เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาครอบครัวของเราไปดูภาพยนตร์เรื่องขงจื้อ แต่ช่วงโฆษณาคั่นก่อนที่ภาพยนตร์จะฉาย ก็ได้ดูภาพยนตร์ไทยตัวอย่างเรื่องหนึ่งที่ผู้กำกับชื่อดังในบ้านเรานำมาสร้าง เป็นเรื่องราวของเด็กคนหนึ่งที่มีอาการ "ฮิคิโคโมริ"
เป็นการได้ยินอีกครั้ง...เพราะก่อนหน้านี้มีเพื่อนคนหนึ่งส่งข้อมูลเรื่องนี้มาให้ ทำให้ดิฉันได้มีโอกาสพูดคุยกับนักจิตวิทยาถึงเรื่องดังกล่าว ก็ได้รับคำตอบว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นในสังคมประเทศญี่ปุ่น และมีแนวโน้มที่จะเกิดกับประเทศที่มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกันอีกหลายประเทศ โดยเฉพาะในแถบเอเชีย
สอดคล้องกับข้อมูลที่คุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ กล่าวไว้ว่ามีรายงานเด็กญี่ปุ่นจำนวนมากมีอาการฮิคิโคโมริ มาตั้งแต่ปี 1996 และยังพบรายงานเกี่ยวกับเด็กที่มีอาการคล้ายคลึงกันนี้จากประเทศเกาหลี ไต้หวัน และสิงคโปร์ด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศที่กล่าวมาล้วนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจมั่งคั่งทั้งสิ้น
ฮิคิโคโมริ (Hikikomori) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า "ฮิคกี้" เป็นปรากฎการณ์ (Phenomenon) อธิบายถึงพฤติกรรมของเด็กที่แยกตัวออกมาจากสังคม พยายามพบเจอผู้คนให้น้อยที่สุด อาการของเด็กที่เป็นฮิคิโคโมริ มักจะเก็บตัวในห้องส่วนตัว หรือในบ้านเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่ยอมไปโรงเรียน ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็อาจจะอ่านหนังสือการ์ตูน เล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต ดูทีวี หรืออาจจะนั่งเฉยๆ อยู่ในห้องคนเดียวได้เป็นเดือนๆ เป็นปีๆ หรือหลายๆ ปี
นักจิตวิทยาญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งให้ความเห็นว่า ฮิคิโคโมริเกิดขึ้นได้เฉพาะในประเทศญี่ปุ่น เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมและมิใช่โรคทางจิตเวช ..!!
เหตุผลที่ได้รับการวิเคราะห์ว่าเกิดเฉพาะในญี่ปุ่น เพราะระบบการศึกษาในญี่ปุ่นเคี่ยวเข็ญเด็กอย่างเอาเป็นเอาตาย การเรียนการสอนก็เป็นบรรยากาศของการแข่งขันที่เริ่มตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลไปจนกระทั่งโต การสอบแข่งขันในแต่ละครั้ง เด็ก ๆ ได้รับความกดดันสูงมาก อีกทั้งญี่ปุ่นก็มีระบบการจ้างงาน มีวัฒนธรรมการทำงานที่เรียกร้องให้คนทำงานหนักมากจนถึงหนักที่สุด ประกอบกับเคยผ่านความบอบช้ำมาจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้โครงสร้างเหล่านี้ฝังตัวอยู่ในสังคมญี่ปุ่นมานานกว่าครึ่งศตวรรษ
ระวัง!! ฮิคิโคโมริ โรคเก็บตัวอยู่ในห้อง
ฮิคิโคโมริ : อาการป่วยทางสังคมของเด็กยุคนี้ที่พ่อแม่ต้องรู้
อาการฮิคิโคโมริ ถูกกระตุ้นให้เห็นอย่างชัดเจน เนื่องเพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ดีระดับต้นๆ ของโลก ทั้งชีวิตที่สะดวกสบายขึ้น มีทั้งโทรทัศน์ เกม คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ ทำให้เด็กฮิคิโคโมริสามารถขังตัวเองอยู่ในห้องได้นานขึ้น
นักจิตวิทยาญี่ปุ่นมีความเห็นว่าฮิคิโคโมริเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างแท้จริง เกิดขึ้นเพราะเด็กญี่ปุ่นไม่ยอมรับวิถีชีวิตในสังคมของคนส่วนใหญ่ เขาจึงกำหนดตนเอง (autonomy) เขาพอใจชีวิตที่เป็นและไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร
ครอบครัวของเด็กที่มีอาการฮิคิโคโมริมักจะอับอายที่มีเด็กเช่นนี้อยู่ในบ้าน เมื่ออับอายก็ซ่อน เมื่อซ่อนก็เท่ากับหมักหมมปัญหา ทำให้อาการของเด็กรุนแรงมากขึ้นและยากต่อการเข้าช่วยเหลือ
ยิ่งไปกว่านั้นนักจิตวิทยาจำนวนหนึ่งยังเชื่อว่า อีกสาเหตุก็เพราะครอบครัวของเด็กเองก็มีส่วนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเป็นแม่สนับสนุนให้เป็นเช่นนั้น อย่างน้อยก็ตอนเริ่มต้น คุณแม่จำนวนมากต้องการปกป้องลูกของตนจากการถูกรังแกที่โรงเรียน ทั้งยังเห็นว่าการที่ลูกอยู่ในห้องภายในบ้าน ก็เป็นการอยู่ในสายตา ยังดีกว่าหายตัวไปข้างนอก
เด็กฮิคิโคโมริมักเป็นเด็กผู้ชายและมักเป็นลูกคนโต เด็กเหล่านี้จะไม่ไปโรงเรียน ใช้ชีวิตในห้องส่วนตัวตลอดเวลา ส่วนใหญ่จะนอนเวลากลางวันและตื่นเวลากลางคืน อาจจะออกจากห้องไปที่ครัวในกลางดึก หรือออกจากบ้านกลางดึกเพื่อไปซื้อเสบียงจากร้านสะดวกซื้อ กิจกรรมที่พวกเขาทำขณะตื่นกลางดึก ก็คือดูทีวีไปเรื่อยๆ ท่องไปในโลกไซเบอร์ เล่นเกม และอ่านการ์ตูน
แพทย์มองว่า ฮิคิโคโมริ ไม่ใช่โรค ดังนั้น การบำบัดอาการฮิคิโคโมริสามารถทำโดยการนำตัวเด็กที่เป็นฮิคิโคโมริมารวมกลุ่มกัน แล้วใช้ระบบเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อไม่ให้คนกลุ่มฮิคิโคโมริถูกตัดขาดจากสังคมมากจนเกินไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงวินิทรา นวลละออง จิตแพทย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายเรื่องนี้ได้น่าสนใจว่า มีหลายทฤษฎีที่อธิบายสาเหตุของปรากฏการณ์นี้ได้ นั่นคือทางสังคมวิทยา ทางจิตวิทยา และทางการแพทย์
ทางสังคมวิทยา น่าสังเกตว่าฮิคกี้มีแต่ในประเทศพัฒนาแล้วที่มีวัฒนธรรมทำนองว่า "คนที่มีคุณค่าต้องเก่ง" และ "ทำอะไรต้องคิดถึงสายตาคนอื่นก่อน" ฮิคกี้มีบุคลิกพื้นฐานที่อ่อนไหวต่อคำวิจารณ์อยู่แล้ว เมื่อไปเกิดในวัฒนธรรมที่เข้มงวด แม้ว่าจะเก่งมาจากไหน แต่แค่พลาดครั้งเดียวอาจทำให้รู้สึกว่าชีวิตนี้หมดสิ้นแล้ว เขาจึงกลัวสังคมและถอยหนีมาอยู่กับตัวเองเพียงคนเดียว
ทางจิตวิทยา ฮิคกี้มีลักษณะเด่นคือการ "หนี" (avoidance) คำว่า หนี ไม่เหมือนเพิกเฉย (denial) หรือชอบอยู่คนเดียวอย่างสงบ (schizoid) แต่การหนีหมายถึงที่จริงอยากมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เพียงแต่ด้วยปัจจัยบางอย่างทำให้เขามีปฏิสัมพันธ์ได้อย่างจำกัดมากๆ เช่น อยู่กับเพื่อนได้ไม่นาน หรืออยู่ได้กับเพื่อนบางคนที่เข้าใจ ปัญหาคือคนที่จะเข้าใจข้อจำกัดนี้มีไม่มากนัก กระทั่งพ่อแม่บางทีก็ไม่เข้าใจเพราะคิดไปว่าลูกเป็นฮิคกี้แสดงว่าลูกอยากอยู่คนเดียวจึงถอยหนีออกมา สุดท้ายคิดว่าอยากทำอะไรก็ให้ทำไป ฮิคกี้จึงเหมือนตัดขาดจากโลกภายนอก
ทางการแพทย์ มีโรคหนึ่งชื่อว่ากลุ่ม PDDs (Pervasive Developmental Disorders) ซึ่งการแสดงออกคล้ายฮิคกี้มาก ส่วนที่เหมือนคือ PDDs มักอยู่กับตัวเอง ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์หรือการเข้าสังคม แต่ PDDs ไม่ใช่ปัจจัยหลักให้เกิดฮิคกี้แน่ๆ เพราะ PDDs ประเทศอื่นไม่เห็นเป็นฮิคกี้เลย มีแต่ญี่ปุ่นนี่แหละที่เป็น ดังนั้น ปัจจัยเรื่องวัฒนธรรมจึงน่าจะเป็นปัจจัยหลักมากกว่า ส่วนเรื่องทางการแพทย์ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ในสังคมขึ้น
นักจิตวิทยาญี่ปุ่นมีความเห็นว่าฮิคิโคโมริเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างแท้จริง เกิดขึ้นเพราะเด็กญี่ปุ่นไม่ยอมรับวิถีชีวิตในสังคมของคนส่วนใหญ่ เขาจึงกำหนดตนเอง (autonomy) เขาพอใจชีวิตที่เป็นและไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร
ครอบครัวของเด็กที่มีอาการฮิคิโคโมริมักจะอับอายที่มีเด็กเช่นนี้อยู่ในบ้าน เมื่ออับอายก็ซ่อน เมื่อซ่อนก็เท่ากับหมักหมมปัญหา ทำให้อาการของเด็กรุนแรงมากขึ้นและยากต่อการเข้าช่วยเหลือ
ยิ่งไปกว่านั้นนักจิตวิทยาจำนวนหนึ่งยังเชื่อว่า อีกสาเหตุก็เพราะครอบครัวของเด็กเองก็มีส่วนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเป็นแม่สนับสนุนให้เป็นเช่นนั้น อย่างน้อยก็ตอนเริ่มต้น คุณแม่จำนวนมากต้องการปกป้องลูกของตนจากการถูกรังแกที่โรงเรียน ทั้งยังเห็นว่าการที่ลูกอยู่ในห้องภายในบ้าน ก็เป็นการอยู่ในสายตา ยังดีกว่าหายตัวไปข้างนอก
เด็กฮิคิโคโมริมักเป็นเด็กผู้ชายและมักเป็นลูกคนโต เด็กเหล่านี้จะไม่ไปโรงเรียน ใช้ชีวิตในห้องส่วนตัวตลอดเวลา ส่วนใหญ่จะนอนเวลากลางวันและตื่นเวลากลางคืน อาจจะออกจากห้องไปที่ครัวในกลางดึก หรือออกจากบ้านกลางดึกเพื่อไปซื้อเสบียงจากร้านสะดวกซื้อ กิจกรรมที่พวกเขาทำขณะตื่นกลางดึก ก็คือดูทีวีไปเรื่อยๆ ท่องไปในโลกไซเบอร์ เล่นเกม และอ่านการ์ตูน
แพทย์มองว่า ฮิคิโคโมริ ไม่ใช่โรค ดังนั้น การบำบัดอาการฮิคิโคโมริสามารถทำโดยการนำตัวเด็กที่เป็นฮิคิโคโมริมารวมกลุ่มกัน แล้วใช้ระบบเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อไม่ให้คนกลุ่มฮิคิโคโมริถูกตัดขาดจากสังคมมากจนเกินไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงวินิทรา นวลละออง จิตแพทย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายเรื่องนี้ได้น่าสนใจว่า มีหลายทฤษฎีที่อธิบายสาเหตุของปรากฏการณ์นี้ได้ นั่นคือทางสังคมวิทยา ทางจิตวิทยา และทางการแพทย์
ทางสังคมวิทยา น่าสังเกตว่าฮิคกี้มีแต่ในประเทศพัฒนาแล้วที่มีวัฒนธรรมทำนองว่า "คนที่มีคุณค่าต้องเก่ง" และ "ทำอะไรต้องคิดถึงสายตาคนอื่นก่อน" ฮิคกี้มีบุคลิกพื้นฐานที่อ่อนไหวต่อคำวิจารณ์อยู่แล้ว เมื่อไปเกิดในวัฒนธรรมที่เข้มงวด แม้ว่าจะเก่งมาจากไหน แต่แค่พลาดครั้งเดียวอาจทำให้รู้สึกว่าชีวิตนี้หมดสิ้นแล้ว เขาจึงกลัวสังคมและถอยหนีมาอยู่กับตัวเองเพียงคนเดียว
ทางจิตวิทยา ฮิคกี้มีลักษณะเด่นคือการ "หนี" (avoidance) คำว่า หนี ไม่เหมือนเพิกเฉย (denial) หรือชอบอยู่คนเดียวอย่างสงบ (schizoid) แต่การหนีหมายถึงที่จริงอยากมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เพียงแต่ด้วยปัจจัยบางอย่างทำให้เขามีปฏิสัมพันธ์ได้อย่างจำกัดมากๆ เช่น อยู่กับเพื่อนได้ไม่นาน หรืออยู่ได้กับเพื่อนบางคนที่เข้าใจ ปัญหาคือคนที่จะเข้าใจข้อจำกัดนี้มีไม่มากนัก กระทั่งพ่อแม่บางทีก็ไม่เข้าใจเพราะคิดไปว่าลูกเป็นฮิคกี้แสดงว่าลูกอยากอยู่คนเดียวจึงถอยหนีออกมา สุดท้ายคิดว่าอยากทำอะไรก็ให้ทำไป ฮิคกี้จึงเหมือนตัดขาดจากโลกภายนอก
ทางการแพทย์ มีโรคหนึ่งชื่อว่ากลุ่ม PDDs (Pervasive Developmental Disorders) ซึ่งการแสดงออกคล้ายฮิคกี้มาก ส่วนที่เหมือนคือ PDDs มักอยู่กับตัวเอง ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์หรือการเข้าสังคม แต่ PDDs ไม่ใช่ปัจจัยหลักให้เกิดฮิคกี้แน่ๆ เพราะ PDDs ประเทศอื่นไม่เห็นเป็นฮิคกี้เลย มีแต่ญี่ปุ่นนี่แหละที่เป็น ดังนั้น ปัจจัยเรื่องวัฒนธรรมจึงน่าจะเป็นปัจจัยหลักมากกว่า ส่วนเรื่องทางการแพทย์ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ในสังคมขึ้น
อาการอื่นที่มีความคล้ายคลึงกับ ฮิคิโคโมริ
Otaku (โอตากุ) เดิมใช้เรียกคนที่ชอบการ์ตูนมากจนเกินไปโดยไม่แคร์สายตาใคร มักมีลักษณะเข้าสังคมได้ยาก แต่เหล่าโอตากุยังมีการปฏิสัมพันธ์กับคนที่คลั่งไคล้ในสิ่งที่ชอบเหมือนกัน ในขณะที่ฮิคิโคโมริจะเป็นพวกจงใจตัดตัวเองจากสังคม
NEETs (นีท) ย่อมาจาก "Not in Employment, Education or Training" หมายถึง คนที่อยู่บ้านเฉยๆ ไม่มีงานทำเป็นหลักแหล่ง หรือพวกทำงานพาร์ทไทม์ บางทีก็เหมารวมแม่บ้านที่อยู่บ้านเลี้ยงลูกอย่างเดียวหรือทำแต่งานบ้านโดยไม่ได้เลี้ยงลูก NEETs เป็นคำที่มีความหมายในเชิงดูถูกและกดดัน เพราะสังคมที่ใช้คำนี้คือสังคมที่ให้คุณค่ากับคนที่ "มีงานทำและมีอนาคตที่ดี" NEETs ไม่ชอบเข้าสังคม แต่ต่างจากฮิคกี้ตรงที่ NEETs ไม่ได้หนี เพียงแต่ใช้วิธีถอยเท่านั้น ไม่ถึงขั้นกลัวคนเหมือนฮิคกี้
Freeter (ฟุริตะ หรือ ฟรีตา) หมายถึงคนที่อยู่ในวัยทำงานแล้ว แต่กลับไม่ทำงานให้มั่นคงเป็นชิ้นเป็นอัน อาจจะได้งานประเภทรับจ้างเล็กๆ น้อยๆ ค่าแรงรายวัน เปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ ในประเทศพัฒนาแล้วจะมองว่าฟรีเตอร์เป็นกาฝาก
แม้ขณะนี้จะยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าบ้านเรามีเด็กที่ป่วยด้วยอาการฮิคิโคโมริ แต่ด้วยรูปแบบและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วของเด็กๆ ในบ้านเรา ที่มุ่งสู่แนวทางระบบการศึกษาแบบแข่งขันทุกรูปแบบ การแก่งแย่ง เพื่อเป็นหนึ่งกำลังก่อตัวอย่างรวดเร็ว และด้วยเทคโนโลยีสารพัดที่ถาโถมเข้าใส่เด็กและเยาวชนในปัจจุบัน ประกอบกับพ่อแม่ไม่มีเวลาอยู่กับลูก เราจะพบเห็นเด็กจำนวนมากที่เริ่มปลีกตัวจากสังคม และอยากอยู่คนเดียวโดยไม่สนใจผู้อื่นเพิ่มเมากขึ้นเรื่อยๆ
ไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้ลูกของเรามีอาการใดอาการหนึ่งทางสังคมที่ผิดปกติ และมากยิ่งไปกว่านั้นไม่อยากให้บ้านเรามีเด็กที่เข้าข่ายมีอาการดังกล่าวด้วยเช่นกัน
Otaku (โอตากุ) เดิมใช้เรียกคนที่ชอบการ์ตูนมากจนเกินไปโดยไม่แคร์สายตาใคร มักมีลักษณะเข้าสังคมได้ยาก แต่เหล่าโอตากุยังมีการปฏิสัมพันธ์กับคนที่คลั่งไคล้ในสิ่งที่ชอบเหมือนกัน ในขณะที่ฮิคิโคโมริจะเป็นพวกจงใจตัดตัวเองจากสังคม
NEETs (นีท) ย่อมาจาก "Not in Employment, Education or Training" หมายถึง คนที่อยู่บ้านเฉยๆ ไม่มีงานทำเป็นหลักแหล่ง หรือพวกทำงานพาร์ทไทม์ บางทีก็เหมารวมแม่บ้านที่อยู่บ้านเลี้ยงลูกอย่างเดียวหรือทำแต่งานบ้านโดยไม่ได้เลี้ยงลูก NEETs เป็นคำที่มีความหมายในเชิงดูถูกและกดดัน เพราะสังคมที่ใช้คำนี้คือสังคมที่ให้คุณค่ากับคนที่ "มีงานทำและมีอนาคตที่ดี" NEETs ไม่ชอบเข้าสังคม แต่ต่างจากฮิคกี้ตรงที่ NEETs ไม่ได้หนี เพียงแต่ใช้วิธีถอยเท่านั้น ไม่ถึงขั้นกลัวคนเหมือนฮิคกี้
Freeter (ฟุริตะ หรือ ฟรีตา) หมายถึงคนที่อยู่ในวัยทำงานแล้ว แต่กลับไม่ทำงานให้มั่นคงเป็นชิ้นเป็นอัน อาจจะได้งานประเภทรับจ้างเล็กๆ น้อยๆ ค่าแรงรายวัน เปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ ในประเทศพัฒนาแล้วจะมองว่าฟรีเตอร์เป็นกาฝาก
แม้ขณะนี้จะยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าบ้านเรามีเด็กที่ป่วยด้วยอาการฮิคิโคโมริ แต่ด้วยรูปแบบและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วของเด็กๆ ในบ้านเรา ที่มุ่งสู่แนวทางระบบการศึกษาแบบแข่งขันทุกรูปแบบ การแก่งแย่ง เพื่อเป็นหนึ่งกำลังก่อตัวอย่างรวดเร็ว และด้วยเทคโนโลยีสารพัดที่ถาโถมเข้าใส่เด็กและเยาวชนในปัจจุบัน ประกอบกับพ่อแม่ไม่มีเวลาอยู่กับลูก เราจะพบเห็นเด็กจำนวนมากที่เริ่มปลีกตัวจากสังคม และอยากอยู่คนเดียวโดยไม่สนใจผู้อื่นเพิ่มเมากขึ้นเรื่อยๆ
ไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้ลูกของเรามีอาการใดอาการหนึ่งทางสังคมที่ผิดปกติ และมากยิ่งไปกว่านั้นไม่อยากให้บ้านเรามีเด็กที่เข้าข่ายมีอาการดังกล่าวด้วยเช่นกัน
ขอขอบคุณ : ผู้จัดการออนไลน์
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!