15 คำถามไขปริศนาร่างกายมนุษย์ ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน

1. ร่างกายของคนเรามีการเจริญเติบโตได้อย่างไร?
อาหารต่างๆที่เรากินเข้าไปจะถูกย่อยโดยฟัน แล้วส่งต่อไปยังกระเพาะอาหาร จากนั้นก็จะถูกบดย่อยด้วยน้ำย่อยที่อยู่ในกระเพาะอาหารของเราเอง จากนั้นสารอาหารและพลังงานต่างๆ ก็จะถูกส่งต่อไปยังเซลล์ที่มีอยู่ทั่วร่างกาย ทำให้เซลล์จะเจริญเติบโต โดยการแบ่งตัวเป็นทวีคูณ จนกระทั่งเกิดการเจริญเติบโต ทุกวินาทีที่เราดำเนินชีวิตนั่นเอง

2. การเจริญเติบโตของคนเรา จะหยุดเมื่อไร?
การเจริญเติบโตของคนเรามีอยู่ 2 ระยะคือ การเติบโตในระยะแรก คือตั้งแต่คลอดออกมาจนกระทั่งถึงอายุ 6 เดือน ส่วนในระยะที่สอง คือช่วงอายุระหว่าง 13-15 ปี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งในช่วงวัยนี้เด็กผู้หญิงจะโตไวกว่าเด็กผู้ชาย ซึ่งตามธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ผู้หญิงจะสูงเต็มที่เมื่ออายุ 18 ปี ส่วนผู้ชายจะสูงมากกว่าผู้หญิง ในอีกประมาณ 2-3 ปี

3. สภาพแวดล้อมทำให้ร่างกายของคนเราเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่?
ตามธรรมชาติโดยทั่วไปแล้วสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย มักจะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม หรือถิ่นฐานที่ตัวเองอาศัยอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่นชนเผ่าอินเดียนแดง ที่อาศัยอยู่บนภูเขาสูง มักจะมีปอดที่ใหญ่ขึ้น เพื่อหายใจรับอากาศให้ได้มากขึ้น มีเลือดเพิ่มมากขึ้นกว่าคนที่อยู่ในที่ต่ำถึง 2 ลิตร และหัวใจก็มีขนาดใหญ่กว่าคนปกติถึง 1.5 เท่า เพื่อทำหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ได้มากขึ้น แขนและขาสั้น มือและเท้าเล็ก เพื่อลดการสัมผัสอากาศภายนอก เป็นการลดการทำงานหนักของหัวใจ ส่งผลให้การสูญเสียความร้อนของร่างกายลดน้อยลงไปด้วย จากเหตุผลนี้ จึงสรุปได้ว่า ในบางครั้งสภาพแวดล้อมก็ทำให้ร่างกายของคนเราเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน

4. อาการสะอึกเกิดจากอะไร?
ในสภาวะปกติที่เราหายใจเข้าออก กล้ามเนื้อใหญ่ซึ่งกั้นระหว่างช่องท้อง และช่องทรวงอกจะทำหน้าที่เป็นตัวดึงและผลักให้ปอดทำงาน แต่ถ้าอวัยวะที่อยู่ใกล้กับกล้ามเนื้อนี้เกิดระคายเคืองขึ้นมา จะทำให้มันหดตัวอย่างกะทันหัน เมื่อเราหายใจเข้า ลิ้นที่หลอดลมจะปิด ทำให้เกิดการคลั่งของลมคล้ายอาการจุก นั่นคือผลของการสะอึกนั่นเอง

5. อาการจั๊กจี้เกิดจากอะไร?
อาการจั๊กจี้ หรือบางคนมักเรียกว่าอาการเส้นตื้น เกิดจากกระแสสัมผัสที่ถูกกระตุ้นตรงปลายประสาทผิวหนัง แล้วสั่งการไปยังสมอง ซึ่งการรับสื่อสัมผัสดังกล่าว เปรียบเสมือนการรับข่าวสารและแปลข่าวสารในสมองของเราเอง และก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่ได้รับด้วยเช่นกัน เช่น ถ้าเป็นความรู้สึกคัน ก็จะเกา แต่ถ้ารู้สึกจั๊กจี้ สมองก็จะสั่งให้เราหัวเราะนั่นเอง

6. ลิ้นของเรารับรู้รสชาติของอาหารได้อย่างไร?
การที่เราได้รับรู้รสชาติของอาหารต่างๆที่เรากินเข้าไปนั้น อันที่จริงแล้วเกิดจากปุ่มต่างๆบนลิ้นของเรา ส่งกระแสประสาทไปยังสมอง เช่น เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ต่างๆ ซึ่งจะสังเกตเห็นว่าถ้าเราแลบลิ้นออกมาแล้วส่องกระจกดู ก็จะเห็นปุ่มเล็กๆ สากๆ บนลิ้นมากมาย ซึ่งปุ่มต่างๆเหล่านี้เอง ที่เป็นที่รับรู้รสชาติของอาหารที่เรากินเข้าไป แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราแลบลิ้นออกมาแล้วเช็ดให้แห้ง เอาเกลือหรือน้ำตาลหนึ่งก้อนวางไว้บนลิ้น เราจะไม่มีความรู้สึกว่าเค็มหรือหวานเลย ต้องรอจนกว่าน้ำลายจะไหลออกมาคลุกเคล้ากับน้ำตาลหรือเกลือที่อยู่บนลิ้นของเรา ซึ่งจะเป็นการทำให้เปียกก่อน กระแสประสาทจากปุ่มรับรสจึงจะส่งข้อมูลไปยังสมอง เราจึงจะมีความรู้สึกต่อรสหวานหรือเค็มนั่นเอง

7. จมูกของเราดมกลิ่นได้อย่างไร?
ในจมูกของคนเรามีประสาทสัมผัสการดมกลิ่น ซึ่งจะทำให้เราสามารถได้กลิ่นแม้นเพียงเล็กน้อย เช่น การระเหยของแก๊สหุงต้ม เมื่อกลิ่นนี้มาสัมผัสกับจมูก จะสั่งกระแสประสาทไปสู่สมอง การได้กลิ่นก็จะเกิดขึ้น สมองของเรามีหน้าที่บันทึกกลิ่นต่างๆ และกลิ่นที่เราเคยดมมาแล้วสมองก็จะรับรู้ได้ แต่ถ้าจมูกสัมผัสกลิ่นใหม่ซ้ำอีกครั้ง สมองก็จะสั่งการว่า กลิ่นนี้เราเคยรับรู้ หรือเคยสัมผัส เคยสูดดมแล้วนั่นเอง

8. คนที่ตาบอดสีมีลักษณะอย่างไร?
คนที่ตาบอดสีคือคนที่มองเห็นเฉพาะสีเหลืองและสีน้ำเงินเท่านั้น และจะสับสนในสีเขียวกับสีแดง แต่จะมองเห็นทุกๆอย่างเป็น สีดำ สีขาว และสีเทา ในที่ร่มเท่านั้น ไม่สามารถระบุสีต่างๆได้อย่างถูกต้อง และมักจะไม่รู้ตัว คือไม่ยอมรับว่า ตัวเองตาบอดสีนั่นเอง

9. ระหว่างกระดูกของเด็กกับผู้ใหญ่ ใครมีมากกว่ากัน?
ถ้าเราคิดเล่นๆหรือ หากมองผิวเผินอาจคิดว่าผู้ใหญ่ที่ตัวโตกว่า จะมีกระดูกมากกว่าเด็ก แต่อันที่จริงแล้ว เป็นความคิดที่ผิดถนัด เพราะนักวิทยาศาสตร์ได้สรุปออกมาแล้วว่า ในตัวของเด็กจะมีกระดูกมากถึง 300 ชิ้น ส่วนผู้ใหญ่จะมีกระดูกเพียง 206 ชิ้นเท่านั้นเอง เหตุผลก็เพราะว่าในช่วงวัยเจริญเติบโตของเด็กนั้น จะมีกระดูกบางส่วนคือประมาณ 2 - 3 ชิ้น ค่อยๆรวมตัวกัน ให้ประติดประต่อเป็นชิ้นเดียวกัน พอเริ่มโตเป็นผู้ใหญ่จำนวนกระดูกจึงน้อยชิ้นลงไปนั่นเอง

10. รอยตำหนิหรือไฝปานเกิดมาพร้อมกับเราทุกคนหรือไม่?
ถ้าเราสังเกตให้ดี คนเราทุกคนที่เกิดมามักจะมีรอยตำหนิติดตัวมาตั้งแต่เกิด อาจจะเป็นไฝหรือปานอยู่บนผิวหนังส่วนไหนของร่างกายก็ได้ ไฝจะมีลักษณะเป็นจุดสีดำหรือสีน้ำตาลแก่ บางจุดจะนูนขึ้นบริเวณผิวหนังของเรา และแทบทุกคนที่เกิดมาก็มักจะเป็นเช่นนี้ ซึ่งก็ไม่มีใครสามารถค้นหาข้อเท็จจริงได้ว่า ไฝหรือปานดังกล่าวนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

11. ถ้าคนเราไม่มีเหงื่อจะเป็นอย่างไร
ถ้าร่างกายของเราไม่มีเหงื่อออกมาเลย จะทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นอย่างมาก และอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะเหงื่อเป็นตัวถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกายของเรา ซึ่งต่อมเหงื่อจะมีอยู่ทั่วร่างกายประมาณ 2,000,000 ต่อมด้วยกัน ซึ่งบริเวณ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า รักแร้ และหน้าผากของคนเรา มักจะมีต่อมเหงื่อที่ใหญ่กว่าบริเวณอื่น เพราะฉะนั้นเราจึงรู้สึกได้ว่า มีเหงื่อออกบริเวณนั้นมากกว่าจุดอื่นบนร่างกาย

12. ทำไมเราจึงมีอาการคล้ายกับเห็นดาว เมื่อศีรษะโดนกระทบอย่างแรง?
สำหรับอาการที่คล้ายๆกับว่า เราเห็นดาว เมื่อโดนตีหัวหรือศีรษะโดนกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง เป็น เพราะเราอุปาทานไปว่าดาวมีแสงสว่างจ้า แต่อันที่จริงแล้วการโดนตีหัวแรงๆ หรือศีรษะของเราไปโขลกกับของแข็ง เป็นการกระตุ้นประสาทตาอย่างแรง แล้วแปลความเป็นได้รับแสงทันทีทันใดอย่างเจิดจ้า ก็เลยว่าอุปาทานไปว่า "เห็นดาว" เหตุผลก็คือประสาทตาเล่นตลกกับเรานั่นเอง

13. จะรู้ได้อย่างไรว่าเราถนัดตาขวาหรือตาซ้าย?
การที่เรามองเห็นสิ่งต่างๆนั้น เราสามารถมองเห็นได้ด้วยสองตาของเราก็จริง แต่อันที่จริงแล้วคนเราจะถนัดตาข้างใดข้างหนึ่งเป็นหลักเท่านั้น เพราะสมองของเราจะรับกระแสประสาทการมองเห็น จากตาข้างที่ถนัดเท่านั้น จะรู้ได้อย่างไรว่าดวงตาข้างไหนที่เราถนัด มีวิธีทดสอบง่ายๆก็คือ ให้เราหยิบปากกาขึ้นมาในแนวดิ่ง ชูขึ้นให้สุดแขน แล้วยกขึ้นลงในระดับสายตาของเรา จากนั้นให้เล็งเป้าสายตาไปยังวัตถุชิ้นใดก็ได้ตรงหน้าของเรา แล้วหลับตาทีละข้าง สมมติว่าหลับตาขวา ปากกาจะอยู่ที่เดิม แต่ถ้าหลับตาซ้าย จะเห็นปากกาเคลื่อนที่ไปทางขวา แสดงว่าเราเป็นคนถนัดตาขวานั่นเอง

14. ขณะจับของร้อนๆ ทำไมเรารีบปล่อยมือแบบอัตโนมัติไปเอง?
เมื่อเราจับของร้อนๆ โดยไม่ได้ตั้งใจหรือไม่รู้มาก่อน มือของเราจะปล่อยของสิ่งนั้นไปโดยอัตโนมัติในทันที ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่า ขณะที่เราจับของร้อน ประสาทจากจุดสัมผัสจะส่งกระแสความรู้สึกไปยังไขสันหลัง บอกว่า "มันร้อนมาก" จากนั้นไขสันหลังก็จะสั่งงานให้ มือของเราปล่อยของสิ่งนั้น หรือให้รีบหดกลับในทันที ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าวนี้ เป็นการสั่งงานที่ไม่จำเป็นจะต้องส่งกระแสไปให้สมองสั่งการ และไม่ต้องคิดที่จะปล่อยมือจากมันทอดร้อนๆ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ เราเรียกว่า ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ ซึ่งปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่ว่านี้มีอยู่หลายลักษณะด้วยกัน เช่นเมื่อมีคนฉายไฟเข้าตาตาก็หรี่หรือกระพริบทันที หรือเวลาที่เราเดินชนพุ่มไม้หนามที่แหลมคม ก็จะสะดุ้งและดีดตัวกลับทันทีเป็นต้น ซึ่งปฏิกิริยาสะท้อนกลับเช่นนี้ มักจะทำไปโดยที่สมองยังไม่ได้สั่งการล่วงหน้าว่า ต้องทำอย่างนี้เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น

15.ร่างกายทำอะไรบ้าง ในยามที่เราหลับ?
การนอนหลับเป็นการพักผ่อนของร่างกายจากการทำงานหรือการทำกิจกรรมที่เหน็ดเหนื่อยมาตลอดทั้งวัน และในขณะที่เรากำลังนอนหลับอยู่นั้น อวัยวะบางอย่างก็ทำงานตามปกติ เช่น การหายใจ การสูบฉีดโลหิต และเซลล์ของร่างกายที่ชำรุดก็จะได้รับการซ่อมแซมให้ดีขึ้น และมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสมองของเราก็จะได้พักผ่อนไปด้วย คือการรับรู้จากประสาททั้ง 5 จะหยุดการทำงาน แต่ว่าสมองของเรายังคงตื่นตัวหรือรับรู้ความรู้สึกอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เรามีชีวิตอยู่ได้นั่นเอง



ถ้าไม่อยากอ่านฟังเลยค่ะ


15 คำถามไขปริศนาร่างกายมนุษย์ ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน

ขอบคุณ Youtube :: Sivakorn Pookanha


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์