จากรายงานของ Wall Street Journal ระบุว่ารายละเอียดการวิจัยดังกล่าวนั้นทำโดยติดตามพฤติกรรมและผู้ใช้ Facebook กว่า 5,208 คน เป็นเวลา 2 ปีเต็ม (ระหว่างปี 2013-2015) ซึ่งทีมวิจัยจะเก็บข้อมูลการใช้งาน Facebook ของกลุ่มตัวอย่างแบบละเอียดไม่ว่าจะเป็น ความถี่ในการกดไลค์ ไปจนถึงการอัปเดทสเตตัสบนหน้าไทม์ไลน์ของตัวเอง โดยในระหว่างนั้น ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องให้ข้อมูลด้านสุขภาพจิตและระดับความพึงพอใจในชีวิตเป็นระยะ
ทั้งนี้ ผลวิจัยพบว่ามีรายงานจากผู้เข้าร่วมทดสอบที่ใช้ Facebook มากเกินไปราว 5-8% ระบุว่าความพึงพอใจในชีวิตและสุขภาพจิตลดลง เมื่อเทียบกับผู้ที่เล่น Facebook น้อยกว่า โดยผลวิจัยสามารถสรุปได้ว่าผู้ที่มีความสุขน้อยลงจะมีแนวโน้มใช้ Facebook บ่อยขึ้นตามไปด้วย ซึ่งทางด้านของ Nicholas Christakis หัวหน้าทีมวิจัยด้านพฤติกรรมมนุษย์จาก Yale University เปิดเผยว่า ปฏิสัมพันธ์บนโลกออนไลน์ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจในชีวิตและสุขภาพจิตของผู้คนมากกว่าการสนทนาโต้ตอบกันแบบอยู่ต่อหน้าไปแล้ว