ยังมีอีกหลากหลายสถานการณ์ที่มนุษย์เงินเดือนต้องพบเจอเมื่อเกิดอาการ ‘ชักหน้าไม่ถึงหลัง' ก่อนเงินเดือนจะออกอีกครั้ง
มนุษย์เงินเดือนควรอ่าน!! เงินเดือนเท่าไรถึงจะพอใช้ในเมืองกรุง?
เคยรู้สึกไหม เมื่อสิ้นเดือนมาถึงเมื่อไร หัวใจมันมักจะเหี่ยวเฉาตามเงินในกระเป๋าสตางค์ที่ร่อยหรอ ยิ่งได้ยินข่าวว่าเงินเดือนจะออกช้ากว่าปกติ ยิ่งรู้สึกหดหู่อย่างบอกไม่ถูก
เคยไหมที่ก้มหน้าก้มตาทำงานอยู่ดีๆ พอจะเดินไปกดเงินที่เอทีเอ็ม กลับพบตัวเลขในบัญชีที่ไม่ถึงหลักร้อย ทั้งๆ ที่ตอนนั้นกำลังหิวจนไส้กิ่ว
ยังมีอีกหลากหลายสถานการณ์ที่มนุษย์เงินเดือนต้องพบเจอเมื่อเกิดอาการ ‘ชักหน้าไม่ถึงหลัง' ก่อนเงินเดือนจะออกอีกครั้ง
ยังมีอีกหลากหลายสถานการณ์ที่มนุษย์เงินเดือนต้องพบเจอเมื่อเกิดอาการ ‘ชักหน้าไม่ถึงหลัง' ก่อนเงินเดือนจะออกอีกครั้ง
นั่นอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมคำถามเกี่ยวกับเงินเดือนในกระทู้พันทิปจึงมีมากมายจนตามอ่านแทบไม่ไหว แถมเมื่อมีคำถามเกิดขึ้นเมื่อไร ความคิดเห็นมากมายจะหลั่งไหลเข้ามาทุกครั้งไป
เราจะมาไขคำตอบว่า ทำไมมนุษย์เงินเดือนหลายคนจึงมีเงินไม่พอใช้ แล้วจะทำอย่างไรให้เดือนหน้าดีกว่าเดือนที่ผ่านมา นี่อาจเป็นทางรอดเดียวที่เหลืออยู่ก่อนเงินเดือนเดือนถัดไปจะมาถึง
ก่อนจะตอบคำถามว่ามนุษย์เงินเดือนในกรุงเทพฯ ต้องมีเงินเดือนเท่าไรจึงจะมีชีวิตรอดในแต่ละเดือน เรามาดูกันก่อนว่าในแต่ละเดือน ชาวกรุงเทพฯ ใช้จ่ายเงินไปกับค่าอะไรบ้าง
คนกรุงหมดเงินไปกับค่าอะไรบ้างในแต่ละเดือน
จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในหัวข้อภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2559 พบว่าครัวเรือนทั่วประเทศมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 21,144 บาท โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ 36.1% เป็นค่าอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ รองลงมาคือค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ภายในบ้าน 19.7% ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางและยานพาหนะ 17.4% ค่าของใช้ส่วนตัว เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า 5.2% ค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสาร 3.4% การศึกษา 1.7% ค่ายาและค่ารักษาพยาบาล 1.4% ความบันเทิงและการจัดงานพิธี 1.2% และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกิจกรรมทางศาสนา 1%
เมื่อเจาะจงตัวเลขค่าใช้จ่ายเฉพาะของคนที่อาศัยในกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ พบว่าคนในเมืองหลวงมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ประมาณ 32,091 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คนมีค่าใช้จ่ายมากที่สุด เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ
ด้าน YouGov บริษัทสำรวจและวิจัยทางอินเทอร์เน็ต ได้จัดทำการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2558 ในนามของ Visa ผู้ให้บริการด้านเครือข่ายและการชำระเงินเผยข้อมูลว่า คนไทยมีค่าใช้จ่ายปริศนา หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถระบุได้ว่าใช้ไปกับสิ่งใดสูงถึง 72% ของรายจ่ายทั้งหมด
ซึ่งจากการสำรวจยังพบว่า คนไทยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 1,588 บาท นั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายปริศนาที่ระบุไม่ได้ว่าจ่ายไปกับอะไรจะอยู่ที่ประมาณ 1,143 บาท ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าค่าใช้ดังกล่าวน่าจะมาจากค่าอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ค่าขนมขบเคี้ยว หรือการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย
ซึ่งจากการสำรวจยังพบว่า คนไทยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 1,588 บาท นั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายปริศนาที่ระบุไม่ได้ว่าจ่ายไปกับอะไรจะอยู่ที่ประมาณ 1,143 บาท ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าค่าใช้ดังกล่าวน่าจะมาจากค่าอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ค่าขนมขบเคี้ยว หรือการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย
เช่นเดียวกับ K-Expert ที่เคยทำการสำรวจค่าใช้จ่ายตามจริงของคนทำงานก่อนวัยเกษียณอายุระหว่าง 40-59 ปี ที่อาศัยในกรุงเทพฯ พบตัวเลขที่น่าสนใจว่า กลุ่มคนที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัวจะใช้จ่ายเงินไปกับค่ากินอยู่และค่าเสื้อผ้าประมาณ 6,783.5 บาท หรือคิดเป็น 27.6% ของรายจ่ายทั้งหมด ค่าใช้จ่ายเพื่อการอยู่อาศัย 9,159 บาท คิดเป็น 37.% ค่าใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อนและความบันเทิง 3,600 บาท คิดเป็น 14.7% ค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพ 3.294.833 บาท คิดเป็น 13.4% และค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทางอีก 1,732 บาท คิดเป็น 7% รวมแต่ละเดือนจะใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 24,569.33 บาท
ส่วนคนที่มีรถยนต์ส่วนตัวจะมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้นเป็น 11,800.167 บาท คิดเป็นสัดส่วน 34.1% ของรายจ่ายทั้งหมด และเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดทันที
จิตแข็ง ตั้งเป้าหมาย ลดรายจ่าย หารายได้เพิ่ม ทางรอดของมนุษย์เงินเดือนกรุงเทพฯ
ในฐานะที่เคยให้คำปรึกษาด้านการเงินกับคนจำนวนมาก จักรพงษ์ เมษพันธุ์ หรือ The Money Coach แชร์ประสบการณ์ที่เคยพบเจอมาว่า รายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน ยังคงเป็นตัวเลขที่คนมากมายใช้ชีวิตอยู่ได้จริงในกรุงเทพฯแต่มีข้อแม้ว่าคนที่จะอยู่รอดได้ด้วยเงิน 15,000 บาทต้องไม่มีภาระก้อนใหญ่ๆ อย่างเช่น ค่าผ่อนรถ ค่าผ่อนบ้าน หรือไม่ต้องส่งเงินให้คนในครอบครัวที่ต่างจังหวัด ซึ่งหากมีภาระต่างๆ เหล่านี้เข้ามารบกวน การใช้จ่ายเงินของคนที่เริ่มต้นทำงานใหม่ก็จะเริ่มผิดเพี้ยนและหาทางแก้ลำบากในอนาคต
"เท่าที่ดู หนี้ตัวใหญ่ที่มักจะทำให้คนมีปัญหาเรื่องการเงินคือหนี้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือค่าผ่อนรถ และค่าผ่อนบ้าน บางทีเงินเดือน 20,000 นิดๆ พอมีรถยนต์หรือซื้อบ้าน ก็ต้องผ่อนเกือบ 10,000 บาทต่อเดือน ทำให้การใช้ชีวิตผิดเพี้ยนไปหมด แล้วมนุษย์เงินเดือนก็ไม่ได้เงินเต็มๆ ร้อยเปอร์เซ็นต์เหมือนกับที่เราคิดไว้ เช่น บอกว่าเงินเดือน 25,000 บาท แต่ในความเป็นจริงจะต้องถูกหักค่าประกันสังคม ภาษี หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปอีก สุดท้ายเหลือประมาณ 23,000 บาท ก็จะทำให้การกินอยู่ผิดเพี้ยนไปจากที่ตั้งไว้ พอมีรถก็ต้องเปลี่ยนที่พักให้มีที่จอดรถ จากเคยอยู่อพาร์ตเมนต์เดือนละ 3,000 พอมีรถก็ต้องอยู่ในที่ที่แพงขึ้น ทำให้เกิดปัญหาทางการเงินตามมา"
ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้มนุษย์เงินเดือนสามารถใช้ชีวิตอยู่รอดได้ในเมืองกรุงคือต้องมีจิตใจที่แข็งแกร่ง มีวินัยทางการเงิน และมีเป้าหมายที่ชัดเจนในชีวิต
"มนุษย์ชอบคิดว่าตัวเองมีเหตุมีผล ควบคุมตัวเองได้ แต่ความจริงแล้วเรามักจะมีปัญหาเรื่องการควบคุมตัวเอง ดังนั้นผมจึงมักจะแนะนำว่าอย่าเชื่อมือตัวเองมากนัก โดยเฉพาะเรื่องเงิน ถ้าเป็นไปได้ให้ตัดออมไปตั้งแต่แรกเลย วิธีการคือรับเงินเดือนจากที่ไหน ให้เปิดบัญชีแยกไว้ หรือจะซื้อกองทุนรวมของธนาคารไหนก็ได้ แล้วให้เขาตัดเงินไปสะสมไว้ในวันที่เงินเดือนออก ภายใต้หลักคิดคือ เงินที่เราไม่เห็นคือเงินที่เราไม่ได้ใช้ เป็นแนวคิดเดียวกันกับที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพทำกับเรา แม้แต่มันนี่โค้ชเองก็ยังต้องหักเงินก่อนใช้จ่ายเหมือนกัน
"เพราะฉะนั้นวินัยมันต้องบวกด้วยเครื่องมือที่ช่วยให้เราจัดการตัวเองได้อย่างรู้เท่าทัน ใครที่บอกว่าฉันควบคุมตัวเองได้ ลองมาเช็กตัวเองดูซิว่าผ่านมากี่ปีแล้ว ได้ออมจริงๆ บ้างไหม ถ้าไม่ได้ออมเลยก็ให้รู้เท่าทันตัวเองว่าเราเป็นคนแบบนี้ แล้วพยายามใช้เครื่องมือต่างๆ มาช่วยฝึกวินัยทางการเงินที่จะทำให้เราดูแลตัวเองได้ดีขึ้น"
นอกจากนี้มันนี่โค้ชยังแนะนำว่า การลดรายจ่ายเป็นเรื่องง่ายกว่าการหารายได้เพิ่ม เพราะการลดรายจ่ายเริ่มต้นได้ด้วยตัวเราเอง แต่การหารายได้เพิ่มเป็นการทำงานสร้างคุณค่าเพื่อจะดึงดูดเงินจากกระเป๋าสตางค์ของคนอื่น
"คนที่คิดว่าวันนี้เงินไม่พอใช้ แต่ไม่เป็นไร เดี๋ยวหาเงินเพิ่มให้มากขึ้นแล้วก็จะรวยเอง คนแบบนี้ได้มาเท่าไรก็จะใช้ไม่เคยพอ เปรียบเหมือนคนที่ตักน้ำด้วยถังที่รั่ว ต่อให้เปลี่ยนไปใช้ถังใหญ่ขึ้น จุน้ำได้มากขึ้น คุณตักน้ำใส่ไปเท่าไรมันก็รั่วออกหมด รอยรั่วของถังก็คือนิสัยทางการเงิน ถ้าเราไม่เปลี่ยนที่นิสัยก็ไม่มีทางใช้เงินพอ
"ดังนั้นการจะมั่งคั่งร่ำรวยได้ต้องเกิดจากนิสัยพื้นฐาน คือการบริหารเงินเท่าที่มีให้ได้ก่อน ถ้าคิดว่ามันกระเบียดกระเสียรจริงๆ ค่อยหารายได้เพิ่ม ไม่ใช่พอบอกว่าไม่พอใช้ แต่เมื่อมาดูในรายละเอียดกลับพบว่าที่ไม่พอเพราะใช้จ่ายเงินเกินตัว ต้องเริ่มปรับที่ตรงนี้ก่อน ทำถังน้ำของเราไม่ให้รั่วก่อน เมื่อถังไม่รั่ว ตักยังไงก็มีวันเต็ม"
สุดท้าย คำถามที่มนุษย์เงินเดือนควรสงสัยอาจไม่ใช่แค่ ‘ต้องมีเงินเดือนเท่าไรถึงจะพอใช้?' แต่ต้องเปลี่ยนเป็น ‘จะใช้ชีวิตอย่างไรกับเงินที่มีอยู่อย่างจำกัด?' เพราะคำตอบที่ได้อาจเป็นทางรอดที่ดีที่สุดที่จะรับมือกับภาวะคับขันตอนสิ้นเดือนครั้งถัดไป
"คนที่คิดว่าวันนี้เงินไม่พอใช้ แต่ไม่เป็นไร เดี๋ยวหาเงินเพิ่มให้มากขึ้นแล้วก็จะรวยเอง คนแบบนี้ได้มาเท่าไรก็จะใช้ไม่เคยพอ เปรียบเหมือนคนที่ตักน้ำด้วยถังที่รั่ว ต่อให้เปลี่ยนไปใช้ถังใหญ่ขึ้น จุน้ำได้มากขึ้น คุณตักน้ำใส่ไปเท่าไรมันก็รั่วออกหมด รอยรั่วของถังก็คือนิสัยทางการเงิน ถ้าเราไม่เปลี่ยนที่นิสัยก็ไม่มีทางใช้เงินพอ
"ดังนั้นการจะมั่งคั่งร่ำรวยได้ต้องเกิดจากนิสัยพื้นฐาน คือการบริหารเงินเท่าที่มีให้ได้ก่อน ถ้าคิดว่ามันกระเบียดกระเสียรจริงๆ ค่อยหารายได้เพิ่ม ไม่ใช่พอบอกว่าไม่พอใช้ แต่เมื่อมาดูในรายละเอียดกลับพบว่าที่ไม่พอเพราะใช้จ่ายเงินเกินตัว ต้องเริ่มปรับที่ตรงนี้ก่อน ทำถังน้ำของเราไม่ให้รั่วก่อน เมื่อถังไม่รั่ว ตักยังไงก็มีวันเต็ม"
สุดท้าย คำถามที่มนุษย์เงินเดือนควรสงสัยอาจไม่ใช่แค่ ‘ต้องมีเงินเดือนเท่าไรถึงจะพอใช้?' แต่ต้องเปลี่ยนเป็น ‘จะใช้ชีวิตอย่างไรกับเงินที่มีอยู่อย่างจำกัด?' เพราะคำตอบที่ได้อาจเป็นทางรอดที่ดีที่สุดที่จะรับมือกับภาวะคับขันตอนสิ้นเดือนครั้งถัดไป
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น