อยากรู้กล่องวัดเรตติ้ง หน้าตาเป็นอย่างไร ทำงานอย่างไร เข้ามาดู
เชื่อว่ามีหลายคนที่ไม่ทราบ และไม่เคยเห็นมาก่อน ว่า "กล่อง" ที่ใช้วัดเรตติ้ง รายการทางโทรทัศน์ในประเทศไทยนั้น มันมีรูปร่างหน้าตา และ กระบวนการ การทำงานอย่างไร? ...วันนี้ เพจ Time Chuastapanasiri ได้ ไขข้อข้อใจ และ ข้อสงสัยนี้ ให้ได้ฟังกันแล้ว ... >>
"เรตติ้งทีวี เขาวัดกันยังไง?
ไปเจอคลังรูปเก่า ๆ"กล่องวัดเรตติ้ง"
ของเอซีนีลเซ่น ตอนไปเยี่ยมเพื่อนที่บ้านเมื่อหลายปีก่อน
หลายๆ คนไม่เคยเห็นว่า "หน้าตากล่องเครื่องวัดเรทติ้งทีวีเป็นไง"
ตัวกล่องประมาณงานจีนแดงนี่แหละครับ และมีรีโมทอันใหญ่ๆ อีกอัน ที่จะมี ปุ่มใหญ่ๆ เรียงเป็นแถว แต่ละปปุ่มจะมีชื่อ
เช่น เลข 1 คุณพ่อ เลข 2 คุณแม่ เลข 3 คุณลูกสาว เลข 4 คุณลูกชาย ไปเรื่อยๆ
จะมีสายโทรศัพท์เสียบเข้ากับกล่อง และอีกสายเสียบเข้ากับทีวี
เวลาบ้านไหน ถูกคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง บ้านนั้นก็จะได้รับค่ากดรีโมท ค่าเป็นบ้านกลุ่มตัวอย่าง (รู้สึกว่า จะเดือนละ 400-600 บาท) เมื่อหลายปีก่อนนะครับ
กล่องนี้ก็จะถามว่า
"ใครกำลังดูทีวีอยู่" (ใครดู ก็กดตามเลขของตนเอง)
"คุณยังคงดูทีวีอยู่หรือไม่" (ดูอยู่ก็กด 1 )
กล่องนี้จะเก็บสัญญาณข้อมูลว่า "วันหนึ่งๆ สมาชกบ้านนั้น คนใด ดูทีวีอะไรบ้าง" โดยทางบริษัทเรตติ้งที่กรุงเทพ ย่านสีลม จะโทรศัพท์มาเข้าสายโทรศัพท์บ้าน ทุกๆ เที่ยงคืนหรือตีสอง เพื่อมาเก็บข้อมูลจากกล่อง ทุกๆ วัน เพื่อเอาไปประมวลผล เข้ากับ ตาราง ผังออกอากาศ และ ข้อมูล วินาที (timeline) เพื่อเชื่อมโยงว่า ณ วินาทีนั้น รายการอะไร หรือโฆษณาชิ้นใด บริษัทใด กำลังออกอากาศที่เวลาใด แล้วเอาข้อมูล "ปริมาณคนดู เทียบเข้ากับสิ่งที่ปรากฎบนจอทีวี" มาเป็นข้อมูลเรตติ้ง
แล้วก็จะคำนวณเอา จาก สมาชิก 1,500 ตัวอย่าง
ไปเปรียบเทียบเข้ากับ "จำนวนครัวเรือนประชากรไทยอีก 23 ล้านครัวเรือน" เพื่อเปรียบเทียบคณิตศาสตร์ว่า "คนดูรายการทีวีช่องไหนมากน้อยอย่างไร?"
นี่แหละครับที่เขาเรียกว่าวัดเรตติ้ง
และ หนึ่งเรตติ้ง หรือ 1 TVR ก็จะมีค่าประมาณ = 1% ของประชากรไทยที่มีอายุมากกว่า 4 ปีขึ้นไป (ตอนนี้ ก็ราวๆ 656,940 คน)
เพราะฉะนั้น เรตติ้งเท่าไหร่ ก็เอาตัวเลข 656,940 คน นี้คูณเข้าไป
ประเด็นก็คือ "คนในวงการทีวีไม่ค่อยเชื่อตัวเลขเรตติ้งนี้สักเท่าไร่" เพราะว่า
(1) ไม่เชื่อว่า จำนวนกล่อง 1,500 ตัวอย่างจะสามารถเป็นประชากรแทนคนทั้งประเทศได้
(2) ไม่เชื่อว่า "คนกดกล่อง จะซื่อสัตย์กับการกดรหัสของตัวเอง"
(3) ไม่เชื่อว่า "สมาชิกในบ้านจะมานั่งกดดูทีวีเครื่องเดียวในห้องนั่งเล่นใหญ่"
(4) ไม่เชื่อว่า "มันจะทำงานตรงไปตรงมา"
แต่ตัวเลขเรตติ้งก็ใช้กันมาโดยเอเจนซี่ ในวงการสื่อมายาวนานหลายปี และ ตอนนี้ก็ดูว่าจะมีการพัฒนาไปอีก และมีการแข่งขันกับอีกเจ้าโดยสมาคมสื่อด้วยกันเอง
ก็เอามาให้ดูครับ เผื่อใครไม่เคยเห็น
ปล.1 ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี 2552 (สมัยโน้น ย่านบ้านลาดพร้าว
ปล. 2 ตอนนี้นีลเซ่นเปลี่ยนจำนวนกลุ่มตัวอย่าง เป็น 3,000 ตัวอย่าง และ เปลี่ยนรุ่นกล่องใหม่แล้ว
ปล.3 ตอนนี้บ้านเพื่อนผม ไม่ได้ติดตั้งเครื่องนี้แล้วครับ
"เรตติ้งทีวี เขาวัดกันยังไง?
ไปเจอคลังรูปเก่า ๆ"กล่องวัดเรตติ้ง"
ของเอซีนีลเซ่น ตอนไปเยี่ยมเพื่อนที่บ้านเมื่อหลายปีก่อน
หลายๆ คนไม่เคยเห็นว่า "หน้าตากล่องเครื่องวัดเรทติ้งทีวีเป็นไง"
ตัวกล่องประมาณงานจีนแดงนี่แหละครับ และมีรีโมทอันใหญ่ๆ อีกอัน ที่จะมี ปุ่มใหญ่ๆ เรียงเป็นแถว แต่ละปปุ่มจะมีชื่อ
เช่น เลข 1 คุณพ่อ เลข 2 คุณแม่ เลข 3 คุณลูกสาว เลข 4 คุณลูกชาย ไปเรื่อยๆ
จะมีสายโทรศัพท์เสียบเข้ากับกล่อง และอีกสายเสียบเข้ากับทีวี
เวลาบ้านไหน ถูกคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง บ้านนั้นก็จะได้รับค่ากดรีโมท ค่าเป็นบ้านกลุ่มตัวอย่าง (รู้สึกว่า จะเดือนละ 400-600 บาท) เมื่อหลายปีก่อนนะครับ
กล่องนี้ก็จะถามว่า
"ใครกำลังดูทีวีอยู่" (ใครดู ก็กดตามเลขของตนเอง)
"คุณยังคงดูทีวีอยู่หรือไม่" (ดูอยู่ก็กด 1 )
กล่องนี้จะเก็บสัญญาณข้อมูลว่า "วันหนึ่งๆ สมาชกบ้านนั้น คนใด ดูทีวีอะไรบ้าง" โดยทางบริษัทเรตติ้งที่กรุงเทพ ย่านสีลม จะโทรศัพท์มาเข้าสายโทรศัพท์บ้าน ทุกๆ เที่ยงคืนหรือตีสอง เพื่อมาเก็บข้อมูลจากกล่อง ทุกๆ วัน เพื่อเอาไปประมวลผล เข้ากับ ตาราง ผังออกอากาศ และ ข้อมูล วินาที (timeline) เพื่อเชื่อมโยงว่า ณ วินาทีนั้น รายการอะไร หรือโฆษณาชิ้นใด บริษัทใด กำลังออกอากาศที่เวลาใด แล้วเอาข้อมูล "ปริมาณคนดู เทียบเข้ากับสิ่งที่ปรากฎบนจอทีวี" มาเป็นข้อมูลเรตติ้ง
แล้วก็จะคำนวณเอา จาก สมาชิก 1,500 ตัวอย่าง
ไปเปรียบเทียบเข้ากับ "จำนวนครัวเรือนประชากรไทยอีก 23 ล้านครัวเรือน" เพื่อเปรียบเทียบคณิตศาสตร์ว่า "คนดูรายการทีวีช่องไหนมากน้อยอย่างไร?"
นี่แหละครับที่เขาเรียกว่าวัดเรตติ้ง
และ หนึ่งเรตติ้ง หรือ 1 TVR ก็จะมีค่าประมาณ = 1% ของประชากรไทยที่มีอายุมากกว่า 4 ปีขึ้นไป (ตอนนี้ ก็ราวๆ 656,940 คน)
เพราะฉะนั้น เรตติ้งเท่าไหร่ ก็เอาตัวเลข 656,940 คน นี้คูณเข้าไป
ประเด็นก็คือ "คนในวงการทีวีไม่ค่อยเชื่อตัวเลขเรตติ้งนี้สักเท่าไร่" เพราะว่า
(1) ไม่เชื่อว่า จำนวนกล่อง 1,500 ตัวอย่างจะสามารถเป็นประชากรแทนคนทั้งประเทศได้
(2) ไม่เชื่อว่า "คนกดกล่อง จะซื่อสัตย์กับการกดรหัสของตัวเอง"
(3) ไม่เชื่อว่า "สมาชิกในบ้านจะมานั่งกดดูทีวีเครื่องเดียวในห้องนั่งเล่นใหญ่"
(4) ไม่เชื่อว่า "มันจะทำงานตรงไปตรงมา"
แต่ตัวเลขเรตติ้งก็ใช้กันมาโดยเอเจนซี่ ในวงการสื่อมายาวนานหลายปี และ ตอนนี้ก็ดูว่าจะมีการพัฒนาไปอีก และมีการแข่งขันกับอีกเจ้าโดยสมาคมสื่อด้วยกันเอง
ก็เอามาให้ดูครับ เผื่อใครไม่เคยเห็น
ปล.1 ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี 2552 (สมัยโน้น ย่านบ้านลาดพร้าว
ปล. 2 ตอนนี้นีลเซ่นเปลี่ยนจำนวนกลุ่มตัวอย่าง เป็น 3,000 ตัวอย่าง และ เปลี่ยนรุ่นกล่องใหม่แล้ว
ปล.3 ตอนนี้บ้านเพื่อนผม ไม่ได้ติดตั้งเครื่องนี้แล้วครับ
ที่มาจาก FB Time Chuastapanasiri
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!