เมื่อพม่าถูกอังกฤษยึดเป็นอาณานิคมโดยสมบูรณ์ ในปี ค.ศ.1855 อังกฤษได้ปกครองพม่าโดยตรงและได้ยกเลิกระบบการปกครองเดิมของพม่า สถาบันที่เคยเป็นศูนย์กลางอำนาจเดิมคือสถาบันกษัตริย์ที่รุ่งเรืองมาในประวัติศาสตร์อันยาวนานของพม่าและยังเป็นสถาบันรักษาศิลปวัฒนธรรมและศาสนาสิ้นสุดลง การปกครองระยะเริ่มแรกคือระหว่างปี ค.ศ. 1886-1925 อังกฤษได้ให้พม่าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย ยกเลิกการปกครองในหมู่บ้านแบบเก่า จากเดิมที่เคยผูกขาดโดยชนชั้นสูงในหมู่บ้าน ด้วยการแต่งตั้งหัวหน้าหมู่บ้านแบบหมุนเวียนกัน นำระบบเทศบาลเข้ามาใช้ตามเมืองใหญ่ ๆ ทางตอนล่างของพม่า เพื่อยกระดับการเก็บให้สูงขึ้น นับว่าเป็นการทำลายระบบทางสังคมแบบเก่าของพม่า เกิดการขัดแย้งระหว่างประชาชนและผู้ปกครองที่มาจากต่างหมู่บ้าน
ขบวนการชาตินิยมในพม่าในช่วงระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งพม่าเริ่มคิดถึงผลประโยชน์ของชาติและส่วนหนึ่งมาจากการที่พม่าเองมีความเกลียดชังอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมอยู่แล้ว และส่วนหนึ่งมาจาการศึกษาพุทธศาสนา จึงทำให้มีผู้นำชาวพม่าได้รวมตัวกัน ก่อตั้งเป็นสมาคม เป็นพรรคและขบวนการ เพื่อต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมคืออังกฤษ เรียกว่าขบวนการชาตินิยม เป็นปรากฏการณ์ของขบวนการชาตินิยมในอุษาคเนย์ที่ต่อต้านอำนาจของเจ้าอาณานิคม เพื่อปลดปล่อยตนเองให้เป็นเอกราชในที่สุด ดังนั้นจึงเกิดสมาคม พรรคต่างๆ ขึ้น โดยอีกหนึ่งสมาคมที่ต่อการอำนาจของอังกฤษก็คือ พรรคตะขิ่น (thakin) หรือสมาคมชาวเราพม่า ซึ่งเป็นพรรคของนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยร่างกุ้งซึ่งมีสมาชิกรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้น
ในปี ค.ศ.1938 มีออง ซาน เป็นผู้นำ อุดมการณ์ของกลุ่มนี้คือการต่อต้านอังกฤษ การที่นักศึกษาเรียกตัวเองว่า ตะขิ่นหรือทะขิ่น ก็เพื่อสร้างความเท่าเทียมกับคนอังกฤษ เพราะคำว่าทะขิ่น มีความหมายว่า เจ้านาย เป็นคำที่คนพม่าเรียกคนอังกฤษ ดังนั้นการที่นักศึกษานำคำนี้มาใช้จึงดูเหมือนว่านักศึกษากำลังเล่นเกมส์ทางการเมืองเพื่อต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมคืออังกฤษ การที่นักศึกษากลุ่มนี้ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยการประท้วงเพื่อต่อสู้กับอังกฤษโดยต้องการเอกราช สมาคมชาวเราพม่ามีจุดประสงค์คล้ายกับ GCBA คือต่อสู้เพื่อเอกราชปฏิเสธที่จะร่วมมือกับฝรั่งในระยะเวลาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงสงครามโลครั้งที่ 2 ดังนั้นทั้ง GCBA และสมาคมชาวเราพม่า ก็กลายเป็นศูนย์กลางของขบวนการชาตินิยม การสร้างผู้นำแบบใหม่ผู้นำแบบนี้ต้องมีอุดมการณ์ที่แน่นอนเพื่อเอกราชและประชาธิปไตย ซึ่งขบวนการชาตินิยมของพม่าก็ยังเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาเพื่อต่อสู้เรียกร้องเอกราชให้กับชาติของตน
ในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นยึดพม่าได้ อังกฤษได้ถอยไปอยู่ที่อินเดีย มีการจัดตั้งกองทัพแห่งชาติเพื่อทำการขับไล่อังกฤษ โดยมีญี่ปุ่นให้การสนับสนุน ญี่ปุ่นอ้างว่า จะให้เอกราชแก่พม่า กลุ่มตะขิ่นนำโดยออง ซาน หาเชื่อน้ำคำของญี่ปุ่นไม่ แยกตัวออกมาจัดตั้งองค์กรต่อต้านญี่ปุ่น Anti Fescist People's Freedom League (AFPFL) โดยร่วมมือกับอังกฤษ เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษเข้ามาปกครองพม่าดังเดิม อังกฤษยอมเจรจากับออง ซาน ยอมให้ชาวพม่าเข้ามาปกครองทั่วไป พม่าเตรียมร่างรัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1947 และมีการเลือกตั้งในปีเดียวกัน ฝ่ายที่ชนะการเลือกตั้งคือพรรค AFPFL ที่นำโดยอองซานและรัฐมนตรี 8 คนถูกลอบสังหาร อูนุกลายเป็นผู้นำทำการร่างรัฐธรรมนูญ เจรจากับอังกฤษ จนได้รับเอกราช และเป็นนายกรัฐมนตรีของพม่าในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1947
นายพลออง ซาน เป็นคนเด็ดขาดในการตัดสินใจ ยึดมั่นในคุณธรรม ดังนั้นพวกครองอำนาจฝ่ายอังกฤษจึงหวั่นเกรงในตัวของท่านนายพล นายพลออง ซาน ได้ประกาศยื่นคำขาดต่อรัฐบาลอังกฤษ เพื่อให้มอบเอกราชให้กับพม่า โดยท่านนายพลได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าหากมิได้เอกราชพม่าอย่างแท้จริงแล้ว จะขอลาออกจาการร่วมรัฐบาล
ดังนั้นนายคลีเมนต์ แอตลี นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ จึงต้องยอมประกาศว่าจะให้ประเทศพม่าเป็นเอกราช และพม่าก็ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1948 แต่นายพลออง ซาน ไม่ได้มีชีวิตอยู่จนถึงพม่าจนได้รับเอกราช เนื่องจากได้ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 มีอายุแค่เพียง 32 ปี (ค.ศ. 1915 - 1947) พร้อมสมาชิกคณะรัฐมนตรีพม่าบางนาย
การลอบสังหารครั้งนี้เป็นปัญหาความขัดแย้งภายในของพม่าเอง ผู้ที่เป็นหัวหน้าการลอบสังหารคือ อูซอ เนื่องจากอูซอเป็นนักการเมืองฝ่ายขวาที่ฝักใฝ่ฝ่ายญี่ปุ่น แต่อังกฤษสืบความลับได้ก็เลยจับอูซอเนรเทศไปอยู่ในแอฟริกา ครั้งสงครามสงบลงอูซอก็ได้รับการปลดปล่อยกลับมาพม่า กลุ่มนักการเมืองฝ่ายขวาหวังว่าอูซอจะกลับมามีบทบาททางการเมืองอีก แต่ก็ผิดหวังเพราะกลุ่มอูซอยังมีความขัดแย้งกับกลุ่มของนายพลอองซาน จนกระทั่งมีการลอบสังหารท่านนายพลอองซานในที่สุด