โรคกระเพาะอาหาร และ โรคกรดไหลย้อน ความเหมือนที่แตกต่าง
ทั้งโรคกระเพาะอาหารและโรคกรดไหลย้อน เป็นโรคที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น อาการของสองโรคนี้จะมีความคล้ายคลึงกัน ตรงที่มีอาการปวด จุกเสียดแน่นท้องคล้ายอาหารไม่ย่อย เหมือนมีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก ปวดแสบบริเวณลิ้นปี่ แต่ทั้งสองโรคนี้จะมีความเเตกต่างกันที่รายละเอียดของอาการและตำเเหน่งการแสดงอาการ
โรคกระเพาะอาหาร หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่าโรคแผลในกระเพาะอาหาร หมายถืง การเกิดแผลขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหาร ตรงส่วนที่สัมผัสกับน้ำย่อย ตำแหน่งที่พบอาการได้บ่อยจะอยู่ในกระเพาะส่วนปลาย ระหว่างรอยต่อของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
ซึ่งคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารแล้วไม่ได้รับการดูแล อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โรคกระเพาะอาหาร จะมีอาการปวดแสบ ปวดเสียด ตื้อ จุกและแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ ซึ่งอาการจะเด่นชัดทั้งเวลาก่อนและหลังรับประทานอาหารใหม่ๆ หรือเวลาที่ท้องว่างในตอนเช้าหรือก่อนนอน
อาการปวดเหล่านี้เกิดจากภาวะกรดในกระเพาะอาหารสูง กรดนี้จะทำให้เกิดการระคายเคืองกัดผนังกระเพาะจนทำให้เกิดแผล โดยอาการปวด จุกเสียดแน่นนี้จะเป็นๆ หายๆ ครั้งละ 15-30 นาที วันละหลายครั้งตามเวลาของมื้ออาหาร และจะทุเลาลงเมื่อทานอาหารและน้ำเข้าไป
เช็คหน่อยว่าเสี่ยงเป็นโรคกระเพาะหรือเปล่า
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารมาจาก 4 สาเหตุใหญ่ๆได้แก่
เกิดจากความบกพร่องทางร่างกายที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด อาจมีเนื้อเยื่อบุกระเพาะที่ไม่แข็งแรง ไม่สามารถทนกรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาได้ นานวันเข้าจึงทำให้เกิดแผลและเป็นโรคกระเพาะอาหารตามมา
เกิดจากภาวะทางอารมณ์ การทำงานหนักบนแรงกดดันสูง มีภาวะความเครียด วิตกกังวล หงุดหงิด นอนไม่หลับและพักผ่อนไม่เพียงพอ
เกิดจากลักษณะการใช้ชีวิต มีลักษณะการรับประทานอาหารที่ไม่ดี กินเร็ว รีบเร่ง ทานอาหารไม่เป็นเวลา อดหรือข้ามมื้ออาหาร ดื่มชา กาแฟมากเกินไป ดื่มเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือทานยาบางตัวที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร เช่น ยาจำพวกแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูก ข้อ ยาที่มีส่วนผสมของสตีรอยด์
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชนิด "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร" ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผนังและเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง มีความทนทานต่อกรดและน้ำย่อยน้อยลง ทำให้แผลหายช้า นอกจากนี้ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรยังเป็นเชื้อที่ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
โรคกรดไหลย้อน
สำหรับกรดไหลย้อน "เกิร์ด"(GERD) เป็นโรคที่เกิดจากภาวะที่มีน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด (ประกอบด้วย กรดเกลือ หรือกรดไฮโดรคลอลิก) ล้นไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการระคายเคือง บริเวณลำคอ แสบร้อนบริเวณทรวงอก และจุดเสียดแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ ซึ่งอาการที่คล้ายกันแบบนี้ทำให้คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคกระเพาะ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่
โรคกรดไหลย้อนเกิดจากความผิดปรกติของกล้ามเนื้อหูรูดตรงส่วนล่างของหลอดอาหาร หย่อนสมรรถภาพ โดยปรกติแล้วเมื่ออาหารเข้าไปสู่กระเพาะอาหาร หูรูดตัวนี้จะทำงานหดรัดเพื่อปิดกั้นไม่ให้น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร แต่สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคนี้หูรูดจะหย่อน ทำให้มีช่องว่างพอให้น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารมากกว่าปกติ เกิดความระคายเคืองขึ้นในหลอดอาหาร หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้เกิดอาการอักเสบที่เยื่อบุหลอดอาหารได้
ลักษณะอาการที่เด่นชัดของโรคกรดไหลย้อนคือ มีอาการแสบจุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือยอดอก หลังรับประทานอาหาร 30-60 นาที แน่นหน้าอกคล้ายกับอาหารไม่ย่อย อาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วยได้เช่นกัน เรอเปรี้ยว ขมคอ หายใจมีกลิ่น เสียงแหบ เจ็บคอ แสบลิ้น หรือไอ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ แต่จะเป็นมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และแต่ละครั้งจะกินเวลาประมาณ 1-2 ชม.
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน
โรคนี้สามารถเกิดจากภาวะความผิดปรกติที่เกิดขึ้นได้เองภายในร่างกาย และเกิดจากพฤติกรรมที่ไปกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรค
เกิดจากอาการเสื่อมสมรรถภาพของหูรูดหลอดอาหาร สาเหตุอาจมากจากความเสื่อมถอยตามอายุ เพราะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีมักพบว่าป่วยเป็นโรคนี้ หรือ เกิดจากการที่หูรูดยังเจริญไม่เต็มที่ซึ่งจะพบมากในทารก หรือเป็นความผิดปรกติที่มีมาตั้งแต่กำเนิด และ ยังพบว่าโรคกรดไหลย้อนอาจเป็นผลพวงจากโรคอื่นๆได้ด้วย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไส้เลื่อนดันกระบังลม และ ภาวะการตั้งครรภ์
เกิดจากพฤติกรรมที่กระตุ้นให้เกิดโรค เช่น ทานมากเกินไป ทานอาหารปริมาณมากๆในมื้อเดียวทำให้น้ำย่อยที่หลั่งออกมามีปริมาณมาก กระเพาะอาหารขยายตัวมากขึ้น ทำให้หูรูดคลายตัว นิสัยกินแล้วนอน กินแล้วนั่งงอตัว หรือโค้งตัวต่ำลง โดยเฉพาะหลังจากทานอาหารภายใน 2 ชม. แม้แต่การใส่กางเกงหรือรัดเข็มขัดแน่นจนเกินไปก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคได้
เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูงอย่างชาและกาแฟ นอกจากจะกระตุ้นการเกิดโรคกระเพาะอาหารแล้ว ยังทำให้เกิดภาวะหูรูดคลายตัวที่เป็นสาเหตุของโรคกรดไหลย้อนได้
เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงๆ ของทอดๆ มันๆ จะทำให้กระเพาะอาหารเคลื่อนตัวช้าลง ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้มากขึ้นเช่นกัน
เกิดจากการสูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีคาร์บอเนต การรับประทานอาหารรสจัด เผ็ด เปรี้ยว บ่อยๆปริมาณมากๆ ก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ ทำให้หูรูดคลายตัวและมีกรดในกระเพาะอาหารสูง
แนวทางการรักษาโรคกระเพาะอาหาร และ โรคกรดไหลย้อน
แนวทางการบรรเทาอาการของโรคทั้งสองโรคนี้ สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดและกระตุ้นอาการของโรค ทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบผิดๆ การทานอาหารมันๆ อาหารรสชาติจัดจ้านมากเกินไป ลดละเลิกการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาแฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ ทานอาหารในปริมาณที่พอดีไม่มากหรือน้อยเกินไป ทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ทานอาหารแล้วนอน เป็นต้น
แนวทางการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน เช่น การใช้ยาลดกรด ยาเคลือบเยื่อบุกระเพาะและหลอดอาหาร หรือยารักษาโรคกระเพาะ ยาลดกรดแผนปัจจุบันต่างๆ ซึ่งการใช้ยาเหล่านี้บ่อยๆ เป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย มีอาการไม่สบายท้อง เบื่ออาหาร ฯลฯ
แนวทางการรักษาด้วยสมุนไพร การรักษาด้วยสมุนไพรพื้นบ้านไทยอย่างขมิ้นชันก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่ได้รับความนิยม เนื่องจากขมิ้นชันเป็นสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหาร และกรดไหลย้อนได้ มีฤทธิ์ช่วยขับลม ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเมือกมาเคลือบเยื่อบุกระเพาะและลำไส้ ยับยั้งการหลั่งน้ำย่อย ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและระบบทางเดินอาหาร ต้านการอักเสบของลำไส้ใหญ่ และช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่ไม่มีพิษเฉียบพลัน ไม่สะสมในตับ ถือว่ามีความปลอดภัยสูงในการนำมาใช้รับประทาน
นอกจากขมิ้นชันจะดีกับกระเพาะและระบบทางเดินอาหารแล้ว ขมิ้นชันไม่เพียงแต่มีสรรพคุณในแง่การบรรเทาโรคเท่านั้น แต่ยังเป็นสมุนไพรที่ช่วยบำรุงร่างกายได้อีกด้วย ในขมิ้นชันนั้นอุดมไปด้วยวิตามิน เอ, ซี, อี ที่เมื่อทำงานพร้อมกันจะช่วยลดไขมันในตับ ช่วยให้การทำงานของระบบย่อยอาหารดีขึ้น ช่วยทำความสะอาดลำไส้ บำรุงสมอง และช่วยบำรุงปอด นอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชัน ยังช่วยยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย มีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบที่เกิดกับอวัยวะภายใน
ทานง่ายไม่ยุ่งยากอีกต่อไป
เดี๋ยวนี้การทานขมิ้นชันไม่เป็นเรื่องยุ่งยากอีกต่อไป อ้วยอันโอสถ ผู้ผลิตแคปซูลขมิ้นชันผงบรรจุในแคปซูลที่ไม่มีสารกันเสีย ปลอดภัยตามมารฐานการผลิตที่ได้คุณภาพ ด้วยประสบการณ์ การดำเนินธุรกิจทางด้านยาจากสมุนไพรมามากกว่า 65 ปี โดยให้ความสำคัญในกระบวนการผลิต ผ่านการควบคุมคุณภาพ ทุกขั้นตอนตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงกระบวนการสุดท้าย ทำให้ขมิ้นชัน ของบริษัท อ้วยอันโอสถ จำกัด ได้รับความไว้วางใจในคุณภาพจากผู้บริโภคทั่วประเทศ
ผลิตภัณฑ์ ขมิ้นชันชนิดแคปซูลไร้สารกันเสียจาก บริษัท อ้วยอันโอสถ จำกัด มีสรรพคุณทางยา ช่วยขับลม บรรเทาอาการท้องอืด แน่นท้อง บรรเทาอาการแผลในระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร และลำ ไส้ มีสารสีเหลืองส้มชื่อ curcumin และยังมีน้ำมันหอมระเหยง่าย เป็นน้ำมันที่มีสีเหลืองปนส้มอยู่ร้อยละ 2-6 แคปซูลขมิ้นชัน 1 เม็ด มีส่วนประกอบของขมิ้นชัน (Curcuma longa) 500 ม.ก. (มีสาร curcuminoids ไม่ต่ำกว่า 7% และ น้ำมันหอมระเหยไม่ต่ำกว่า 6%)
credit: thaicrudedrug.com, doctor.or.th, medplant.mahidol.ac.th, drug.pharmacy.psu.ac.th, guru.sanook.com, th.wikipedia.org, rspg.or.th, hiso.or.th, samunpri.com, ouayun.com, pharmacy.mahidol.ac.th
โรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหาร หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่าโรคแผลในกระเพาะอาหาร หมายถืง การเกิดแผลขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหาร ตรงส่วนที่สัมผัสกับน้ำย่อย ตำแหน่งที่พบอาการได้บ่อยจะอยู่ในกระเพาะส่วนปลาย ระหว่างรอยต่อของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
ซึ่งคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารแล้วไม่ได้รับการดูแล อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โรคกระเพาะอาหาร จะมีอาการปวดแสบ ปวดเสียด ตื้อ จุกและแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ ซึ่งอาการจะเด่นชัดทั้งเวลาก่อนและหลังรับประทานอาหารใหม่ๆ หรือเวลาที่ท้องว่างในตอนเช้าหรือก่อนนอน
อาการปวดเหล่านี้เกิดจากภาวะกรดในกระเพาะอาหารสูง กรดนี้จะทำให้เกิดการระคายเคืองกัดผนังกระเพาะจนทำให้เกิดแผล โดยอาการปวด จุกเสียดแน่นนี้จะเป็นๆ หายๆ ครั้งละ 15-30 นาที วันละหลายครั้งตามเวลาของมื้ออาหาร และจะทุเลาลงเมื่อทานอาหารและน้ำเข้าไป
เช็คหน่อยว่าเสี่ยงเป็นโรคกระเพาะหรือเปล่า
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารมาจาก 4 สาเหตุใหญ่ๆได้แก่
เกิดจากความบกพร่องทางร่างกายที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด อาจมีเนื้อเยื่อบุกระเพาะที่ไม่แข็งแรง ไม่สามารถทนกรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาได้ นานวันเข้าจึงทำให้เกิดแผลและเป็นโรคกระเพาะอาหารตามมา
เกิดจากภาวะทางอารมณ์ การทำงานหนักบนแรงกดดันสูง มีภาวะความเครียด วิตกกังวล หงุดหงิด นอนไม่หลับและพักผ่อนไม่เพียงพอ
เกิดจากลักษณะการใช้ชีวิต มีลักษณะการรับประทานอาหารที่ไม่ดี กินเร็ว รีบเร่ง ทานอาหารไม่เป็นเวลา อดหรือข้ามมื้ออาหาร ดื่มชา กาแฟมากเกินไป ดื่มเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือทานยาบางตัวที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร เช่น ยาจำพวกแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูก ข้อ ยาที่มีส่วนผสมของสตีรอยด์
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชนิด "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร" ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผนังและเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง มีความทนทานต่อกรดและน้ำย่อยน้อยลง ทำให้แผลหายช้า นอกจากนี้ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรยังเป็นเชื้อที่ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
โรคกรดไหลย้อน
สำหรับกรดไหลย้อน "เกิร์ด"(GERD) เป็นโรคที่เกิดจากภาวะที่มีน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด (ประกอบด้วย กรดเกลือ หรือกรดไฮโดรคลอลิก) ล้นไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการระคายเคือง บริเวณลำคอ แสบร้อนบริเวณทรวงอก และจุดเสียดแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ ซึ่งอาการที่คล้ายกันแบบนี้ทำให้คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคกระเพาะ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่
โรคกรดไหลย้อนเกิดจากความผิดปรกติของกล้ามเนื้อหูรูดตรงส่วนล่างของหลอดอาหาร หย่อนสมรรถภาพ โดยปรกติแล้วเมื่ออาหารเข้าไปสู่กระเพาะอาหาร หูรูดตัวนี้จะทำงานหดรัดเพื่อปิดกั้นไม่ให้น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร แต่สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคนี้หูรูดจะหย่อน ทำให้มีช่องว่างพอให้น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารมากกว่าปกติ เกิดความระคายเคืองขึ้นในหลอดอาหาร หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้เกิดอาการอักเสบที่เยื่อบุหลอดอาหารได้
ลักษณะอาการที่เด่นชัดของโรคกรดไหลย้อนคือ มีอาการแสบจุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือยอดอก หลังรับประทานอาหาร 30-60 นาที แน่นหน้าอกคล้ายกับอาหารไม่ย่อย อาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วยได้เช่นกัน เรอเปรี้ยว ขมคอ หายใจมีกลิ่น เสียงแหบ เจ็บคอ แสบลิ้น หรือไอ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ แต่จะเป็นมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และแต่ละครั้งจะกินเวลาประมาณ 1-2 ชม.
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน
โรคนี้สามารถเกิดจากภาวะความผิดปรกติที่เกิดขึ้นได้เองภายในร่างกาย และเกิดจากพฤติกรรมที่ไปกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรค
เกิดจากอาการเสื่อมสมรรถภาพของหูรูดหลอดอาหาร สาเหตุอาจมากจากความเสื่อมถอยตามอายุ เพราะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีมักพบว่าป่วยเป็นโรคนี้ หรือ เกิดจากการที่หูรูดยังเจริญไม่เต็มที่ซึ่งจะพบมากในทารก หรือเป็นความผิดปรกติที่มีมาตั้งแต่กำเนิด และ ยังพบว่าโรคกรดไหลย้อนอาจเป็นผลพวงจากโรคอื่นๆได้ด้วย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไส้เลื่อนดันกระบังลม และ ภาวะการตั้งครรภ์
เกิดจากพฤติกรรมที่กระตุ้นให้เกิดโรค เช่น ทานมากเกินไป ทานอาหารปริมาณมากๆในมื้อเดียวทำให้น้ำย่อยที่หลั่งออกมามีปริมาณมาก กระเพาะอาหารขยายตัวมากขึ้น ทำให้หูรูดคลายตัว นิสัยกินแล้วนอน กินแล้วนั่งงอตัว หรือโค้งตัวต่ำลง โดยเฉพาะหลังจากทานอาหารภายใน 2 ชม. แม้แต่การใส่กางเกงหรือรัดเข็มขัดแน่นจนเกินไปก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคได้
เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูงอย่างชาและกาแฟ นอกจากจะกระตุ้นการเกิดโรคกระเพาะอาหารแล้ว ยังทำให้เกิดภาวะหูรูดคลายตัวที่เป็นสาเหตุของโรคกรดไหลย้อนได้
เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงๆ ของทอดๆ มันๆ จะทำให้กระเพาะอาหารเคลื่อนตัวช้าลง ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้มากขึ้นเช่นกัน
เกิดจากการสูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีคาร์บอเนต การรับประทานอาหารรสจัด เผ็ด เปรี้ยว บ่อยๆปริมาณมากๆ ก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ ทำให้หูรูดคลายตัวและมีกรดในกระเพาะอาหารสูง
แนวทางการรักษาโรคกระเพาะอาหาร และ โรคกรดไหลย้อน
แนวทางการบรรเทาอาการของโรคทั้งสองโรคนี้ สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดและกระตุ้นอาการของโรค ทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบผิดๆ การทานอาหารมันๆ อาหารรสชาติจัดจ้านมากเกินไป ลดละเลิกการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาแฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ ทานอาหารในปริมาณที่พอดีไม่มากหรือน้อยเกินไป ทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ทานอาหารแล้วนอน เป็นต้น
แนวทางการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน เช่น การใช้ยาลดกรด ยาเคลือบเยื่อบุกระเพาะและหลอดอาหาร หรือยารักษาโรคกระเพาะ ยาลดกรดแผนปัจจุบันต่างๆ ซึ่งการใช้ยาเหล่านี้บ่อยๆ เป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย มีอาการไม่สบายท้อง เบื่ออาหาร ฯลฯ
แนวทางการรักษาด้วยสมุนไพร การรักษาด้วยสมุนไพรพื้นบ้านไทยอย่างขมิ้นชันก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่ได้รับความนิยม เนื่องจากขมิ้นชันเป็นสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหาร และกรดไหลย้อนได้ มีฤทธิ์ช่วยขับลม ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเมือกมาเคลือบเยื่อบุกระเพาะและลำไส้ ยับยั้งการหลั่งน้ำย่อย ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและระบบทางเดินอาหาร ต้านการอักเสบของลำไส้ใหญ่ และช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่ไม่มีพิษเฉียบพลัน ไม่สะสมในตับ ถือว่ามีความปลอดภัยสูงในการนำมาใช้รับประทาน
นอกจากขมิ้นชันจะดีกับกระเพาะและระบบทางเดินอาหารแล้ว ขมิ้นชันไม่เพียงแต่มีสรรพคุณในแง่การบรรเทาโรคเท่านั้น แต่ยังเป็นสมุนไพรที่ช่วยบำรุงร่างกายได้อีกด้วย ในขมิ้นชันนั้นอุดมไปด้วยวิตามิน เอ, ซี, อี ที่เมื่อทำงานพร้อมกันจะช่วยลดไขมันในตับ ช่วยให้การทำงานของระบบย่อยอาหารดีขึ้น ช่วยทำความสะอาดลำไส้ บำรุงสมอง และช่วยบำรุงปอด นอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชัน ยังช่วยยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย มีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบที่เกิดกับอวัยวะภายใน
ทานง่ายไม่ยุ่งยากอีกต่อไป
เดี๋ยวนี้การทานขมิ้นชันไม่เป็นเรื่องยุ่งยากอีกต่อไป อ้วยอันโอสถ ผู้ผลิตแคปซูลขมิ้นชันผงบรรจุในแคปซูลที่ไม่มีสารกันเสีย ปลอดภัยตามมารฐานการผลิตที่ได้คุณภาพ ด้วยประสบการณ์ การดำเนินธุรกิจทางด้านยาจากสมุนไพรมามากกว่า 65 ปี โดยให้ความสำคัญในกระบวนการผลิต ผ่านการควบคุมคุณภาพ ทุกขั้นตอนตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงกระบวนการสุดท้าย ทำให้ขมิ้นชัน ของบริษัท อ้วยอันโอสถ จำกัด ได้รับความไว้วางใจในคุณภาพจากผู้บริโภคทั่วประเทศ
ผลิตภัณฑ์ ขมิ้นชันชนิดแคปซูลไร้สารกันเสียจาก บริษัท อ้วยอันโอสถ จำกัด มีสรรพคุณทางยา ช่วยขับลม บรรเทาอาการท้องอืด แน่นท้อง บรรเทาอาการแผลในระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร และลำ ไส้ มีสารสีเหลืองส้มชื่อ curcumin และยังมีน้ำมันหอมระเหยง่าย เป็นน้ำมันที่มีสีเหลืองปนส้มอยู่ร้อยละ 2-6 แคปซูลขมิ้นชัน 1 เม็ด มีส่วนประกอบของขมิ้นชัน (Curcuma longa) 500 ม.ก. (มีสาร curcuminoids ไม่ต่ำกว่า 7% และ น้ำมันหอมระเหยไม่ต่ำกว่า 6%)
credit: thaicrudedrug.com, doctor.or.th, medplant.mahidol.ac.th, drug.pharmacy.psu.ac.th, guru.sanook.com, th.wikipedia.org, rspg.or.th, hiso.or.th, samunpri.com, ouayun.com, pharmacy.mahidol.ac.th