ขณะที่ลูกสาวอายุ 10 ปีของฉันส่งถุงนอนและหมอนมาให้หลังจากที่กลับมาจากสปาปาร์ตี้ ฉันก็สังเกตเห็นว่าเล็บของเธอถูกตกแต่งด้วยสติ๊กเกอร์สารพัดสี เธอรู้ว่าฉันทำงานด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญฉันไม่อยากให้เธอทาเล็บ ฉันรู้สึกกลัวบวกกับยินดีที่ฉันได้กลายเป็น “คุณแม่คนนั้น” ที่ลูกไม่ทาเล็บเนื่องจากมันมีสารอันตราย ล่าสุดฉันโล่งใจเมื่อได้เห็นรายงานจากหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม (EWG)
ซึ่งสนับสนุนองค์กรที่ฉันเป็นกรรมการบริหารอยู่ รายงานเรื่อง “ยาทาเล็บคือสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อในร่างกายของผู้หญิง” พบว่าสารเคมีซึ่งเป็นส่วนประกอบในยาทาเล็บเพื่อสร้างความยืดหยุ่นและป้องกันรอยแตกได้เข้าไปในร่างกายของอาสาสมัครผู้หญิงทั้ง 26 คนที่ทาเล็บในการทดลองครั้งนี้โดยมีหลักฐานปรากฏอยู่ในปัสสาวะ ปัญหานี้ค่อนข้างรุนแรงกับผู้ที่ใช้ยาทาเล็บโดยเฉพาะเด็กๆในวัยแรกรุ่นและวัยรุ่น
นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าสารเคมีที่มีปัญหาคือไตรฟินิลฟอสเฟตหรือ TPHP ซึ่งจะรบกวนระบบฮอร์โมน อาการเริ่มต้นของวัยแรกรุ่นคือปัญหาทางระบบประสาทและโรคอ้วน รวมถึงอาจทำให้ระบบฮอร์โมนของเด็กๆเหล่านั้นเสียหาย ศิลปะการแต่งเล็บได้รับความนิยมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
ในวงการธุรกิจเกี่ยวกับเล็บประเมินว่า 9 ใน 10 ของเด็กผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 12-14 ปีนิยมใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเล็บเป็นประจำหรือทุกวัน เด็กผู้หญิงเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะสัมผัสกับ TPHP จากสารพัดแหล่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเป็นสารหน่วงไฟกระจายอยู่ในเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากโฟม เฟอร์นิเจอร์ทั่วไป และเคมีภัณฑ์อื่นๆ ที่สำคัญเด็กทารกและเด็กวัยหัดเดินที่เล่นบนพื้นมักจะพบปริมาณสารหน่วงไฟในร่างกายมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 3 เท่า การศึกษาในครั้งนี้ทำให้เรารู้ว่าไม่ใช่ยาทาเล็บทุกยี่ห้อที่จะพูดความจริงเกี่ยวกับสาร TPHP