะจัดขึ้นในวันที่ 9 กันยายน 2558 ที่จะถึงนี้ โดยจะมีการถ่ายทอดสดบรรยากาศการแข่งขันดังกล่าว ให้กับผู้ที่มาเข้าร่วมการประชุมสัมมนาทางวิชาการด้านไซเบอร์ ที่จัดขึ้นคู่ขนานกันด้วย

การสัมมนาทางวิชาการด้านไซเบอร์ที่จะจัดขึ้นนั้น จะเน้นไปที่บุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหม รวมถึงกำลังพลที่ปฏิบัติงานในกองบัญชาการกองทัพบกและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งนอกจากการบรรยายความรู้ทางวิชาการในตลอดวันแล้ว ผู้เข้าร่วมสัมมนายังจะได้เห็นภาพการปฏิบัติการไซเบอร์จริงๆ ของทีมต่างๆ ที่เข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งการปฏิบัติการเชิงรับและเชิงรุก แบบ Real Time

นอกจากนี้ยังจัดให้มีนิทรรศการแสดงผลงานของหน่วยงานต่างๆ และการจัดบูธผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยต่างๆ ด้านไซเบอร์ของบริษัทฯ ชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการปฏิบัติการไซเบอร์ และเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับ ผู้บังคับบัญชา และกำลังพลของกองทัพบก รวมทั้งหน่วยต่างๆ ที่มาร่วมงาน

 

การแข่งขันทักษะด้านการปฏิบัติการไซเบอร์ ประจำปี 2558 ( Army Cyber Operations Contest 2015 ) ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันระดับเหล่าทัพครั้งแรกของประเทศไทย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ของกองทัพแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ( ASEAN Community ) อีกด้านหนึ่งของประเทศ

 

 


Army Cyber Contest เตรียมพร้อมรับภัยคุกคามด้านไซเบอร์

รายละเอียดการแข่งขัน Army Cyber Contest

การจัดการแข่งขันฯ จะมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันในรอบสุดท้าย จำนวน 8 ทีมๆ ละ 2 - 4 คน โดยแต่ละทีมจะมีการติดตั้ง Server ของฝ่ายตนจำนวน 3 เครื่อง บนระบบปฏิบัติการเครือข่าย ( Network Operation System : NOS ) Windows และ Linux ซึ่งแต่ละทีมจะต้องดำเนินการหามาตรการเชิงรับ ( Defensive ) โดยการป้องกันและขัดขวางการเจาะระบบและการโจมตีของทีมฝ่ายอื่นๆ อีก 7 ทีม ที่จะทำการตรวจสอบช่องโหว่ ( Vulnerability Assessment ; VA ) ของระบบ Server เพื่อทำการหาวิธีการเจาะระบบฯ ให้สำเร็จและได้คะแนนสะสมในแต่ละเครื่องที่สามารถเข้ายึดครอง Server ได้

แต่ละทีมที่เข้าแข่งขันนอกจากจะต้องคิดค้นหามาตรการเชิงรับ โดยป้องกันการเจาะ การโจมตี Server จำนวน 3 เครื่อง ของฝ่ายตนเอง เพื่อไม่ให้เสียแต้มให้กับทีมอื่นๆ แล้ว ยังจะต้องหามาตรการเชิงรุก ( Offensive ) โดยการเจาะระบบฯ การโจมตีเป้าหมาย Server ของทีมฝ่ายอื่นๆ อีก 7 ทีมๆ ละ 3 เครื่อง รวมทั้งสิ้น 21 เครื่อง เพื่อเก็บคะแนนสะสมให้ได้มากที่สุด ก็จะเป็นทีมที่ชนะเลิศตามลำดับคะแนน

การรับชมการแข่งขัน

สำหรับผู้ชมการแข่งขันทักษะด้านการปฏิบัติการไซเบอร์ ประจำปี 2558 ( Army Cyber Operations Contest 2015 ) สามารถเข้าชมการแข่งขันฯ จริงที่ห้องปฏิบัติการแข่งขันฯ และผ่านระบบการถ่ายทอดสดแบบกระจาย สัญญาณ ผ่านจอ LED TV ที่ติดตั้งกระจายโดยรอบบริเวณงานและในห้องประชุมสัมมนาฯ โดยจะแสดงภาพการปฏิบัติการจริง ทั้งเชิงรับและเชิงรุกของแต่ละทีม ทั้ง 8 ทีม รวมถึงภาพแผนที่แสดงตำแหน่งจำลองที่ตั้ง Server ที่ใช้ในการแข่งขันฯ บนแผนที่โลก โดยสามารถสังเกตสีของแผนที่ตำแหน่งจำลองที่ตั้ง Server หากถูกโจมตีหรือยึดครองได้สำเร็จสีจะถูกเปลี่ยนไปจากสีเดิมอย่างเห็นได้ชัดเจน รวมถึงเส้นทางการโจมตีที่มาจากทีมของฝ่ายต่างๆ ไปยัง Server เป้าหมาย จะปรากฏเส้นวิถีการโคจรแบบขีปนาวุธจากทุกมุมโลก จากต้นทางไปยังเป้าหมาย ให้เห็นภาพเข้าใจง่าย

นอกจากนี้ยังมีการแสดงภาพ Graphic เพื่อประมวลผลการปฏิบัติการเชิงสถิติให้ผู้ชมทราบว่า แต่ละทีมได้มีการใช้เทคนิค วิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติการเชิงรับ และเชิงรุกด้วยการโจมตีแบบไหน ปริมาณมากน้อยเพียงใด และแบบใดที่ประสบผลสำเร็จ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบขีดความสามารถ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความถนัด ทักษะ ประสบการณ์ และศักยภาพของบุคลากรด้านไซเบอร์ของกองทัพ ในด้านการพัฒนาส่งเสริม และเสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากรของกองทัพด้านไซเบอร์ต่อไปในอนาคต เพื่อให้มีศักยภาพสูงขึ้นในการปฏิบัติการทางทหาร ซึ่งเป็นพลังอำนาจกำลังรบที่ไม่มีตัวตน

 

 


Army Cyber Contest เตรียมพร้อมรับภัยคุกคามด้านไซเบอร์

หัวข้อการสัมมนาทางวิชาการด้านไซเบอร์

1. การเสวนาเบื้องต้น เรื่อง "โลกยุคหน้ากับเทคโนโลยีดิจิตอล (ทิศทางและความท้าทาย)" โดย พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ

2. การบรรยาย เรื่อง "แนวคิดการจัดตั้งกองบัญชาการไซเบอร์ (Cyber Command) ภายใต้ ศูนย์บัญชาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (National Cybersecurity)" โดยพลเอก บรรเจิด เทียนทองดี (ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และที่ปรึกษาด้าน ICT Cyber security สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ)

3. การบรรยายเรื่อง "ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กับ ภารกิจค้นหา Thailand Cybersecurity Got Talent" โดย พลเอก ภูดิท วีระศักดิ์ (ประธานคณะอนุกรรมการความมั่นคงเครือข่าย สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ)

4. การบรรยายเรื่อง รูปแบบใหม่ของการฝึกอบรมบุคลากรด้านไซเบอร์ ระหว่าง "Role -Based Cyber security Training" และ "Gamafication" โดย อ. ปริญญา หอมเอนก - (ผู้อำนวยการศูนย์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ มหาวิทยาลัยรังสิต)

 

 


Army Cyber Contest เตรียมพร้อมรับภัยคุกคามด้านไซเบอร์

ขอขอบคุณบทความจาก emaginfo.com

Army Cyber Contest เตรียมพร้อมรับภัยคุกคามด้านไซเบอร์


Army Cyber Contest เตรียมพร้อมรับภัยคุกคามด้านไซเบอร์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์