พบสาเหตุที่คนเรากินทั้งที่ไม่ได้หิว

เคยรู้สึกไหมว่ากำลังจะกินเค้กอีกซักก้อนทั้งที่ไม่ได้หิวเลย เป็นไปได้ว่าเราอาจจะขาดฮอร์โมนบางอย่างในสมองที่ทำให้เกิดความรู้สึกอยากกินเพื่อความพอใจของตนเองจนกระทั่งเกินพอดี

คณะแพทยศาสตร์ รัตเจอร์ส โรเบิร์ต วูด จอห์นสัน แห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริกา เผยแพร่งานวิจัยในวารสารวิชาการ Cell Reports โดยระบุว่าเมื่อฮอร์โมน glucagon like peptide-1 หรือ GLP-1 ในระบบประสาทส่วนกลางของหนูในห้องทดลองลดลงไป หนูจะกินมากขึ้นและมักจะกินอะไรที่มีไขมันสูง

หนูที่ขาดฮอร์โมน GLP-1 มักจะกินจนได้รับแคลอรีมากเกินความจำเป็น และเริ่มมีความชอบอาหารที่มีไขมันสูงมากขึ้น" วินเซนต์ ไมราเบลลา นักศึกษาปริญญาเอกในการศึกษาครั้งนี้เผย

"ในทางตรงข้าม เมื่อฮอร์โมน GLP-1 ส่งสัญญาณในสมองของหนูมากขึ้น เราสามารถทำให้หนูหยุดกินอาหารที่มีไขมันสูงได้"

เปปไทด์ GLP-1 เป็นกรดลำดับของกรดอะมิโนที่สั้นมาก มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการควบคุมน้ำหนักของร่างกายของเรา ฮอร์โมนนี้จะหลั่งในลำไส้และในสมอง ทำให้สมองรับรู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะพอใจและวางส้อมลง

นักวิทยาศาสตร์ที่รัตเจอร์สเผยว่า ก่อนหน้านี้ยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าฮอร์โมน GLP-1 ที่ถูกปล่อยมาในสมองนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมการอยากอาหารอย่างไร แม้ฮอร์โมนนี้เป็นเหตุผลเพียงข้อเดียวของการที่คนเรากินมากไป แต่การศึกษาครั้งนี้ก็ทำให้เราได้ทราบชัดขึ้นแล้วว่า งานวิจัยที่จะควบคุมการบริโภคมากเกินจำเป็นและโรคอ้วนแบบที่มีผลข้างเคียงน้อยนั้นควรจะเน้นไปที่การศึกษาเซลล์ประสาทระบบโดปามีนของกระบวนการเมตาบอลิซึม อันเป็นระบบการให้รางวัลของร่างกาย

ในการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยได้พบว่า การให้ฮอร์โมน GLP-1 กระตุ้นในระบบเมตาบอลิซึมจะไปขัดขวางการสื่อสารของเซลล์ประสาทส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบการให้รางวัลรวมถึงการให้รางวัลด้วยการกินด้วย ผลทีเกิดขึ้นกับหนูก็คือ หนูจะกินอาหารน้อยลงและกินเฉพาะอาหารที่สำคัญ เริ่มไม่ได้ชอบอาหารที่มีไขมันสูงเท่าไหร่

"บริเวณนี้เป็นบริเวณเดียวกับสมองที่ควบคุมพฤติกรรมเสพติดทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติดหรือการติดเหล้า บุหรี่ เราเชื่อว่างานของเราสามารถนำไปสรุปได้อีกมากมาย และเราก็จะเข้าใจต่อไปว่าฮอร์โมน GLP-1 นี้มีผลกับพฤติกรรมคนเราอย่างไร" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ซีปิง ปัง นักวิจัยร่วมเผย

ผศ.ปังชี้ว่า เหตุผลที่คนเรากิน กินมากน้อยแค่ไหน และเมื่อไหร่จะหยุดกินนั้น ถูกควบคุมจากระบบประสาทส่วนกลางที่ทำให้ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องเข้าใจแรงบันดาลใจที่อยู่เบื้องหลังความหิวที่ทำให้เรากินเพื่อความพอใจไม่ใช่เพราะต้องการพลังงาน ปัจจัยทางจิตวิทยาเหล่านี้จะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมการกินของคนยุคใหม่ เหตุใดการทำงานผิดปกติของร่างกายจึงเกิดขึ้น และวิธีการรักษาควรจะเป็นอย่างไร

ส่วนวิธีการรักษาโรคอ้วนในปัจจุบันนั้นยังไม่ค่อยมีวิธีที่มีประสิทธิภาพเท่าไรนัก ยาที่เลียนแบบฮอร์โมน GLP-1 ในหนูก็เคยถูกนำมาใช้เพื่อควบคุมระดับกลูโคสในร่างกายเพื่อการหยุดโรคเบาหวานประเภท 2 ปัจจุบัน องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ก็กำลังใช้ยานี้เพื่อรักษาโรคอ้วนอยู่ แต่การฉีดยาไปให้กระจายไปทั่วร่างกายนั้นอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคไต โรคถุงน้ำดี และโรคตับอ่อนอักเสบ

"การกินมากเกินไปจะทำให้เป็นโรคอ้วน อาจมองได้ว่าเกิดจากการเสพติดอาหารอย่างหนึ่ง เป็นระบบทางจิตที่มีสาเหตุมาจากระบบประสาท ถ้าเราค้นพบว่าระบบส่วนกลางควบคุมพฤติกรรมการบริโภคอาหารจากการศึกษาฮอร์โมน GLP-1 เราก็อาจจะได้วิธีการรักษาที่มีความเฉพาะเจาะจงเฉพาะส่วนมากขึ้น และมีผลข้างเคียงที่น้อยลงได้"

 

 

ที่มา : vcharkarn.com


พบสาเหตุที่คนเรากินทั้งที่ไม่ได้หิว

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์