โรงเรียนที่เกิดขึ้นในแต่ละที่ในช่วงแรกของการจัดการศึกษาของไทยแต่ละโรงเรียนมีเอกสิทธิในการผลิตตำราเรียนของตนเองแล้วแต่ว่าจะใช้สอนอย่างไรเช่นแบบเรียนเร็ว ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งวงการประวัติศาสตร์ไทย ที่ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้สอนภาษาไทยในโรงเรียนทดลองในวังของพระองค์ เหตุผลเพราะตำราเรียนภาษาไทยที่เรียกว่าแบบเรียนหลวง รวม 6 เล่มประกอบกัน (มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์) จำเป็นต้องใช้เวลาเรียนมากเป็นปี ทำให้เยาวชนหรือผู้เรียนที่ยังอยู่ในระบบมูลนายไม่สามารถเรียนหนังสือได้จบตลอดทั้งเล่ม เพราะเมื่อเรียนได้ราวหกเดือนก็ต้องกลับบ้านไปช่วยพ่อแม่ทำนาเพื่อจ่ายภาษีให้กับรัฐ เมื่อกลับมาเรียนก็ต้องเสียเวลาทบทวนเป็นเวลานาน แบบเรียนเร็วของพระองค์จึงเป็นทั้งตัวอย่างของการมีสิทธิในการผลิตตำราเรียนของแต่ละโรงเรียน และเป็นการปรับแบบเรียนให้เข้ากับผู้เรียนเป็นรุ่นแรก
เมื่อมีการก่อตั้งกระทรวงธรรมการหรือกระทรวงศึกษาธิการขึ้นมาในช่วงการปฏิรูประบบราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทำให้เริ่มมีการกำหนดมาตรฐานแบบเรียน และต้องขออนุญาตจากกระทรวงธรรมการก่อนนำไปเผยแพร่ใช้ในโรงเรียน ยกเว้นกรณีแบบเรียนเร็วของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงนำแบบเรียนเร็วขึ้นทูลเกล้าฯถวายรัชกาลที่5 เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชนุญาตสำหรับใช้ในโรงเรียนโดยตรง
ไม่เฉพาะโรงเรียนที่ก่อตั้งโดยสยามหรือชาวไทยที่จะสอนภาษาไทยเท่านั้น โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นโดยชาวต่างประเทศก็มีการจัดการเรียนการสอนและผลิตตำราภาษาไทยเช่นกัน แบบเรียนชุดหนึ่งที่ใช้สอนภาษาไทยและมีการปรับปรุงแก้ไขและประกาศใช้มาจนปัจจุบัน คือ ดรุณศึกษา ซึ่งถูกเรียบเรียงขึ้นในปีพ.ศ. 2453 โดยภราดา ฟ. ฮีแลร์ นักบวชคณะเซนต์กราเบรียลที่เดินทางมารับงานด้านการศึกษาในประเทศไทยที่โรงเรียนอัสสัมชัญ โดยยังได้รับการปรับปรุงเนื้อหาและตีพิมพ์ซ้ำมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) ซึ่งเป็นการตีพิมพ์ซ้ำในลักษณะที่ใช้งานจริง ในขณะที่แบบเรียนที่เขียนโดยชาวไทยถูกแก้และปรับเปลี่ยนเรื่อยมา
เมื่อการพิมพ์หนังสือไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะโรงพิมพ์ของหลวงหรือโรงพิมพ์ของพระในคริสต์ศาสนาเท่านั้นเอกชนสามารถเป็นเจ้าของและผลิตหนังสือเพื่อค้าขายได้อย่างกว้างขวางหนังสือพิมพ์นิยายไทยนิยายแปลเรื่องปกิณกะประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมการดูแลร่างกายคู่มือดูแลบ้านเรือนฯลฯถูกผลิตออกมาเป็นหนังสือเพื่อจำหน่ายอย่างกว้างขวางหนึ่งในบรรดาหนังสือที่ผลิตออกจากสำนักพิมพ์เหล่านั้นคือหนังสือสำหรับเด็กที่มีทั้งหัดอ่านหัดเขียนที่เนื้อหามีการพัฒนาไปตามยุคสมัยและเทคโนโลยีของการพิมพ์กระดาษอุปกรณ์ประกอบการอ่านความคิดสร้างสรรค์ของผู้ผลิตและความต้องการของผู้บริโภค
ในยุคที่หนังสือออกเสียงได้แล้วโดยแค่ใช้ปากกาที่แถมมากับหนังสือลากผ่านเด็กในยุคนี้สามารถฟังนิทานเรียนภาษาต่างๆพร้อมกับเห็นภาพประกอบสีสดใสสื่อความหมายเพื่อช่วยในการเรียนรู้และจดจำสงสัยสิ่งใดก็เพียงใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเบล็ตที่เลื่อนเล่นจนคุ้นมือในการค้นหาข้อมูลหรือใช้เล่นเพื่อความบันเทิงได้แต่ก่อนหน้าที่จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากเท่าปัจจุบันนี้หนังสือเป็นสิ่งเดียวที่ช่วยสอนและให้ความรู้กับนักเรียนหรือผู้อ่านเท่านั้นการท่องจำช่วยให้ผู้อ่านจำได้ในยามที่ไม่มีหนังสืออยู่กับตัวจำนวนสำนักพิมพ์ที่มีมากและผู้ผลิตที่ต้องการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของสำนักพิมพ์ตนหรือเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาลิขสิทธิ์จึงต้องผลิตสื่อที่แตกต่างกันออกไปในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการเรียกหรือการให้ความหมายและคำต่อท้ายของพยัญชนะในสามยุคกว้างๆเพื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของการอ่านตัวพยัญชนะดังนี้