ต้นกำเนิด “ชุดนักเรียนไทย” ที่หลายคนอาจยังไม่รู้!!
• หมวกฟาง มีผ้าพันหมวกสีตามสีประจำโรงเรียน ติดอักษรย่อนามโรงเรียนที่หน้าหมวก
• เสื้อราชปะแตนสีขาว ดุมทอง
• กางเกงไทย (กางเกงขาสั้นอย่างที่นักเรียนใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนที่เรียกว่า กางเกงขาสั้นในสมัยก่อน คือ กางเกงรูเซีย เป็นกางเกงทรงกระบอกยาวถึงใต้เข่ารวบชายรัดไว้ใต้เข่า) สีดำ
• ถุงเท้าขาว หรือดำ
• รองเท้าดำ
• ถุงเท้า รองเท้า เป็นของราคาแพง จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีทุกคน ส่วนใหญ่ไม่มีใช้
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ กำหนดให้นักเรียนในหัวเมืองใช้เสือราชปะแตนสีเทา แทนเสื้อขาวได้ด้วย (เสื้อเทาเป็นเครื่องแบบสำหรับเดินป่า ข้าราชการในกรุงเมื่อออกไปหัวเมืองให้ใช้เสื้อเดินป่าสีเทา แทนเสื้อขาว เพราะรักษาความสะอาดง่ายกว่า ปัจจุบันยังคงมีข้าราชการสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการที่ยังคงรักษาธรรมเนียมนี้อยู่ เมื่อต้องไปปฏิบัติราชการต่างจังหวัดจะเปลี่ยนเสื้อเป็นสีกากีทั้งหมด)
ต่อมาในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีการจัดตั้งยุวชนทหาร และกำหนดให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ ๔ (เทียบกับปัจจุบันคือ ชั้น ม.๒ ขึ้นไป) ต้องเป็นยุวชนทหาร นักเรียนตั้งแต่ชั้นม.๔ ขึ้นไปจึงแต่งเครื่องแบบยุวชนทหารแทน
• เสื้อเชิ้ตสีกากีแกมเขียว
• กางเกงขาสั้นสีกากีแกมเขียว
• ถุงเท้าดำ รองเท้าดำ
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ผ้าขาดแคลน มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบนักเรียนเป็น
• หมวกกะโล่สีขาว
• เสื้อเชิ้ตแขนสั้นสีขาว ปักอักษรย่อนามจังหวัดพร้อมหมายเลขประจำโรงเรียนด้วยไหมสีน้ำเงิน โรงเรียนราษฎร์หรือสมัยนี้เรียกว่า โรงเรียนเอกชนปักสีแดง เช่น โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ใช้ ช.ม.๑ (ขึ้นต้นเลขที่ ๑ คือ โรงเรียนชายประจำจังหวัด แล้วต่อด้วยเลข ๒ โรงเรียนสตรีประจำจังหวัด แล้วจึงต่อด้วยเลข ๓ โรงเรียนประจำอำเภอ ต่อด้วยโรงเรียนประชาบาลไปจนครบทั้งจังหวัด)
• กางเกงขาสั้นสีกากี เข็มขัดหนังสีน้ำตาล
• ถุงเท้าน้ำตาล รองเท้าน้ำตาล มีก็ได้ไม่มีก็ได้
• เสื้อราชปะแตนสีขาว ดุมพระมหามงกุฎเงิน ติดแผ่นคอพื้นน้ำเงินแก่มีแถบไหมเงินพาดกลาง กับมีอักษรย่อนามโรงเรียนทำด้วยเงิน ม.(มหาดเล็กหลวง) ร. (ราชวิทยาลัย) ช. (มหาดเล็กหลวงเชียงใหม่) และ พ. (พรานหลวง) ทับกึ่งกลางแผ่นคอทั้งสองข้าง
• กางเกงไทยสีน่ำเงินแก่
• ถุงเท้าดำ รองเท้าดำ
• เวลาเล่าเรียนปกติในโรงเรียนสวมเสื้อคอกลมผ้าป่านสีขาว ที่เรียกว่าเสื้อชั้นใน สวมกางเกงขาสั้น
เนื่องจากในช่วงแรกที่เริ่มวางรากฐานการศึกษาชาตินั้น มุ่งเน้นจัดการศึกษาสำหรับเด็กชาย การศึกษาสตรีจึงมาเริ่มเอาตอนปลายรัชกาลที่ ๕ แต่ก็ค่อยๆ เริ่มจัด จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๖ จึงมีการจัดหลักสูตรสำหรับสตรีขึ้นเป็นการเฉพาะ และได้เริ่มมีการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับสตรีขึ้น จึงเริ่มมีเครื่องแบบนักเรียนหญิง แต่ต้องขอประทานที่จำรูปแบบเสื้อไม่ได้ นุ่งผ้าซิ่นสีพื้น และต่อมามีกำหนดให้ติดเข็มอักษรย่อนามโรงเรียน เช่น โรงเรียนสตรีวัฒโนทัยพายัพ ติดเข็มอักษร ว พ ในวงกลม