‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป’ คำนี้มาจากไหน ?
หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต สุนทรภู่ได้ออกบวชนานถึง 20 ปี โดยในขณะที่อายุ 42 ปี ได้ล่องเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเดินทางไปวัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยได้แต่งนิราศภูเขาทองซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นบทนิราศที่ไพเราะ ให้แง่คิดในการดำรงชีวิต ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากสุนทรภู่บวชมาหลายพรรษา ทำให้มีความคิดสุขุมมากขึ้น ทั้งนี้มีตอนหนึ่งที่สุนทรภู่ได้ประพันธ์ไว้ว่า...
ความหมาย : เมื่อเรือล่องมาถึงหน้าวัง ก็รู้สึกโศกเศร้าอาลัยถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้ซึ่งมีพระมหากรุณาธิคุณกับสุนทรภู่ เมื่อก่อนเคยเข้าเฝ้าพระองค์ท่านอย่างใกล้ชิด แต่หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคตนั้น สุนทรภู่เองก็เหมือนได้ตายไปด้วย เพราะไม่มีผู้ให้ความเมตตาและช่วยเหลือ ชีวิตจึงยากแค้นแสนเข็ญ และมีโรคมีกรรมเข้ามารุมล้อม ไม่มีใครที่จะพึ่งพาได้ จึงได้บวชเพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พร้อมทั้งประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม เพื่อถวายอาลัยแด่พระองค์ แม้เกิดชาติใดใดก็ขอให้เป็นข้ารับใช้พระองค์ตลอดไป
จะเห็นได้ว่าท่อน ‘ขอเป็นข้าเคียงพระบาททุกชาติไป' เป็นเสมือนวรรคทองของนิราศที่กวีเอกได้แสดงความจงรักภักดีอย่างเหลือล้นต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นอกจากนี้ในนิราศเรื่องเดียวกันนี้ ยังมีอีกหลายบทที่สุนทรภู่ได้รำพันถึงล้นเกล้ารัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรีด้วยความอาลัยอาวรณ์อย่างยิ่ง
ทั้งนี้ ‘วินทร์ เลียววาริณ' นักเขียนรางวัลซีไรต์และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ได้ตั้งข้อสังเกตว่า เรื่องราวความรู้สึกและความจงรักภักดีของสุนทรภู่ในนิราศภูเขาทองนั้นเป็นความรู้สึกเดียวกันที่ประชาชนชาวไทยในวันนี้มีต่อ ‘ในหลวงรัชกาลที่ 9' ซึ่งพสกนิกรต่างน้อมระลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้...ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป