สำหรับอาหารที่บังคับใช้คำว่า "ควรบริโภคก่อน" โดยทั่วไปตามประกาศเป็นอาหารพร้อมบริโภค เช่น ขนม เครื่องดื่ม ซึ่งคำนิยาม คืออาหารที่สามารถทานต่อได้ในระยะหนึ่งหลังจากถึงวันที่ระบุแล้ว ไม่เป็นอันตราย แต่มีรสชาติที่ผิดเพี้ยนไป รวมทั้งคุณค่าทางโภชนาการลดน้อยลง ดังนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริโภคที่ต้องพิจารณาด้วยตัวเองว่าควรจะเก็บไว้อีกนานเท่าใด ส่วนคำว่า "หมดอายุ" เป็นประกาศเฉพาะอาหารที่บังคับใช้ ได้แก่ อาหารประเภทนมดัดแปลงสำหรับทารก ซึ่งคำนิยาม คือหลังจากวันที่ระบุแล้วห้ามรับประทาน เพราะอาจเป็นอันตราย
อย่างไรก็ตามหากพบอาหารทั้ง 2 กลุ่มนี้วางขายอยู่บนชั้นวางทั้งๆ ที่เลยวันที่ระบุบนฉลากมาแล้วถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
ทั้งนี้จากกระแสที่ว่า "อาหารหมดอายุแล้วยังกินต่อได้" เป็นคำพูดสั้นๆ ที่เผยแพร่ทั้งทางสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ หรือกระแสข่าวต่างประเทศเปิดร้านขายอาหารหมดอายุเพื่อลดปริมาณอาหารขยะนั้น บางครั้งอาจส่งผลให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดคิดว่าการรับประทานอาหารหมดอายุไม่เป็นอันตราย ดังนั้นอย่าปักใจเชื่อ ควรศึกษาหรืออ่านคำขยายความให้จบเสียก่อน
อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษาสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ไขปัญหา "อาหารหมดอายุ" ว่าอาหารที่ถูกเก็บอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นสูญญากาศ เช่น นม และอาหารกระป๋องต่างๆ การเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นตัวการทำให้อาหารบูดเน่าไม่ค่อยเกิด เราจึงเห็นว่าหารประเภทนี้มีวันหมดอายุที่ยาวนาน1-2 ปี แต่ถ้าหมดอายุแล้วมักมีคำถามตามว่า "สามารถกินต่อได้หรือไม่" ซึ่งจุดสำคัญ คือเราไม่รับประกันว่ากล่องนม หรือกระป๋องที่เก็บไว้นานๆ นั้นจะโดนแสงแดด ความร้อน หรือถูกกระแทกจนแตกหรือไม่ เพราะหากมีรอยแตกจะทำให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าไปได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของรสชาติ กลิ่นของอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงคุณค่าทางโภชนาการที่ลดน้อยลง จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมต้องมีการกำหนดวันที่ "ควรบริโภคก่อน"

Love illusion ความรักลวงตา เพลงที่เข้ากับสังคมonline
Love illusion Version 2คนฟังเยอะ จนต้องมี Version2กันทีเดียว
Smiling to your birthday เพลงเพราะๆ ไว้ส่งอวยพรวันเกิด หรือร้องแทน happybirthday