หนึ่งในนั้นก็คือแนวโน้มในการก่อความรุนแรง โดยการถามพวกเขาว่า พวกเขาเห็นด้วยกับคำกล่าวเช่น "ถ้าถูกยั่วยุมากพอล่ะก็ ฉันอาจจะทำร้ายคนอื่นได้" อีกข้อหนึ่งก็คือ การดูว่าพวกเขานั้นมีความเจ้ากี้เจ้าการมากแค่ไหนและข้อที่สามนั้นดูไปที่บุคลิคภาพ 5 อย่าง หรือ Big 5 นั่นเอง (ความไว้วางใจ, ความผ่อนปรน, การรองรับแรงกดดัน, การเปิดรับความแปลกใหม่, ความชื่นชอบสัมพันธภาพ)
ท้ายที่สุดแล้ว พวกเขาได้ดูว่าผู้เข้าร่วมนั้นรู้สึกตื่นเต้นจากความเจ็บปวดของผู้อื่นมากน้อยแค่ไหนด้วยการขอให้พวกเขาให้คะแนนข้อความอย่างเช่น "ฉันชื่นชอบการทรมานผู้อื่น" และ "บางครั้งชั้นก็เปิดหนังฆาตรกรรมเหวอะหวะดูซ้ำๆ" ซึ่งพวกเขาได้พบการเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างผู้ที่แสดงให้เห็นถึงบุคลลิคปฏิเสธสังคมและผู้ที่ชื่นชอบรสชม โดยเฉพาะรสกาแฟ เบียร์ น้ำโทนิค และหัวไชเท้า
ดังนั้น กาแฟที่เราเลือกดื่มนั้นจึงเป็นสิ่งสะท้อนที่ค่อนข้างแม่นยำว่าเราชื่นชอบรสขมมากขนาดไหน ซึ่งจากงานวิจัยชิ้นนี้ ถ้าหากว่าคุณชอบกาแฟใส่นมหรือกาแฟรสหวานล่ะก็ คุณก็ไม่ได้ชื่นชอบรสขมเท่าไหร่นัก และมีแนวโน้มที่จะแสดงแนวโน้มของการเป็นคนที่ผ่อนปรน ใจดี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
การวิจัยลักษณะนิสัยที่เกี่ยวเนื่องกับความชื่นชอบในรสชาตินั้นไม่ใช่การวิจัยชนิดใหม่สำหรับจิตวิทยาแต่อย่างใด ซึ่งมีงานวิจัยชิ้นก่อนหน้านี้ได้ชี้ให้เห็นว่าการไม่ชอบรสขมนั้นเชื่อมโยงเข้ากับความอ่อนไหวทางอารมณ์ที่เพิ่มขึ้นในมนุษย์และหนู และงานวิจัยชิ้นอื่นๆ เองก็ได้พบว่า คนที่ชื่นชอบรสเผ็ดและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนนั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นคนที่มองหาความตื่นเต้น
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องรู้ว่า ความชื่นชอบในรสชาตินั้นได้รับอิทธิพลอย่างมากจากวัฒนธรรมและประสบการณ์ในอดีตต่างๆ ของเรา ซึ่งนักวิจัยของงานวิจัยชิ้นดังกล่าวก็ยังได้พบว่า มีความเห็นเชิงส่วนตัวจำนวนมากในเรื่องของอาหารที่ผู้เข้าร่วมทดสอบจัดว่าเป็นอาหารที่มีรสขม ยิ่งไปกว่านั้น ตัวงานวิจัยก็ไม่ได้สรุปอย่างชัดเจนว่าสิ่งใดที่ทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่าง "แนวโน้มในการมีอาการทางจิต" และการชื่นชอบรสขมอีกด้วย
ดังนั้นก่อนที่เราจะไปมองคนในร้านสตาร์บัคส์ที่สั่งกาแฟดำด้วยสายตาแปลกๆ ล่ะก็ อย่าลืมว่างานวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้หมายความว่าถ้าชอบกาแฟดำล่ะก็จะต้องเป็นคนโรคจิตเสมอไป
ที่มา : vcharkarn.com