คอมเมนต์เฟซบุ๊คมีผลต่อการหาเสียงเลือกตั้ง

นักวิจัยพบว่า เมื่อให้ผู้ใช้เฟซบุ๊คอ่านหน้าที่เกี่ยวข้องกับผู้สมัครชิงตำแหน่งทางการเมือง คอมเมนต์ที่เป็นบวกที่ชาวเน็ตถูกใจจะส่งผลทำให้ผู้ใช้ผู้นั้นมองผู้สมัครในแง่บวก ขณะที่คอมเมนต์ในทางลบที่ชาวเน็ตถูกใจจะทำให้ผู้สมัครผู้นั้นถูกมองในแง่ลบได้

อิทธิพลของคอมเมนต์ต่อมุมมองที่มีต่อผู้สมัครชิงตำแหน่งนั้นเกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยว่าคนที่มาแสดงความคิดเห็นที่ถูกใจชาวเน็ตนั้นจะเป็นเพื่อนในเฟซบุ๊คหรือคนรู้จักหรือไม่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้สมัครชิงตำแหน่งและผู้แสดงความคิดเห็นนั้นไม่ได้มีอยู่จริงในการทดลองนี้

ทีมวิจัยนี้ประกอบไปด้วยอาจารย์และนักเรียนจากภาควิชาการสื่อสาร และภาควิชารัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทีมวิจัยได้สร้างเพจของผู้สมัครสมมติขึ้นมาในเฟซบุ๊ค โดยให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้สมัคร

นักวิจัยทำการทดสอบด้วยวิธีออนไลน์ โดยส่งคำสั่งให้ผู้เข้าร่วมการทดลองดูเพจและให้คะแนนความประทับใจเกี่ยวกับผู้สมัครคนนั้น โดยในเพจนั้นส่วนหนึ่งจะมีความคิดเห็นในแง่บวกสองความคิดเห็นปรากฏอยู่ ส่วนเพจที่เหลือจะมีความคิดเห็นในแง่ลบ

"ทุกวันนี้ ผู้สมัครชิงตำแหน่งทางการเมืองทุกคนจำเป็นต้องทำแคมเปญบนโซเชียลมีเดีย และกุญแจของโซเชียลมีเดียก็คือการตอบสนองนี่เอง จะต้องไม่ใช้วิธีการโฆษณาแบบทางเดียวแบบเมื่อก่อนแล้ว เราอยากจะทดสอบการตอบสนองระหว่างผู้สมัครกับประชาชน" ศาสตราจารย์ พอล อาร์. บริวเวอร์ ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเดลาแวร์เผย

นักวิจัยได้รายงานการค้นพบในวารสารวิชาการ Journal of Experimental Political Science ว่า ผู้ที่ดูผู้สมัครที่ได้รับคอมเมนต์บวกหรือชาวเน็ตกด"ไลค์"จะมีความชอบในตัวผู้สมัครและมีโอกาสมากขึ้นที่จะสนับสนุนผู้สมัครคนนั้น ในขณะที่ความคิดเห็นในทางลบจะทำให้ผู้อ่านเพจไม่ชอบผู้สมัครนนั้นตามไปด้วย

และที่สำคัญคือ ไม่ว่าผู้สมัครจะมาตอบคอมเมนต์นั้นอย่างไร กลับไม่ได้มีผลต่อมุมมองที่ผู้รับการทดลองรู้สึกเลย

"นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า คนเราจะเชื่อความคิดเห็นที่มาจากคนอื่นๆมากกว่าจะเชื่อความคิดเห็นที่มาจากผู้สมัครโดยตรง กล่าวคือ คนเราจะมองว่าสิ่งที่คนอื่นพูดถึงคุณคือเรื่องจริง ในขณะที่คุณอาจจะไม่ได้เป็นแบบนั้นก็ได้ ดังนั้น ความคิดเห็นที่มาจากใครก็ไม่รู้บนอินเตอร์เน็ตจึงเปลี่ยนมุมมองของประชาชนได้"

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงก้าวแรกของการวิจัยผลกระทบของโซเชียลมีเดียต่อการหาเสียงเลือกตั้ง ศาสตราจารย์บริวเวอร์มองว่าบางทีประชาชนอาจจะมองผู้สมัครสมมติมากกว่าผู้สมัครจริงๆที่พวกเขาคุ้นเคยก็เป็นได้ และยังได้ชี้ว่างานวิจัยนี้ทำบนเพจของเฟซบุ๊คอย่างเดียว แต่ในการหาเสียงจริงๆนั้น ประชาชนจะตัดสินใจด้วยตัวเองว่าจะเข้าไปดูโซเชียลมีเดียของผู้สมัครคนนั้นหรือไม่

"ผมแปลกใจมากที่ไม่มีใครทำเรื่องแบบนี้มาก่อน อย่างน้อยคือไม่มีเลยในงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ การหาเสียงเลือกตั้งมีการลงทุนในโซเชียลมีเดียเยอะ ซึ่งน่าจะโดดเด่นมากในปี 2016"

ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่ผู้หาเสียงอาจจะลดความคิดเห็นที่เป็นลบออกจากหน้าเพจและกระตุ้นให้สตาฟหรือผู้สนับสนุนช่วยกันโพสต์ความคิดเห็นที่เป็นบวก



ที่มา : vcharkarn.com

คอมเมนต์เฟซบุ๊คมีผลต่อการหาเสียงเลือกตั้ง

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์