อ่านซะถ้าไม่อยากเป็นมะเร็ง!! 15 ข้อชวนห่างไกลจากโรคมะเร็ง!!
1. เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือ ภายนอกร่างกาย ซึ่งปัจจุบันนี้เชื่อกันว่ามะเร็ง ส่วนใหญ่ เกิดจากสาเหตุได้แก่
- สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น สารพิษจาก เชื้อราที่มีชื่อ อัลฟาทอกซิน (Alfatoxin) สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง พวกไฮโดคาร์บอน (Hydrocarbon) สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหาร ชื่อไนโตรซามิน (Nitosamine) สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า
- รังสีเอ็กซเรย์ อุลตราไวโอเลตจากแสงแดด
- เชื้อไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมา
- การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
- จากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น
2. เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะทุพโภชนา เป็นต้น
1. ดื่มน้ำที่สะอาดและเพียงพอ เพื่อลดสารก่อโรคมะเร็งวิธีหนึ่ง มีศึกษาที่เพิ่มค้นพบใหม่จากสถิติของสถาบันมะเร็งพบว่า การดื่มน้ำสะอาดจากเครื่องกรองจะดีกว่าการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่มีคุณภาพน้ำต่ำกว่ามาตรฐาน และจากการศึกษาของสมาคมสิ่งแวดล้อมพบว่าการเก็บรักษาน้ำในเหยือกแก้ว หรือภาชนะสเตนเลส จะดีกว่าการเก็บรักษาในภาชนะพลาสติก และไม่ลืมที่จะดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำอย่างพอเพียงสามารถลดความเข้มข้นของการขับถ่ายปัสสาวะได้ และลดมะเร็งที่อาจเกิดขึ้นกับกระเพาะปัสสาวะได้ด้วย ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวันหรือให้ปริมาณปัสสาวะมีสีเจือจางเมื่อขับถ่ายทุกครั้ง
2. ไม่ควรสูดดมหรือสัมผัสก๊าซขณะเติมน้ำมันรถ เพราะสารพิษที่อยู่ในอากาศสามารถเข้าสู่ปอด และหากกระเด็นสู่ผิวหนังอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
3. ลดการกินอาหารปิ้ง-ย่าง โดยเฉพาะเนื้อแดง การกินอาหารประเภทปิ้งย่างนั้น หากมีการไหม้จะก่อสารมะเร็ง หรือมีเศษสีดำของการเผาของถ่านติดอยู่ก็จะทำให้เกิดมะเร็งได้ แนะนำให้มีการหมักเนื้อสัตว์ก่อนการปรุงอาหารด้วยสมุนไพรเครื่องเทศต่างๆ เช่น พริกไทย โรสแมรี่ ใบออริกาโน่ ฯลฯ งานวิจัยของมหาวิทยาลัย Kansas พบว่าการหมักเนื้อสัตว์เหล่านั้นก่อนการปิ้งย่างอย่างน้อยประมาณ 1 ชั่วโมงสามารถลดสารก่อมะเร็งจากการปิ้งย่างเผาได้ถึง
4. รับประทานผักผลไม้สีเขียวให้มาก เพราะสารแมกนีเซียมจากพืช ผักสีเขียวช่วยลดมะเร็งลำไส้ได้ ซึ่งดีต่อผู้หญิงเป็นอย่างมาก อีกทั้งการได้รับสารแมกนีเซียมที่เพียงพอ จะช่วยให้เซลล์ในร่างกายทำงานอย่างปกติ การรับประทานผักขมครึ่งถ้วยต่อวันให้ปริมาณแมกนิเซียม 75 มิลลิกรัม ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย
5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีอันตรายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสารจำพวกยาฆ่าแมลง น้ำยาทำความสะอาด น้ำมันเบนซิน เนื่องจากเต็มไปด้วยสารเคมีอันตรายที่เกี่ยวโยงกับการเกิดมะเร็ง ง่ายๆ ด้วยการจำกัดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเหล่านี้ในบ้าน หรือที่ทำงาน ย่อมเป็นการลดโอกาสในการสัมผัสกับสารก่อมะเร็งได้
6. มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ซึ่งไม่เพียงช่วยป้องกันการตั้งครรภ์โดยที่ไม่ตั้งใจ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เท่านั้น แต่ยังช่วยในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยและผู้หญิงทั่วโลก เชื่อกันว่าประมาณร้อยละ 70 ของมะเร็งปากมดลูก มีสาเหตุมาจาก Human Papillomavirus (HPV) ที่สำคัญเชื้อ HPV นี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งที่ทวารหนักและอวัยวะเพศอีกด้วย แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อ HPV ได้ในระดับหนึ่ง โดยต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์
7. ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแข็งแรง เป็นที่รู้กันดีว่าการออกกำลังกายช่วยส่งเสริมให้อวัยวะในร่างกายได้พัฒนา และแข็งแรง ป้องกันการเจ็บป่วย และต่อสู้กับอนุมูลอิสระหรือเชื้อโรคต่างๆ อย่างได้ผล อีกทั้งออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเผาผลาญไขมัน ดังนั้นการออกกำลังกายโดยการเดินเร็วอย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านมได้ถึง 18%
8. ลดการส่งเสื้อผ้าไปซักแห้ง จากการวิจัยของ National Academies of Science เมื่อต้นปี 2010 ระบุว่าการซักแห้งหรือซักน้ำมันโดยสาร perc (perchloroethylene) จะมีผลให้เกิดการก่อสารมะเร็งต่อปอด ไตและตับได้เมื่อสูดดมเป็นเวลานาน ดังนั้นการใช้สารซักแห้ง ซักน้ำมันที่ทำให้ผ้าเรียบอาจไม่ปลอดภัยจนเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งร้ายได้
9. หลีกเลี่ยงการผ่านสารรังสีโดยไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการฉายแสงตรวจดูมะเร็งเต้านมประจำปี การทำแมมโมแกรม เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดมะเร็งถึง 4-5 เท่าเลยทีเดียว การตรวจมะเร็งโดยใช้วิธีคลำหา และไม่ผ่านรังสีอาจช่วยลดความเสี่ยงภาวะการเกิดมะเร็งได้ดีกว่า
10. ไม่ใช้ควรโทรศัพท์มือถือแนบหูเป็นเวลานานๆ เนื่องจากมีการพบว่าสัญญาณโทรศัพท์มีคลื่นที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นการใช้โทรศัพท์นานๆ โดยมีอุปกรณ์เสริมจะลดผลกระทบต่อระบบประสาทและสมองได้
11. กินอาหารที่สะอาดถูกหลักอนามัย หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ ที่ปนเปื้อนสารปฏิชีวนะและฮอร์โมน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นที่น่าสงสัยว่า จะมีส่วนก่อให้เกิดปัญหาต่อมไร้ท่อรวมทั้งโรคมะเร็งอีกด้วย รวมถึงผักผลไม้ที่มีสารกำจัดศัตรูพืช แม้จะเป็นการหลีกเลี่ยงได้ยาก แนะนำให้เลือกซื้อเนื้อสัตว์จากแหล่งที่ไว้วางใจ และต้องล้างพืชผักทุกครั้งก่อนบริโภค
12. หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดอันรุนแรง เพราะแสงยูวีจากแสงอาทิตย์มีทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนัง และเป็นสาเหตุก่อให้เกิดมะเร็งได้ โดยเฉพาะมะเร็งผิวหนัง แดดที่ควรเลี่ยงคือช่วงเวลา 10.00-16.00 น. โดยประมาณ แต่หากว่าจำเป็นต้องเผชิญแสงแดดเวลาดังกล่าวนั้น ควรสวมเสื้อผ้าปกปิด และทาโลชั่นกันแดดเสมอ
13. เลือกรับประทานอาหารจำพวกธัญพืชให้มากขึ้น อาหารประเภทแป้งควรเลือกทานจำพวกขัดสีน้อย ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ฯลฯ แป้งข้าวสาลีดีกว่าขนมปังขาวทั่วๆ ไป และทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ด้วยมีสารอาหารวิตามินที่มีประโยชน์อยู่ในส่วนที่เป็นกาก และใยอาหารที่ช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล ช่วยให้อิ่มง่ายและขับถ่ายได้สะดวก มีการศึกษาพบว่าอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงจะทำให้การเพิ่มน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่-ทวาร ได้
14. ใส่ใจกับความเจ็บปวดต่างๆ อาการเจ็บป่วยต่างๆ ไม่ว่าจะอาการมากหรือน้อย หากเป็นบ่อยๆ เป็นเรื้อรัง ไม่ว่าจะท้องอืด ปวดบริเวณช่องท้อง ปวดหัว หรือภาวะเร่งด่วนเกี่ยวกับการขับปัสสาวะ ฯลฯ ควรรีบพบแพทย์หาสาเหตุและรักษาให้หายขาด เพราะอาการเหล่านี้อาจส่งสัญญาณเกี่ยวกับมะเร็ง หรือก่อให้เกิดมะเร็งได้
15. ไม่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ ทำให้เกิดการตายจากมะเร็งปอดได้ถึง 87% ซึ่งมะเร็งปอดนั้นจัดว่าเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญจากโรคมะเร็งทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย เพราะในบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากมาย อันเป็นสาเหตุก่อให้เกิดมะเร็งตามอวัยวะที่ควันบุหรี่ผ่านด้วย เช่น มะเร็งกล่องเสียง, มะเร็งช่องปาก, มะเร็งคอหอย, มะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, มะเร็งไต, มะเร็งตับอ่อน, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งเม็ดเลือดขาว และไม่ได้ส่งผลเพียงแค่คนที่สูบบุหรี่เท่านั้น ยังส่งผลต่อผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ เพียงแต่สูดดมควันพิษจากบุหรี่เข้าไปก็เสี่ยงต่อมะเร็งได้เช่นกัน