สีของดวงตาบ่งบอกความขี้เมาได้
นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา เผยว่า คนที่มีตาสีฟ้ามีโอกาสที่จะเป็นคนติดแอลกอฮอล์มากขึ้น
อาร์วิส ซูโลวารี นักศึกษาปริญญาเอกด้านเซลล์ โมเลกุล และชีววิทยา และ ผศ.ดร.ลี ดาเว ที่ปรึกษา ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างสีของตากับการติดแอลกอฮลด์เป็นครั้งแรก และได้รายงานการค้นพบนี้ในวารสารวิชาการ American Journal of Medical Genetics: Neuropsychiatric Genetics (Part B) โดยเชื่อว่างานนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่โรคติดแอลฮอฮอล์อย่างเดียว แต่อาจจะสรุปไปได้ถึงอาการป่วยทางจิตอื่นๆได้อีกด้วย
"การค้นพบครั้งนี้น่าทึ่งตรงที่ว่า อาจจะเป็นไปได้ที่สีของตาอาจจะเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคติดแอลกอฮอล์" ซูโลวารีเผย
นักวิจัยพบว่า คนอเมริกันเชื้อสายยุโรปที่มีสีตาสีอ่อน ไม่ว่าจะเป็นสีเขียว เทา หรือน้ำตาลมีโอกาสที่จะติดแอลกอฮอล์มากกว่าคนตาสีน้ำตาลหรือดำ โดยแนวโน้มที่จะติดแอลกอฮอล์มากที่สุดมาจากคนตาสีฟ้า งานวิจัยยังชี้ด้วยว่าสีของตาถูกกำหนดด้วยพันธุกรรม ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่าโครโมโซมหรือยีนตัวเดียวกันนี้ที่ทำให้ติดแอลกอฮอล์
"เรายังไม่รู้เหตุผลที่แท้จริง" ดร.ลีเผยโดยย้ำว่าจะต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมอีก
ดร.ลี ย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ตั้งแต่ปี 2012 ได้ศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างพันธุกรรมกับอาการทางจิตวิทยามาเป็นสิบปีแล้ว ในช่วงนี้ได้ทำงานร่วมกับแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกาเพื่อสร้างฐานข้อมูลยีนจากคน 10,000 กว่าคน ส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันและยุโรป จากนั้น ได้ทำการวิเคราะห์โรคทางจิตวิทยาแต่ละประเภท รวมทั้งความเครียด โรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว ตลอดจนการใช้ยาเสพติดและเหล้าแอลกอฮอล์
"อาการป่วยเหล่านี้เป็นเรื่องซับซ้อน มียีนหลายตัวและสิ่งแวดล้อมหลายอย่างที่มีผลกระทบ"
จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่นี้ ดร.ลีและซูโลวารีกรองหาเฉพาะข้อมูลของผู้ป่วยที่ติดแอลกอฮอล์จากกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นลูกหลายของชาวยุโรป 1,263 ราย หลังจากได้จัดกลุ่มประเภทของสีตาแล้ว ได้ทำการวิเคราะห์ซ้ำสามครั้งเพื่อเปลี่ยนตัวแปรระหว่างอายุ เพศ และกลุ่มเชื้อชาติหรือภูมิหลัง เช่น มาจากภาคใต้หรือภาคเหนือของทวีป
หลังจากนั้นได้หาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังวัฒนธรรมกับพันธุกรรม จนได้ค้นพบสิ่งใหม่ออกมา นักวิจัยหวังว่าต่อจะไปสามารถพบกลไกของการเกิดโรคทางจิตใจให้ได้ แต่สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือ ยีนที่เราค้นพบกันมาใน 20 ปีหลังนี้เราอธิบายกันได้แค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เหลือที่ยังไม่เข้าใจและยังไม่รู้อีกเยอะ
ดร.ลีเพิ่งจะเขียนเอกสารขอทุนสนับสนุนเพื่อศึกษายีนเพิ่มเติม รวมถึงสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่จากกลุ่มผู้ป่วย
"สิ่งที่ทำให้เราตกใจที่สุดในงานนี้ก็คือ เราได้เชื่อมโยงหลักสถิติ สารสนเทศ และชีววิทยาเข้าด้วยกัน มันเป็นโอกาสที่ดีมากที่จะศึกษายีนในแง่ของโรคของมนุษย์ที่ซับซ้อน"
ที่มา : vcharkarn.com
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!